วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัวชน

        พัทลุง - เกษตรกร “เมืองลุง” หันเลี้ยง “วัวชน” สร้างอาชีพเสริม หลังราคายางร่วงหนักเงินไม่พอใช้ พบเป็นอาชีพที่สร้างรายได้งดงาม ด้านเซียนวัวแนะให้กิน “หญ้าสด” จะให้พลังงานสูงกว่า อย่าให้วัวถูกฝน โดนยุงกัด อาจทำวัวป่วยง่าย ตอนเช้าจูงวัวเดินออกกำลังกายวันละ 10 กิโลเมตร เผยหากชนชนะ 2-3 ครั้ง ราคาวัวพุ่งเฉียดล้าน
     
       วันนี้ (22 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรที่ยั่งยืนของภาคใต้ โดยเฉพาะทางด้านปศุสัตว์ จนพัทลุงมีคนเรียกขานว่า “เมืองโคบาล” ทั้งนี้ เนื่องจากพัทลุงเป็นเมืองที่เลี้ยง “วัว” รายใหญ่สุดของภาคใต้ก็ว่า มีทั้งวัวเนื้อ วัวนม วัวชน ตลอดจนบรรดาเซียนวัวชนด้วย โดยประมาณการมีวัวอยู่สัก 100,000 ตัว เลี้ยงทั้งประเภทฟาร์มธุรกิจขนาดใหญ่ เลี้ยงแบบรายย่อย และเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมก็มีอยู่จำนวนมาก



        นายอำนวย เส้งสุ้น กำนันตำบลท่ามิหร่ำ อ.เมือง จ.พัทลุง กล่าวว่า หลังสภาวะยางพาราตกต่ำทำให้ชาวพัทลุงเริ่มหันมาเลี้ยงวัวพื้นบ้าน และวัวชนมากขึ้น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบการเลี้ยงวัวชนเป็นชีวิตจิตใจ พอกรีดยางพาราซึ่งเป็นอาชีพหลักเสร็จแล้ว พอยังมีเวลาที่เหลืออยู่ก็หันมาเลี้ยงวัวชนที่ชื่นชอบ อีกทั้งยังได้เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง และสามารถทำรายได้เสริมนำมาจุนเจือครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ก็เลี้ยงไม่มากโดยเลี้ยงภายในครัวเรือน
     
       หากจะเลี้ยงวัวชนมากกว่านี้โดยเลี้ยงประมาณ 5 ตัว ก็ต้องมีคนเลี้ยง หรือเรียกว่า “ควาญ” เข้ามาเสริมอีก วัวชน 1 ตัว ต่อควาญวัว 1 คน โดยควาญจะทำหน้าที่เลี้ยงวัวชน ตัดหญ้าให้วัวกิน จูงวัวเดินออกกำลังกาย และก็ต้องเฝ้าคอกวัว เป็นต้น บรรดาเซียนวัวจะดูบุคลิกของวัวว่าขวัญสมบูรณ์ รูปร่างหน้าสง่างาม ยอดวงงาม หรือเรียกว่าเขายาว ให้ดีขนาด 30 เซนติเมตร ร่างกายบึกบึนหนาแน่น เนื้อเต็มไปด้วยมัดกล้าม แขน ขา ท่าเดิน ท่วงทำนองเข้มแข็ง และด้านหลังหางต้องร่วง รูปร่างสีที่เป็นยอดนิยม รูปร่างดำเนียน สีแดง สีโหนด สีลางสาด ส่วนสีขาว สีลาย นานๆ ก็เจอบ้าง
     
       นายอำนวย ยังกล่าวอีกว่าว่า การเลี้ยงวัวชน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงที่สุดของการเลี้ยงวัวชน คือ วัวชนเชื้อสายพันธุ์ ต้องดูความเป็นมาของพ่อแม่ด้วย แต่ให้ดีถ้าวัวชนติดไปทางเชื้อสายแม่จะดีกว่า แล้วมาถึงวิธีการเลี้ยงวัวชน คือ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น คือ ต้องมียาบำรุง ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ตามสนามวัวชนทั่วๆ ไป ส่วนหญ้าคือ อาหารหลัก มีทั้งหญ้าแห้ง หญ้าเปียก แต่ที่มีคุณภาพทางโภชนาการ สุขภาพอนามัยให้แก่วัวชน ต้องเป็นหญ้าสดๆ จะทำให้วัวชนมีสุขภาพแข็งแรง มีพลังงานที่สูง



        ถ้าเราเลี้ยงวัวชนจำนวน 5 ตัว ต้องมีแปลงหญ้าประมาณ 5 ไร่ และการปลูกหญ้าจะไม่ซ้ำกัน หญ้าวัวมีหลายชนิด วิธีการฝึกวัว หรือเรียกกันว่า “ซ้อมวัวชน” ซ้อมประมาณ 20-25 วันต่อเดือน ก่อนเข้าสู่สนามชนวัว ที่มีอยู่หลายสิบสนามในพื้นที่ภาคใต้ การซ้อมนั้นมีการพันเขา ซ้อมครั้งแรก 15 นาที แล้ววันถัดไปประมาณ 20-25 นาที
     
       ตอนเช้าๆ ก็จูงให้เดินวันละ 10 กิโลเมตร แล้วพอตกตอนบ่ายๆ นำวัวออกมาตากแดด ตากจนให้ลิ้นห้อย แล้วเว้นไว้สักพัก คือ เอาเข้าไปพักผ่อนที่ร่มประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วพอตกบ่ายสายๆ ก็เอาวัวไปอาบน้ำ โดยอาบน้ำให้ทุกๆ วัน วัวชนบ่อยครั้งนั้นอย่าให้ถูกฝน สำหรับสถานที่พักหลับนอนนั้น จะสร้างขนาด 4x4 เมตร ที่นอนต้องแห้ง แล้วให้อบอุ่น ถ้าให้ชั้นดีต้องโรยด้วยทรายอ่อนๆ ก่อน และจะต้องกันยุง มิให้ยุงกัด หรือไม่ก็ทำมุ้งกางให้วัวชนก็จะดี
     
       เบื้องต้นที่เพาะพันธุ์ขายลูกวัว ราคาเบื้องต้นลูกวัวชน ประมาณ 10,000 บาทต่อตัว แต่มาเลี้ยงขุนซ้อมอย่างดีประมาณ 1 ปี ไม่นานราคาก็จะลื่นไหลเขยิบขึ้นถึง 20,000 บาท แต่บางโอกาสเข้าตาบรรดาเซียนวัวชน ตกเวลาประมาณ 10 วัน ราคาสูงขึ้นอีกระดับหนึ่งได้วัวชน ที่ผ่านสนามแข่งขันได้รับชัยชนะเพียง 2-3 ครั้ง ราคาก็ทะยานขึ้นชนเพดานไปอยู่ในระดับ 100,000 บาท หรือหลักล้านก็มี



        โดยปกติวัวชน ราคาธรรมดาปกติเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาท แล้วเอามาขุน มาฝึกซ้อม มาปั้น แล้วถ้าชนชนะมาบ้างราคาจะขยับในเวลา 1 ปี ตกอยู่ที่ 30,000-50,000 บาท วัวชน 1 ตัว มีกำไรตกเดือนละ 1,500 บาท ถ้าเลี้ยงสัก 5 ตัว จะมีกำไรตกเดือนละ 7,500 บาท
     
       “การเลี้ยงวัวชน จะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมได้ดี วัวชนสามารถปล่อยโดยไม่มีอัตราเสี่ยงขาดทุน มีแต่กำไร เลี้ยงคราวละ 1 ตัว ภายในครอบครัว ปลูกหญ้าไว้ข้างบ้านหญ้าก็ขึ้นเรื่อยๆ ไว้เป็นอาหารของวัว ที่หลับนอนวัวก็บริเวณบ้าน ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย” นายกอเส็ม กล่าว ดังนั้น วัวชนเป็นกีฬาพื้นบ้านของชาวใต้ และปัจจุบันนี้ สนามวัวชนก็ยังคงยืนอยู่คู่กับวัวชน ไม่ล่มสลาย และสนามยังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เช่น สนามพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช และตรัง

การจัดการฟาร์มโคเนื้อ การจัดการฟาร์มโคเนื้อ

การจัดการฟาร์มโคเนื้อ การจัดการฟาร์มโคเนื้อ

การจัดการฟาร์มโคเนื้อ

เอกชัย บุญจันทร์

จากอดีตถึงปัจจุบัน

ในอดีตเกษตรกรบ้านเรานอกจากจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวตามประสาชาวชนบทที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย คอยช่วยเหลือออกแรงลงแขกกันตามโอกาสต่างๆ แล้ว แต่ละบ้านก็ยังมีการเลี้ยงโค - กระบือไว้ใต้ถุนบ้านหรือผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนากันแทบทุกบ้านก็ว่าได้ โดยอาศัยประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งไถนา นวดข้าว เทียมเกวียน คอยกำจัดวัชพืชตามหัวคันนา ทำเป็นอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อตามงานเทศกาลต่างๆ หรือเก็บไว้เป็นเงินออมที่มีชีวิตยามฉุกเฉิน

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วผลพลอยได้อีกทางหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนหญ้าฟางที่กินเข้าไปให้กลายมาเป็นเนื้อได้อย่างน่าอัศจรรย์โดยไม่มีต้นทุนใดมาเกี่ยวข้องเลย และมูลโคที่ถ่ายลงตามท้องนาก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์และลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 วัน โคตัวหนึ่งจะถ่ายมูลเฉลี่ยประมาณ 15 กิโลกรัม หรือใน 1 ปี เราจะได้มูลโคถึง 5.4 ตันกว่าๆ เชียวนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ปุ๋ยมูลโคนั้นเป็นที่นิยมของตลาดและมีราคาดีทีเดียว อีกทั้งยังใช้ทาลานนวดข้าว ทากระพ้อมใส่ข้าวเปลือก หรือใช้ทำแก๊สชีวภาพหุงต้มภายในครัวเรือนได้อีก เห็นไหมครับว่าการเลี้ยงโค - กระบือนั้นมีประโยชน์มากมายขนาดไหน นับว่าโค - กระบือนั้นมีบุญคุณและเปรียบเสมือนเป็นดั่งกระดูกสันหลังให้กับชาวนามาช้านาน

1 วัวนวดข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.jpg 2 gotoknow.JPG

เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนผู้เขียนมักจะมีโอกาสได้ติดตามบิดาไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัดอยู่เป็นประจำ สิ่งที่เห็นจนชินตาจากสองข้างทางตลอดการเดินทางที่ดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ คือ ฝูงโค - กระบือที่กำลังก้มหนาก้มตากินฟางข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวทอดยาวสุดลูกหูลูกตาอย่างมีความสุข โดยอาศัยการจัดการที่เรียบง่ายตามแบบฉบับภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่มุ่งหวังผลกำไรมากเกินไป แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้เลี้ยงปล่อยทุ่งมีจำนวนลดลง เนื่องจากพืชไร่และพืชพลังงานมีราคาสูง เกษตรกรจึงเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นการทำไร่ การเข้ามาแทนที่ของเครื่องจักรกลรถไถ ทำให้ความต้องการใช้แรงงานโค - กระบือลดลงตามลำดับ ขับรถไปนานๆ กว่าจะพบฝูงโค - กระบือสักฝูงสองฝูงก็หาดูยากเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริงนั้นความต้องการเนื้อเพื่อบริโภคกลับเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พอจำนวนโค - กระบือเริ่มลดลงเรื่อยๆ ราคาของโค - กระบือมีชีวิตก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามหลักปริมาณสินค้ากับความต้องการของผู้บริโภค จนเกษตรกรหลายรายเริ่มหันกลับมาเลี้ยงกันอีกครั้ง

ปัจจุบันรูปแบบวิธีการเลี้ยงและจุดประสงค์ในการเลี้ยงได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการเพิ่มการจัดการฟาร์ม การปรับปรุงพันธุ์เข้ามาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างลงตัว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงดู ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งด้านที่ดิน แรงงาน อาหาร และเงินทุน ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอข้อมูลเกร็ดความรู้และการจัดการฟาร์มโคเนื้อเบื้องต้น เพื่อที่พี่น้องชาวโคบาลจะสามารถนำไปจัดการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอ้างอิงจากหลักวิชาการกอปรกับคำอธิบายที่เข้าใจง่ายที่สุดตามประสาคนเลี้ยงวัวครับ

รูปแบบของการเลี้ยงโคเนื้อในปัจจุบัน

การเลี้ยงโคในต่างประเทศนั้นได้พัฒนาล้ำหน้าบ้านเราไปมากแล้ว ทั้งด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ วิทยาการเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเนื้อที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ด้วยข้อได้เปรียบทางด้านพื้นที่ในการเลี้ยงที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำและได้ผลตอบแทนสูง ตรงกันข้ามกับบ้านเราที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดและวัตถุดิบในการเลี้ยงสัตว์ที่หายากและมีราคาสูงขึ้นทุกวัน เกษตรอย่างเราๆ ก็ควรเลือกรูปแบบและวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมกับกำลังความสามรถของตนเองเป็นสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน โดยจะแบ่งรูปแบบการเลี้ยงโคตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้

1. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์

- ในสมัยนี้ไม่จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่มากมายเหมือนในอดีต ต้นทุนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการฟาร์ม ทั้งด้านอาหาร แปลงหญ้า สุขภาพสัตว์ และจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงเป็นหลัก การเลี้ยงต้องใช้ระยะเวลา 2-5 ปี (เงินเย็น) ถึงจะคืนทุน โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ

1.1 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์แท้คุณภาพดี

- ส่วนใหญ่จะเลี้ยงพันธุ์แท้หรือสายประกวดเป็นหลัก โดยเน้นหนักไปที่ฝูงแม่พันธุ์อาจจะมี 10 - 20 ตัว น้อยหรือมากกว่านั้นก็ได้แล้วใช้น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ชั้นดีมาผสมเทียม เพื่อผลิตลูกโคพันธุ์แท้ออกสู่ตลาด บางทีอาจจะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้สำหรับขึ้นผสมจริงหรือผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งเพื่อจำหน่ายด้วยก็ได้ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีเงินทุนพอสมควรเพราะว่าโคในกลุ่มนี้มีราคาค่อนข้างแพง เพื่อความสบายใจและป้องกันการถูกย้อมวัวขาย ในการซื้อ – ขายทุกครั้งควรขอใบผสมเทียมหรือใบพันธุ์ประวัติที่มีหน่วยงานรัฐหรือสมาคมของโคพันธุ์นั้นๆ รับรองมาด้วยเสมอ

dldgothc.jpg

1.2 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมทั่วไป

- ส่วนใหญ่จะเป็นแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มัน, ลูกผสมฮินดูบราซิล หรือลูกผสมยุโรป โดยจะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งหญ้าธรรมชาติผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือขังคอกแล้วตัดหญ้ามาให้กินก็ได้ บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพหลัก บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม มักจะใช้วิธีผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อตามกระแสความนิยมของตลาด ณ ขณะนั้น บางฟาร์มก็ใช้พ่อคุมฝูงเพื่อลดปัญหาการจับสัดที่ไม่แน่นอน ลูกโคที่ผลิตได้จะขายตีเป็นราคาเนื้อตามกลไกตลาด หรือปรับปรุงพันธุ์ยกระดับสายเลือดให้สูงขึ้นแล้วขายในราคาโคพันธุ์ ลูกค้าส่วนใหญ่คือ ผู้ที่นำไปต่อยอดขยายพันธุ์และผู้เลี้ยงโคขุน

thailivestock.jpg

2. ผู้เลี้ยงโคขุน

- สามารถทำเป็นอาชีพหลักและใช้พื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดได้ ต้นทุน – กำไรจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกโค + ราคาโคเข้าขุนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่แปรผันตามฤดูกาล เพราะต้องใช้อาหารข้นคุณภาพดีเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและทำน้ำหนักตัวให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ระยะเวลาในการเลี้ยงขึ้นอยู่กับคุณภาพของตลาดที่จะจำหน่าย มีค่าใช้จ่าย - รายได้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา (เงินร้อน) โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ

2.1 ผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพ

- ผู้เลี้ยงจะต้องคัดเลือกโคเข้าขุนโดยให้มีสายเลือดของโคยุโรปไม่ต่ำกว่า 50% ฟันแท้ยังไม่ขึ้นหรือขึ้นไม่เกิน 1 คู่ ใช้ระยะเวลาในการขุนประมาณ 8 - 12 เดือน น้ำหนักสุดท้ายไม่ต่ำกว่า 500-550 กิโลกรัม การขุนวัวที่มีอายุน้อยจะได้เนื้อที่มีความนุ่มมากกว่าการขุนวัวที่มีอายุมาก และระยะเวลาการขุนที่นานก็จะช่วยเพิ่มไขมันแทรกในกล้ามเนื้อให้มีมากขึ้น เพราะว่าไขมันแทรกยิ่งมากราคาก็จะดีตามไปด้วย แต่ในกลุ่มผู้บริโภคเนื้อเพื่อสุขภาพจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องไขมันแทรกมากนัก เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงโคเลสเตอรอลในไขมันซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ โคกลุ่มนี้จะถูกเลี้ยงด้วยอาหารข้นคุณภาพดี ปลอดสารเคมี ชำแหละแปรรูปตามมาตรฐานสากล มีตลาดรองรับและรับประกันราคาที่แน่นอน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ก่อนจะทำการขุนผู้เลี้ยงจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อดังกล่าว เพื่อขอคิวลงทะเบียนขุนซึ่งหน่วยงานที่รองรับ ได้แก่ สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จ.สกลนคร (Thai - French), สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม (KU Beef), สหกรณ์การเกษตรหนองสูง จ.มุกดาหาร เป็นต้น เนื้อที่ได้จะจำหน่ายเฉพาะตลาดบนเท่านั้น คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ฯลฯ

2.2 ผู้เลี้ยงโคขุนทั่วไป

- โคที่เข้าขุนจะไม่จำกัดอายุและสายพันธุ์ มีทั้งลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมฮินดูบราซิล ลูกผสมยุโรป และพื้นเมืองบ้างเล็กน้อย มีอายุตั้งแต่หย่านมขึ้นไปจนถึงโคอายุมากหรือโคงานที่ปลดระวาง (โคมัน) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามตลาดนัดโค - กระบือทั่วไป ใช้ระยะเวลาในการขุน 3 - 4 เดือน น้ำหนักสุดท้ายจะอยู่ที่ 350 – 450 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพและชนิดของโคที่นำมาขุน เลี้ยงด้วยอาหารข้นและอาหารหยาบที่หาได้ในพื้นที่ ถ้าโคที่นำมาขุนมีเนื้อเต็มโครงร่างเมื่อไหร่ก็ส่งเข้าโรงเชือดทันทีโดยไม่จำกัดขนาด ส่วนใหญ่จะถูกชำและในรูปของเนื้อเซาะ(เลาะเอาแต่เนื้อแดง) หรือเนื้อผ่าซีกให้ครบตามปริมาณคำสั่งซื้อในแต่ละวัน เนื้อที่ได้จะจำหน่ายตลาดกลางและตลาดล่าง คือ ตลาดเทศบาล ตลาดสด และตลาดนัดทั่วไป

3. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์และโคขุน

- ผู้เลี้ยงกลุ่มนี้จะใช้ระบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยใช้กำไรส่วนหนึ่งจากการเลี้ยงโคขุนมาจุนเจือโคพันธุ์ในระหว่างที่รอโคพันธุ์คืนทุน โคขุนส่วนหนึ่งก็จะคัดมาจากโคพันธุ์หรือโคเพศผู้หย่านมที่มีลักษณะไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการซื้อโคเข้าขุนได้อีกทางหนึ่ง อาจเรียกได้ว่าเป็นฟาร์มแบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นฟาร์มขนาดเล็ก – กลาง - ใหญ่ก็ได้ ยกตัวอย่างฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ลุงเชาวน์ฟาร์ม จ.สุพรรณบุรี, ห้างฉัตรแรนช์ จ.ลำปาง, ฟาร์มชวนชื่น จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

ระบบอุตสาหกรรมโคเนื้อในปัจจุบัน

วงจรการผลิตโคเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเนื้อในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน อาจจะด้วยเรื่องของพื้นที่ เงินทุน เวลา หรือความถนัดของแต่ละบุคคลก็สุดแท้แต่เหตุผล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. ต้นน้ำ - จะเลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคจำหน่าย โดยจะจำหน่ายลูกโคที่มีอายุตั้งแต่หย่านม - 1 ปี ขึ้นไป และแม่พันธุ์บางส่วน ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ผู้นำไปขยายพันธุ์, ผู้เลี้ยงโคขุน และพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย )

2. กลางน้ำ - จะซื้อโคจากกลุ่มต้นน้ำหรือจากพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย ) นำมาขุนต่อให้ได้น้ำหนักตามระยะเวลาที่กำหนด ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ โรงเชือดต่างๆ

3. ปลายน้ำ - จะนำโคที่ขุนเสร็จแล้วจากกลุ่มกลางน้ำและโคปลดระวางหรือคัดทิ้งจากกลุ่มต้นน้ำ มาเชือดและชำแหละให้ครบจำนวนตามคำสั่งซื้อในแต่ละวัน โดยจะเชือดวันต่อวันเพื่อความสดใหม่ของเนื้อ ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ร้านอาหาร ตลาดสด ตลาดนัดทั่วไป

ตอนนี้เราพอจะทราบถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อในบ้านเรากันบ้างแล้ว หลายท่านอาจจะเริ่มเห็นภาพรวมสามารถตอบโจทย์ตนเองได้บ้างแล้วว่า ขณะนี้เราอยู่ตรงจุดไหนของธุรกิจการเลี้ยงโค เพื่อที่จะได้ก้าวย่างอย่างมั่นคงบนถนนสายนี้ ไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่ถ้าเริ่มต้นได้ดีก็มีกำไรไปกว่าครึ่งแล้วครับ

ฉบับหน้ามีอะไรใหม่ มาร่วมติดตามกันนะครับ ฉบับนี้หมดพื้นที่แล้วขอลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า โชคดีมีความสุขกับการเลี้ยงวัวทุกท่าน สวัสดีครับ

การเลี้ยงโคนม

การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคนมเบื้องต้น
 การเริ่มเลี้ยงโคนมในประเทศไทยนั้น เริ่ม มากว่า 90กว่าปีได้แล้ว โดยแขกชาวอินเดียเป็นผู้เลี้ยงและนำเข้าวัวพันธุ์พื้นบ้านอินเดียเข้ามาเลี้ยง แต่การให้น้ำนมในสมัยนั้นน้อยมากประมาณ2-3 ลิตร ต่อวัน และต่อมามีการนำโค จากยุโรป วัวเป็นวัวนมพันธุ์ดีเข้ามา เลี้ยง และนิยมแพร่หลายต่อมาและกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำวัว พันธุ์เรดซินดิ จากอินเดียและบังคลาเทศ เข้ามาและต่อมาได้นำโค พันธุ์เจอร์ซี่จากออสเตรเลีย และโคพันธุ์บราวสวิส จากอเมริกาเข้ามา





การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมของเกษตรกร
....สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ   ทุน   สถานที่   ตลาด
 และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการซึ่งทุนดังกล่าวอาจแบ่งแยกออกได้เป็น  5   รายการคือ
1. ทุนสำหรับซื้อโค
2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3. ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4. ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
5. ทุนสำหรับรับรองจ่าย  ซึ่งหมายถึง  ทุนหมุนเวียน เช่นค่าอาหาร หรือ ค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น

 การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งอาจพอแนะนำพอเป็นสังเขปได้   เช่น
1. เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมา เลี้ยง   แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง   เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม   50  เปอร์เซ็นต์   ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ   30 - 36   เดือนก็จะให้ลูกตัวแรกแม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
2.  เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยง   โดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณ จำกัด   พร้อมทั้งให้อาหารข้นและหญ้าแก่ลูกโคจนกระทั่งหย่านม - อายุผสมพันธุ์ - ท้อง - คลอดลูกและเริ่มรีดนม ได้
3.  เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม,โครุ่น,โคสาวหรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมมาแล้ว จากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง   วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว

หลักในการเลือกซื้อโคนม
 1. ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ   ซึ่งหมายถึง   สายพันธุ์และความเป็นมาอย่างน้อยพอสังเขป
2.  ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่  1  ถึง  ตัวที่  4
3. ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4.  ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วยเพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น
5. ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปลอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
 
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงวัวนม
หากท่านใดที่อยากจะเริ่มเลี้ยงโคนมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ท่านต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับโคนมหลายๆด้านรวมถึงความพร้อมที่จะทำการเลี้ยง การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพนั้นต้องคำนึงถึง
-การเข้าใจและรู้ถึงวงจรธุรกิจโคนม
-การบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินทั้งต้นทุนและการตลาด
-ความรู้และเข้าใจเรื่องวัวนมอย่างดีและความเอาใจใส่ในโค

สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนดำเนินการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นอาชีพ

1.ที่ดิน ที่ดินจำเป็นมากในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม เพราะที่ดินที่ตั้งหรือประกอบการนั้นต้องอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบ และที่ดินเพื่อการปลูกแปลงพืชปลูกแปลงหญ้า อาหารโคนม
2. แรงงาน ที่จะปฏิบัติการในฟาร์มโคนมต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเป็นอย่างดี
3.เงินทุน เงินทุนนั้นสำคัญทีเดียวเลยครับ เป็นเงินทุนในการจัดหาพันธุ์สัตว์และ อุปกรณ์ในการใช้ในฟาร์ม รวมถึงค่าปลูกสร้างโรงเรือนด้วย และเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในการใช้จ่ายประจำฟาร์มด้วย




สิ่งเหล่านี้สำคัญ มากต่อการทำอาชีพเลี้ยงโคนม โดยภาพรวมๆของการเลี้ยงโคนมนั้น ผู้เลี้ยงต้องตื่นเช้าให้อาหาร โค และอาบน้ำทำความสะอาดโค รีดนม(ส่งนม) ปล่อยโคลงแทะเล็ม หรือให้อาหารหยาบ และพอ ช่วงบ่ายๆเริ่มต้อนโคกลับมาให้อาหารรีดนมและ อาบน้ำทำความสะอาดโค นำโคเข้าคอก

อ้างอิง http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=590&s=tblanimal

มาทำน้ำยอดข้าวสาลีดื่มกันเถอะ 

มาทำน้ำยอดข้าวสาลีดื่มกันเถอะ
Wheatgrass คือต้นอ่อนข้าวสาลี เป็นพืชที่มีแหล่งรวมสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย มากกว่า 100 ชนิด โดยเฉพาะมีโปรตีนสูง วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินเค มีกรดอะมิโนอย่างน้อย 20 ชนิด เอนไซม์ที่มีประโยชน์กว่า 20 ชนิด  สารที่สำคัญที่สุดคือ "คลอโรฟิลล์"

"คลอโรฟิลล์" มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายคลึงกับโมเลกุลของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ต่างกันที่ตัวกลางของคลอโรฟิลล์คือแมกนีเซียม แต่ในฮีโมโกลบินคือเหล็ก ดังนั้นเมื่อเราดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีเข้าไป คลอโรฟิลล์จากต้นอ่อนที่ยังมีชีวิต จะช่วยชำระล้างสารพิษ ฟอกเลือด และขับของเสียออกจากร่างกาย จึงทำยับยั้งการเกิดโรคร้ายต่างๆได้

เราจึงควรดื่มน้ำคั้นจากต้นข้าวสาลี ที่คั้นสดใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง วันละ 1-2 ชอต (30-60 cc ต่อวัน)







ประโยชน์

สร้างเม็ดเลือด
ต้านอนุมูลอิสระ
ต้านมะเร็ง
รักษาแผลและดับกลิ่น (ได้ผลแม้ในแผลขอผู้ป่วยเบาหวาน)
รักษาอาการท้องผูก
ล้างพิษ
ลดความดันโลหิต
ช่วยในการฟอกตับ
ทำให้ผมไม่ขาว
ชะลอความแก่
เพิ่มภูมิต้านทานต่อโรคภูมิแพ้ต่างๆ
ช่วยลดการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ไข่ตุ๋น

ไข่ตุ๋น ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูไข่ที่หลาย ๆ คนชอบทำกันมาก เหตุผลหลัก ๆ คือ ทำง่ายนั่นเอง แต่ไข่ตุ๋นบนโลกใบนี้ก็มีหลากหลายสูตรให้เลือกหม่ำเสียเหลือเกิน วันนี้ กระปุกดอทคอม ก็เลยขอรวบรวมเมนูไข่ตุ๋นหลากหลายสไตล์ ที่มาพร้อมสูตรและวิธีทำไข่ตุ๋นเด็ด ๆ มาเสิร์ฟตรงหน้าคุณ ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ตามมาดูวิธีทำไข่ตุ๋นให้อร่อยตามสไตล์ที่เป็นคุณกันทางนี้เลยจ้า

หมายเหตุ : ไข่ตุ๋น 1 ฟอง ให้พลังงานโดยประมาณ 75 กิโลแคลอรี่



1. ไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ

          เรามาเริ่มต้นทำไข่ตุ๋นแบบง่ายด้วยไมโครเวฟกันดีกว่า ซึ่งสูตรนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาดูกันเลยว่า เมนูไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ จาก PHOLFOODMAFIA สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม โดยฝีมือเชฟพล ตัณฑเสถียรว่าจะน่ากิน และง่ายขนาดไหน และมีเคล็ดลับอย่างไรในการทำไข่ตุ๋นถ้วยนี้

สิ่งที่ต้องเตรียม

           วุ้นเส้น 20 กรัม

           รากผักชีซอย 1 ราก

           กระเทียมไทยซอย 2 กลีบเล็ก

           พริกไทยขาวเม็ด 1/2 ช้อนชา

           เนื้อหมูบด 50 กรัม

           ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนชา

           ไข่ไก่ 3 ฟอง

           น้ำร้อน 1/2 ถ้วย

           ต้นหอม และกระเทียมเจียวสำหรับแต่งหน้า

วิธีทำ
         
           แช่วุ้นเส้นทิ้งไว้จนนิ่มประมาณ 3 นาที จากนั้นใส่วุ้นเส้นที่นิ่มแล้วลงในถ้วยสำหรับเข้าไมโครเวฟ เตรียมไว้

           ซอยรากผักชี และกระเทียมไทย ใส่ลงในครก ตามด้วยพริกไทยขาวเม็ด โขลกให้ละเอียด ใส่เนื้อหมูบด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว คนผสมให้เข้ากัน

           ตักส่วนผสมใส่ลงในอ่างผสม ตอกไข่ไก่ใส่ลงไป ตีผสมให้เนื้อหมูกระจายทั่วดี ส่น้ำร้อนลงในส่วนผสมไข่ ตีผสมจนเข้ากัน เทใส่ถ้วย ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร ใช้มีดจิ้มให้เป็นรูเล็ก ๆ นำเข้าไมโครเวฟ ใช้กำลังไฟ 750 วัตต์ นานประมาณ 5 นาที นำออกจากเตา แต่งด้วยกระเทียมเจียว และต้นหอมซอย พร้อมเสริ์ฟ

การทำไข่เค็มสมุนไพร

การทำไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารสูตรโบราณของชุมชนตำบลหนามแดง โดยนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม สืบเนื่องมาจากในอดีตชุมชนตำบล หนามแดง จะมีอาชีพทำนา และแทบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่หล่นตามท้องนา จึงทำให้ มีไข่เป็ดจำนวนมากแทบทุกครัวเรือน เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวัน แล้ว จึงต้องทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทาน ประกอบกับทุกครัวเรือนจะปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นพืชสวนครัวไว้รับประทาน จึงนำมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม ทำให้ไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง มีลักษณะพิเศษกว่าไข่เค็ม ที่อื่น คือ เปลือกไข่เป็นสีเหลือง เนื้อไข่เค็มจะนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ไข่ขาวไม่เค็มจัด และมีความหอมของสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เนื่องจากสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องอืด บรรเทาอาการไข้หวัด และป้องการโรคคอหอยพอก

ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร

๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง

๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม

๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร

๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม

๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)

วิธีทำ

๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง

๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร

อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก

สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น

๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ

๓ สัปดาห์

๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้การทำไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารสูตรโบราณของชุมชนตำบลหนามแดง โดยนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม สืบเนื่องมาจากในอดีตชุมชนตำบล

หนามแดง จะมีอาชีพทำนา และแทบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่หล่นตามท้องนา จึงทำให้มีไข่เป็ดจำนวนมากแทบทุกครัวเรือน เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวัน แล้ว จึงต้องทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทาน ประกอบกับทุกครัวเรือนจะปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นพืชสวนครัวไว้รับประทานจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม ทำให้ไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง มีลักษณะพิเศษกว่าไข่เค็ม ที่อื่น คือ เปลือกไข่เป็นสีเหลือง เนื้อไข่เค็มจะนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ไข่ขาวไม่เค็มจัด และมีความหอมของสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เนื่องจากสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องอืด บรรเทาอาการไข้หวัดและป้องการโรคคอหอยพอก

ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร

๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง

๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม

๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร

๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม

๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)

วิธีทำ

๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง

๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร

อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก

สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น

๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ

๓ สัปดาห์

๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันวาเลนไทน์

14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก วันที่ทุกคนจะมอบความรักให้กันและกันเป็นพิเศษ ในปีนี้ 2558 วันวาเลนไทน์ ตรงกับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยปีนี้ตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็คือ “วันมาฆบูชา” วันนี้สกู๊ปเอ็มไทยจึงนำประวัติ ความเป็นมาของวันวาเลนไทน์ ที่จะถึงนี้มาฝากกันครับ




วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด


โดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อว่า “จูเลีย” ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกประหารชีวิตนั้น เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย อันเป็นที่รัก โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 (วันวาเลนไทน์) หรือ พ.ศ.813 ราว 1,738 ปี หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่ โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม ซึ่ง จูเลีย ได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของเซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพู ได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจใน วันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

Valentine


ดอกกุหลาบ วาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์ ต้องคู่กับ ดอกกุหลาบ ขาดจากกันไม่ได้ การบอกรักด้วยดอกกุหลาบนั้น สามารถบอกถึงนิสัยและความหมายของสีดอกกุหลาบได้อีกด้วย
 กุหลาบสีแดง (Red Rose): แทนความหมายว่า “ฉันรักเธอ”

 กุหลาบสีขาว (White Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักอันบริสุทธิ์”

 กุหลาบสีชมพู (Pink Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบโรแมนติก”

 กุหลาบสีเหลือง (Yellow Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบเพื่อน”

ดอกกุหลาบบอกรัก

1 ดอก คือ รักแรกพบ

2 ดอก คือ แสดงความยินดีด้วย

3 ดอก คือ ฉันรักเธอ

7 ดอก คือ เธอทำให้ฉันหลงเสน่ห์

9 ดอก คือ เราสองคนจะรักกันตลอดไป

10 ดอก คือ เธอเป็นคนที่ดีเลิศ

11 ดอก คือ เธอเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน

12 ดอก คือ ขอให้เธอเป็นคู่ฉันเพียงคนเดียว

13 ดอก คือ เพื่อนแท้เสมอ

15 ดอก คือ ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ

20 ดอก คือ ฉันมีความจริงใจต่อเธอ

21 ดอก คือ ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ

36 ดอก คือ ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน

40 ดอก คือ ความรักของฉันเป็นรักแท้

99 ดอก คือ ฉันรักเธอจนวันตาย

100 ดอก คือ ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ

101 ดอก คือ ฉันมีเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น

108 ดอก คือ เธอจะแต่งงานกับฉันไหม

999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวินาทีสุดท้าย

1,000 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวันตาย

9,999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอชั่วนิรันดร

การนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์ต่างๆ

การนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
            ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องใช้ที่อำนวยประโยชน์ด้านต่างๆ โดยอาศัยความรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตดังตัวอย่างต่อไปนี้
                (1) เครื่องกำจัดฝุ่นในอากาศ หรือเครื่องฟอกอากาศ เป็นอุปกรณ์กำจัดอนุภาคจากแก๊สเผาไหม้ หรืออากาศร้อนที่สกปรก ประกอบด้วยท่อโลหะที่มีแกนกลางยึดติดด้วยฉนวน ดังรูป

                             
         หลักการใช้ความต่างศักย์สูงจากไฟกระแสตรงโดยต่อขั้วลบเข้ากับแกนกลาง และต่อขั้วบวกเข้ากับท่อ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าที่มีค่าสูงมากพอที่จะทำให้อนุภาคในอากาศสกปรกที่ผ่านไปในท่อได้รับอิเล็กตรอนจากแกนกลางจนกลายเป็นอนุภาคประจุลบ และถูกดูดเข้าไปติดที่ท่อพร้อมๆ กับท่อถูกทำให้สั่นเป็นจังหวะ อนุภาคที่สะสมบนท่อจึงร่วงหล่นลงส่วนล่างของท่อและถูกปล่อยออกแก๊สหรืออากาศที่ผ่านออกทางตอนบนของท่อจึงเป็นก๊าซหรืออากาศสะอาด



                (2) เครื่องพ่นสี ใช้หลักการทำให้ผงหรือละอองสีกลายเป็นอนุภาคมีประจุไฟฟ้าขณะถูกพ่นออกจากเครื่องพ่น ซึ่งผงหรือละอองสีที่มีประจุไฟฟ้าเกิดแรงดึงดูดกับชิ้นงาน ทำให้เกาะติดชิ้นงานนั้นได้ดีกว่าการพ่นแบบธรรมดา อุปกรณ์ที่ใช้พ่นละอองสีแสดงไว้ดังรูป

               ในกรณีที่ชิ้นงานเป็นโลหะ อาจจะทำให้ผิวโลหะมีประจุไฟฟ้าตรงข้ามกับผงสีโดยต่อชิ้นงานกับแหล่งกำเนิดที่มีความต่างศักย์สูงๆ จะช่วยเพิ่มแรงดูด ทำให้ผงหรือละอองสียึดเคลือบผิวชิ้นงานดียิ่งขึ้น และช่วยให้ประหยัดผงสี เนื่องจากไม่ฟุ้งกระจาย



                (3) เครื่องถ่ายลายนิ้วมือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายลายนิ้วมือบนผิววัสดุประเภทกระดาษ พลาสติก เช่น ถุงกระดาษ ธนบัตร แฟ้ม มีส่วนประกอบดังรูป

                             
            หลักการ ใช้ความต่างศักย์สูงต่อกับแผ่นโลหะ และชิ้นวัตถุที่ต้องการตรวจ โดยแผ่นโลหะนั้นเคลือบด้วยผงซิลิคอนคาร์ไบด์ต่อกับขั้วบวกส่วนชิ้นงาน (วัตถุ) ต่อเข้ากับขั้วลบ เมื่อเครื่องทำงานผงซิลิคอนคาร์ไบด์จะกลายเป็นประจุบวกถูกผลักจากแผ่นโลหะไปกระทบกับชิ้นงาน อนุภาคของผงซิลิคอนคาร์ไบด์จะยึดเกาะตรงบริเวณลายนิ้วมือ ลายนิ้วมือจึงปรากฏให้เห็นซึ่งเป็นประโยชน์มากในการพิสูจน์อาชญากรรม



                (4) เครื่องถ่ายเอกสาร (เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร) เป็นอุปกรณ์ถ่ายสำเนาสิ่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพลายเส้นจากต้นฉบับ ส่วนประกอบและหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนแสดงไว้ดังรูป

                 หลักการ ให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์ไปกระทบแผ่นฟิล์ม ซึ่งฉาบด้วยวัสดุตัวนำที่ขึ้นกับแสง (จะมีสมบัติเป็นตัวนำเมื่อถูกแสง) โดยเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน แผ่นฟิล์มนี้จะถูกทำให้มีประจุไฟฟ้าบวกทั่วทั้งแผ่นก่อนดังรูป ก. จากนั้นจึงให้แสงส่องไปที่ต้นฉบับสะท้อนผ่านเลนส์กระทบแผ่นฟิล์มบริเวณที่เป็นที่ว่าง บนต้นฉบับจะให้แสงออกมากระทบแผ่นฟิล์ม ทำให้บริเวณที่ถูกแสงกลายเป็นตัวนำ จึงมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนตัวอักษร หรือ ภาพลายเส้น บนต้นฉบับที่เป็นสีดำ (หรือสีเข้มๆ ) ดูดกลืนแสง จึงไม่ให้แสงสะท้อนมากระทบแผ่นฟิล์มบริเวณนั้นบนแผ่นฟิล์มจึงไม่ถูกแสง ยังคงมีประจุบวกอยู่ดังรูป ข. เมื่อพ่นผงหมึกที่มีประจุลบไปบนแผ่นฟิล์มนี้ผงหมึกจะเกาะติดเฉพาะบริเวณที่มีประจุบวกนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดจากตัวอักษร หรือภาพลายเส้นดังรูป ค. ทำให้ปรากฏเป็นภาพของต้นฉบับบนแผ่นฟิล์ม เมื่อกดแผ่นกระดาษประจุบวกลงแผ่นฟิล์มที่มีผงหมึกดังกล่าว จึงได้ภาพสำเนาปรากฏบนแผ่นกระดาษดังรูป ง. เมื่ออบแผ่นกระดาษด้วยความร้อน เพื่อให้ผงหมึกติดแน่นก็จะได้ภาพสำเนาที่ติดทนถาวรชัดเจน

ไฟฟ้าสถิตคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร

ไฟฟ้าสถิตคืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร


      ไฟฟ้าสถิต (Static electricity หรือ Electrostatic Charges)
เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุ
มีไม่เท่ากันปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด,การผลักกันและเกิดประกายไฟ

                ประจุไฟฟ้า  (Charge)
                ประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณทางไฟฟ้าปริมาณหนึ่งที่กำหนดขึ้นธรรมชาติ ของสสารจะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ  ที่มีลักษณะและ มีสมบัติเหมือนกันที่เรียกว่า อะตอม(atom)ภายในอะตอม จะประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน3ชนิดได้แก่  โปรตอน (proton)  นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)โดยที่โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวกกับนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้ารวมกันอยู่เป็นแกนกลางเรียกว่านิวเคลียส (nucleus) ส่วนอิเล็กตรอน มี ประจุ ไฟฟ้าลบ จะอยู่รอบๆนิวเคลียส
                ตามปกติวัตถุจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า กล่าวคือจะมีประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ เท่ากัน เนื่องจากในแต่ละอะตอมจะมีจำนวนอนุภาคโปรตอนและอนุภาคอิเล็กตรอนเท่ากัน  เป็นไปตามกฏการอนุรักษ์ประจุ ( Law of Conservation of Charge ) เมื่อนำวัตถุสองชนิดมาถูกันจะเกิดการถ่ายเทประจุระหว่างวัตถุทั้งสองชนิดทำให้วัตถุหนึ่งมีปริมาณประจุบวกมากกว่าประจุลบ  จึงมีประจุสุทธิเป็นบวก และวัตถุอีกอันหนึ่งมีปริมาณ ประจุลบมากกว่าประจุบวก  จึงมีประจุสุทธิเป็นลบ เราสามารถวัดค่าไฟฟ้าสถิตได้โดยใช้ Static Field Meter โดยหน่วยที่วัดคือ โวลท์

                การเกิดไฟฟ้าสถิต
                การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกันหรือเกิดแรงผลักกัน  เมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกันเราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน  พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน  โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง,พลาสติก และแก้ว   สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้น โอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยาก  แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้

                 การถ่ายเทประจุไฟฟ้า (Electrostatic Discharge)
                คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  เมื่อประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุ 2  ชนิดไม่เท่ากัน

                ตัวอย่างการเกิดไฟฟ้าสถิตและการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
                เมื่อเราใส่รองเท้าหนังแล้วเดินไปบนพื้นที่ปูด้วยขนสัตว์หรือพรม  เมื่อเดินไปจับลูกบิดประตูจะมีความรู้สึกว่าถูกไฟช๊อต ที่เป็นเช่นนี้สามารถอธิบายได้ว่า  เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นจากการขัดสีของวัตถุ 2 ชนิด วัตถุใดสูญเสียอิเล็คตรอนไปจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก  ส่วนวัตถุใดได้รับอิเล็คตรอนมาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ   ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุที่มาขัดสีกัน ร่างกายของคนเราเป็นตัวกลางทางไฟฟ้าที่ดี  เมื่อเราเดินผ่านพื้นที่ปูด้วยขนสัตว์หรือพรม  รองเท้าหนังของเราจะขัดสีกับพื้นขนสัตว์หรือพรม ทำให้อิเล็คตรอนถ่ายเทจากรองเท้าหนังไปยังพื้นพรม เมื่อเราเดินไปเรื่อย ๆ อิเล็คตรอนจะถ่ายเทจากรองเท้าไปยังพื้นมากขึ้น จึงทำให้เรามีประจุไฟฟ้าเป็นบวกกระจายอยู่เต็มตัวเรา เมื่อเราไปจับลูกบิดประตู ซึ่งเป็นโลหะจะทำให้อิเล็คตรอนจากประตูถ่ายเทมายังตัวเรา ทำให้เรารู้สึกว่าคล้าย ๆ ถูกไฟช๊อต  ในลักษณะเดียวกันถ้าเราใส่รองเท้ายาง  รองเท้ายางจะรับอิเล็คตรอนจากผ้าขนสัตว์หรือพรมจะทำให้เรามีประจุไฟฟ้าเป็นลบ  เมื่อเราเข้าไปใกล้และจะจับลูกบิดประตู  จะทำให้อิเล็คตรอนถ่ายเทจากเราไปยังลูกบิดประตู เราจะมีความรู้สึกว่าคล้าย ๆ ถูกไฟช๊อต

                ทำไมไฟฟ้าสถิตถึงเป็นปัญหา
                ในสภาพแวดล้อมในการทำงานของเรา ไฟฟ้าสถิตเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสนใจ นอกจากไฟฟ้าสถิตจะมีผลต่อคน  เมื่อไปสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำแล้ว ทำให้รู้สึกสะดุ้งเหมือนถูกไฟช็อตแล้ว   ไฟฟ้าสถิตยังส่งผลต่อกระบวนการในการผลิตด้วย
                 ปัจจุบันชิ้นงานอิเลคทรอนิคส์นับวันจะมีขนาดเล็กลงและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น  การมีวงจรไฟฟ้ามากมายในขนาดของชิ้นงานที่เล็กลง จะส่งผลให้ชิ้นงานยิ่งไวต่อไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิตจะถูกส่งจากคนงานในสายการผลิต  เครื่องมือ และอุปกรณ์อื่นๆ ไปยังชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์  ซึ่งมีผลทำให้คุณสมบัติทางไฟฟ้าของชิ้นงานเหล่านั้นเปลี่ยนไป  อาจจะเป็นการลดคุณภาพลงหรือทำลายชิ้นงาน  มีการศึกษาและพบว่ามากกว่า 50% ของชิ้นงานที่เสียหายล้วนมีผลมาจากไฟฟ้าสถิต

                ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต
                 เพื่อควบคุมไฟฟ้าสถิต  มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้    
                1. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์/เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์
                    ให้ทนต่อไฟฟ้าสถิต เท่าที่เป็นไปได้
                2. ลดหรือขจัดเหตุในการเกิดไฟฟ้าสถิต มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น
                    -พื้น / วัสดปูพื้น
                    - ความชื้นของอากาศในห้อง
                    - เก้าอี้
                    - รองเท้า
                    - ชุดที่สวมใส่
                    - วิธีทำความสะอาด
                3.สลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น
                วิธีการนี้คือการต่อสายดิน (Grounding) เป็นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้มีศักดิ์เป็นศูนย์ (0) เท่ากับพื้นดิน เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตได้โดยการให้พนักงานในสายการผลิตใช้ สายรัดข้อมือ (WristStrap)การใช้กระเบื้องยางปูพื้นชนิด Static Dissipative PVC หรือ Static Conductive PVC  

ไฟฟ้าสถิต

ไฟฟ้าสถิต (อังกฤษ: Static electricity หรือ Electrostatics) เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน และไม่เคลื่อนที่ (จึงเรียกว่า สถิต) จนกระทั่งมีการถ่ายเทประจุ หรือเกิดการไหลของอิเล็กตรอน กลายเป็นไฟฟ้ากระแส ปกติจะแสดงในรูปการดึงดูดหรือการผลักกัน แต่ไม่เกิดประกายไฟ ไฟฟ้าสถิต

การเกิดประจุไฟฟ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้คน เพราะว่าเรามักมีการเคลื่อนที่และสัมผัสกับวัตถุต่างๆ เช่น พลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งง่ายต่อการทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ในยุคเริ่มต้นการค้นพบไฟฟ้าเมื่อประมาณ 60 ปีก่อนพุทธกาลนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ทาลีส พบว่า เมื่อนำอำพันมาถูกับผ้าขนหนูสัตว์ มันสามารถดูดกับวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้ซึ่งอำนาจที่เกิดขึ้นได้ถูกเรียกว่า ไฟฟ้า (electricity) มาจาก elecktron ในภาษากรีก หมายถึง อำพัน ในยุคต่อมา เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ทดลองโดยการใช้ว่าว ที่มีเชือกและลวดติดขึ้นไปบนฟ้าในวันที่ฝนฟ้าคะนอง ทำให้พิสูจน์ได้ว่ากระแสไฟฟ้าและฟ้าผ่ามีความสัมพันธ์กัน


เบนจามิน แฟรงคลิน
วัตถุบางชนิด เช่น พลาสติก เมื่อนำมาขัดถูกับผ้าสักหลาด แล้วสามารถดึงดูดวัตถุเบาๆ เช่น กระดาษเล็กๆ ได้ แรงดึงดูดนี้ไม่ใช่แรงดึงดูดระหว่างมวล เพราะเกิดขึ้นภายหลังจากที่นำวัตถุมาถูกันแล้ว แรงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า แรงระหว่างประจุไฟฟ้า แรงระหว่างประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะเป็นแรงผลักและแรงระหว่างประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะเป็นแรงดูด

การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า คือการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าใกล้วัตถุที่เป็นกลางแล้วทำให้วัตถเป็นกลางเกิดประจุชนิดตรงข้ามที่ด้านใกล้และประจุชนิด เดียวกันที่ด้านไกลออกไปและเมื่อนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าออกห่างการกระจายตัวของประจุในวัตถุก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิม

โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอะตอม วัตถุชิ้นหนึ่งๆ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากมาย แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน และอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่านิวตรอน และมีอนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววัตถุจะอยู่ในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าคือมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน และถ้าวัตถุมีจำนวนอนุภาคทั้งสองไม่เท่ากันจะทำให้วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าสุทธิไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเมื่อเสียอิเล็กตรอนจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุบวก ในทางตรงกันข้ามอะตอมใดที่ได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุลบ

การเกิดฟ้าผ่ากับกระแสไฟฟ้า

เบนจามิน แฟรงคลิน ได้พิสูจน์ไว้ว่าการเกิดฟ้าผ่ามีความสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้า จากที่ได้เคยศึกษาเกี่ยวกับการเกิดประกายไฟซึ่งจะเกิดขึ้นอยู่ระหว่างวัตถุที่มีประจุและวัตถุที่ไม่มีประจุหรือระหว่างที่มีประจุไม่เหมือนกัน และพบว่าประกายไฟมีการกระโดดจากคนสู่วัตถุที่เป็นกลางทางไฟฟ้าได้ สายฟ้าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆมาสู่พื้นดินซึ่งคล้ายกับว่าเกิดประกายไฟฟ้าที่ยาวมากๆ ฟ้าผ่าเป็นการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ในการผลิตประกายไฟที่ยาวเช่นนั้นจะต้องมีความต่างศักย์ที่สูงมากระหว่างวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง ในการเกิดฟ้าผ่านั้นความต่างศักย์เกิดขึ้นอาจถึงหนึ่งล้านโวลต์ โดยประจุไฟฟ้าจำนวนมากจะเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในเวลาเสี้ยววินาที การเกิดฟ้าผ่ามักจะเกิดเมื่อมีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของอากาศ ในเวลาที่มีพายุ ฝนฟ้าคะนอง ซึ่งการเกิดประจุไฟฟ้าบางทีอาจเกิดจากการขัดสีระหว่างอากาศที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ฟ้าผ่ามีความอันตรายต่อชีวิของมุษย์ นักวิยาศาสตร์ชื่อ เบนจามิน แฟรงคลิน ได้สร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า “สายล่อฟ้า” ซึ่งก่อนที่เขาออกแบบมัน เขาพบว่าวัตถุที่มีปลายแหลมจะมีประจุไฟฟ้ามากและจะสูญเสียประจุเร็วกว่าแบบกลมเรียบดังนั้น สายล่อฟ้าจึงถูกทำให้เป็นวัตถุที่มีความแหลมมาก ซึ่งจะถูกติดตั้งตรงส่วนบนของบ้านโดยจะต่อสายไฟเข้ากับสายล่อฟ้าและพื้นดิน ซึ่งเมื่อเกิดฟ้าผ่ามันจะผ่าที่สายล่อฟ้าไม่ใช่บ้าน ประจุจะเดินทางจากสายไฟลงดินทำให้บ้านไม่เสียหาย


ฟ้าผ่า
เนื้อหา  [ซ่อน]
1 สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต
2 การกำจัดและป้องกันไฟฟ้าสถิต
3 การนำไปใช้ประโยชน์
4 อ้างอิง
สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต[แก้]
ปกติแล้ว วัสดุทำจากอะตอมจะเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะพวกมันมีประจุบวก (โปรตอนในนิวเคลียส) และประจุลบ (อิเล็กตรอน วงรอบนิวเคลียส) เท่ากัน ปรากฏการณ์ของไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้นได้เมื่อแยกประจุบวกและลบออกจากกัน เมื่อวัตถุสองชนิดสัมผัสกัน อิเล็กตรอนอาจย้ายจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ทำให้วัตถุหนึ่งมีประจุลบเกิน และอีกวัตถุหนึ่งมีประจุบวกเกิน (เพราะประจุลบหายไป) เกิดการไม่สมดุลของประจุขึ้นในวัตถุทั้งสองนั้น เมื่อแยกวัตถุทั้งสองออกจากกัน วัตถุที่มีประจุลบเกิน ก็ถือว่าเกิดไฟฟ้าสถิตประจุลบ วัตถุที่ประจุบวกเกิน ก็เรียกว่าเกิดไฟฟ้าสถิตประจุบวก

การกำจัดและป้องกันไฟฟ้าสถิต[แก้]
การปลดปล่อยหรือการป้องกันการสะสมของประจุ อาจทำได้ง่ายๆแค่เปิดหน้าต่างหรือใช้ตัวเพิ่มความชื้นของอากาศทำให้อากาศเป็นสื่อกระแสไฟฟ้ามากขึ้น เครื่อง ionizers ก็สามารถจัดการได้

อุปกรณ์ที่ไวต่อการเกิดประจุไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่ง อาจจะรับการป้องกันด้วยการประยุกต์ใช้สารป้องกันไฟฟ้าสถิตซึ่งจะเพิ่มชั้นผิวนำไฟฟ้า เพื่อให้ประจุส่วนเกินมีการกระจายออกไป น้ำยาปรับผ้านุ่มและแผ่นเป่าแห้ง ที่ใช้ในเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าเป็นตัวอย่างของตัวป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดการยึดเหนี่ยวของประจุ


ตัวอย่างถุงใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสารป้องกันไฟฟ้าสถิตเคลือบอยู่ ก่อนเปิดถุงต้องเอาตัวถุงสัมผัสกับกราวด์ก่อนเพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ภายในถุง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมีความไวต่อการเกิดประจุไฟฟ้า ถุงตัวนำป้องกันไฟฟ้าสถิต มักใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อปกป้องอุปกรณ์ดังกล่าวในขณะขนส่ง คนที่ทำงานกับวงจรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้มักจะสายรัดข้อมือและต่อสายลงกราวด์ป้องกันไฟฟ้าสถิตทำลายอุปกรณ์นั้น


สายรัดข้อมือที่มีปลายด้านหนึ่งไว้หนีบกับกราวด์เพื่อระบายไฟฟ้าสถิตออกจากร่างกายก่อนทำงานกับอุปกรณ์ที่ไวต่อไฟฟ้าสถิต
ในโรงงานอุตสาหกรรมเช่นโรงสีหรือแป้งหรือในโรงพยาบาล, รองเท้าความปลอดภัยป้องกันไฟฟ้าสถิตบางครั้งถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าเนื่องจากจะสัมผัสกับพื้น รองเท้าเหล่านี้มีพื้นรองเท้าที่มีการนำไฟฟ้าดี รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตไม่ควรจะสับสนกับรองเท้าฉนวนซึ่งจะให้ผลตรงกันข้าม เพราะรองเท้าฉนวนใช้ป้องกันไฟฟ้าช็อตอย่างรุนแรงจากกระแสไฟฟ้า[1]

ไฟฟ้ากระแสสลับ

ไฟฟ้ากระแสสลับ (อังกฤษ: Alternating Current Electricity: AC หรือ ac) หมายถึงกระแสที่มีทิศทางไปและกลับตลอดระยะเวลา ไม่เหมือนกระแสตรง (Direct Current, DC หรือ dc) ที่ไหลไปในทิศทางเดียว ไม่ไหลกลับ

ไฟ AC เป็นไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือนหรือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ปริมาณไฟมากๆ รูปคลื่นเป็น sine wave ในบางกรณี รูปคลื่นอาจเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม


ภาพจำลองการส่งคลื่น AC จาก generator ซึ่งส่งพลังงานกลับทิศทางตลอดเวลา
เนื้อหา  [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 สายส่ง, การจำหน่าย
3 ความถี่ของไฟ AC
4 ผลกระทบที่ความถี่สูง
4.1 เทคนิคการลดความต้านทาน AC
4.2 เทคนิคในการลดการสูญเสียรังสี
4.3 สายบิดเป็นคู่
4.4 สาย coaxial
4.5 Waveguides
4.6 ใยแก้วนำแสง
5 คณิตศาสตร์ของแรงดันไฟฟ้า AC
5.1 กำลังงานและค่า root mean square
5.2 ตัวอย่าง
6 ดูเพิ่ม
7 อ้างอิง
ประวัติ[แก้]

การทดลองกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่หน้าโดย Duchenne
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเครื่องแรกเป็นครั้งแรกมีพื้นฐานมาจากหลักการของไมเคิล ฟาราเดย์สร้างขึ้นโดยช่างชาวฝรั่งเศสชื่อ Hippolyte Pixii ในปี (ค.ศ.1832) หลังจากนั้น Pixii เพิ่มตัวสลับสายเข้าไปในอุปกรณ์ของเขา ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ไฟ dc กันอย่างแพร่หลายอยู่ กระแสสลับที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการถูกบันทึกไว้ว่าประยุกต์ใช้จริงโดย กีโยม Duchenne นักประดิษฐ์และพัฒนาไฟฟ้าบำบัด ในปี ค.ศ.1855 เขาประกาศว่า AC ใช้รักษาการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ดีกว่า DC

ในปี ค.ศ.1876 วิศวกรชาวรัสเซียชื่อ Pavel Yablochkov คิดค้นระบบไฟส่องสว่างขึ้นโดยมีรากฐานจากชุดของขดลวดเหนี่ยวนำโดยที่ขดลวดปฐมภูมิเชื่อมต่อกับแหล่งไฟ AC ลวดทุติยภูมิสามารถเชื่อมต่อไปยังเทียนไฟฟ้า (โคมประกายไฟ) ได้หลายดวง ขดลวด Yablochkov ทำหน้าที่เป็นหม้อแปลงไฟฟ้านั่นเอง


Hippodrome กรุงปารีส ให้แสงสว่างโดยใช้เทียนของ Yablochkov 128 ดวง โดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้​​าที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยลูเชียน Gaulard และจอห์น ดิกสัน กิ๊บส์ได้แสดงให้เห็นในลอนดอนในปี ค.ศ.1881 และดึงดูดความสนใจของเวสติงเฮ้าส์ พวกเขายังแสดงสิ่งประดิษฐ์ใน Turin ในปี ค.ศ.1884 ที่ๆมันถูกนำมาใช้สำหรับระบบไฟฟ้​​าแสงสว่าง งานออกแบบของพวกเขาหลายชิ้นถูกนำไปปรับใช้เป็นกฎหมายควบคุมการกระจายไฟฟ้าในสหราชอาณาจักร

วิลเลียม สแตนลี่ย์ จูเนียร์ได้ออกแบบหนึ่งในอุปกรณ์จริงครั้งแรกในการถ่ายโอนไฟ AC อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างวงจรที่แยกออกมา การใช้คู่ของขดลวดพันบนแกนเหล็กเดียวกัน เรียกว่าขดลวดเหนี่ยวนำเป็นหม้อแปลงยุคแรก ระบบไฟ AC ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังปี ค.ศ. 1886 และรวมทั้งการอุดหนุนโดยนิโคลา เทสลา (สิทธิบัตรให้จอร์จ เวสติงเฮ้าส์) และคาร์ล วิลเฮล์ม ซีเมนส์ ระบบ AC เอาชนะข้อจำกัด ของระบบ DC ที่ใช้โดยโทมัส เอดิสัน ในการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในระยะทางไกล ถึงแม้ว่าเอดิสันพยายามที่จะทำลายชื่อเสียงของกระแสสลับว่าเป็นอันตรายเกินไปในสงครามแห่งกระแส


ภาพแสดง AC ไดนาโมของ Westinghouse ที่ให้แสงสว่างสำหรับงาน world expo ที่ชิคาโก ในปี 1893
สายส่ง, การจำหน่าย[แก้]

ตัวอย่างสายส่งไฟฟ้าแรงสุง ประเทศไทยใช้สุงสุดที่ 500kV จากแม่เมาะ-กท.[1]
แรงดันไฟฟ้า AC อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยหม้อแปลงไฟฟ้​​า การใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงจะมีประสิทธิภาพในการส่งพลังงานมากอย่างมีนัยสำคัญ การสูญเสียพลังงานในตัวนำเป็นผลคูณของกระแสยกกำลังสองกับค่าความต้านทานของตัวนำ ตามสูตร


ซึ่งหมายความว่าเมื่อส่งไฟฟ้​​าด้วยพลังงานคงที่บนลวดใดๆ ถ้ากระแสลดลงสองเท่า, การสูญเสียพลังงานจะลดลงสี่เท่า

ดังนั้น ถ้าต้องการส่งพลังงานเท่าเดิม แต่ให้การสูญเสียน้อยที่สุด คือลดกระแสที่ส่งลง แต่เพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้น (มักจะหลายร้อยกิโลโวลต์) เพราะการที่ใช้กระแสที่ต่ำ ทำให้เกิดพลังงานสูญเสียน้อยลง

อย่างไรก็ตาม การใช้แรงดันไฟฟ้าที่สูงยังมีข้อเสียเหมือนกัน อย่างแรกคือฉนวนไฟฟ้าต้องเพิ่มขึ้นและอย่างที่สองเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ในโรงไฟฟ้​​าพลังงานจะถูกสร้างขึ้นที่แรงดันไฟฟ้าหนึ่งและจากนั้นก็เพิ่มแรงดันสำหรับการส่ง ใกล้โหลดแรงดันจะถูกปรับลงเหลือไม่กี่ร้อยโวลต์

ระบบสายส่งแบบกระแสตรงแรงดันสูง (HVDC) ทำงานตรงกันข้ามกับระบบ AC ในการส่งพลังงานระยะทางไกลๆ แต่ระบบ HVDC มีแนวโน้มที่จะมีราคาแพงกว่าและมีประสิทธิภาพน้อยกว่าถ้าระยะทางที่ส่งสั้นๆ ระบบ HVDC ยังเป็นไปไม่ได้เมื่อครั้งที่ เอดิสัน, เวสติงเฮ้าส์และเทสลาแข่งกันออกแบบระบบไฟฟ้า เพราะยังไม่มีวิธีแปลงไฟ AC เป็น DC แล้วแปลงกลับเป็น AC ใหม่ได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้น


ภาพแสดงการทำงานของระบบไฟ 3 phase ซึ่งประกอบด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็ก 3 ชุดห่างกัน 120°
ระบบไฟฟ้าสามเฟสเป็นเรื่องธรรมดามาก วิธีที่ง่ายที่สุดคือการแยกขดลวดสเตเตอร์ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกเป็น 3 ชุด แต่ละชุดทำมุม 120°ซึ่งกันและกัน รูปคลื่นของกระแสจะถูกสร้างขึ้นโดยมีขนาดเท่ากันแต่เฟสต่างกัน 120° ถ้าเพิ่มขดลวดตรงข้ามกับชุดเหล่านี้ (ระยะห่าง 60 °) พวกมันจะสร้างเฟสเดียวกันแต่กระแสไฟฟ้าตรงข้ามกันและสามารถต่อสายเข้าด้วยกันได้


ภาพแสดงรูปคลื่น 3 เฟส
ในทางปฏิบัติ จะใช้ "ลำดับของ pole"ที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่นเครื่อง 12-pole จะมีขดลวด 36 ชุด (ระยะห่าง 10°) ข้อดีคือสามารถใช้ความเร็วต่ำได้ ตัวอย่างเช่นเครื่อง 2-pole ทำงานที่ 3600 รอบต่อนาทีแต่เครื่อง 12-pole ทำงานที่ 600 รอบต่อนาทีเพื่อผลิตความถี่เดียวกัน วิธีนี้ทำได้สำหรับเครื่องขนาดใหญ่

ถ้าโหลดในระบบสามเฟสจะมีความสมดุลกันทุกเฟส จะไม่มีการไหลของกระแสที่นิวทรอล แม้จะอยู่ในสภาวะโหลดไม่สมดุล (เชิงเส้น) ที่เลวร้ายที่สุด กระแสนิวทรอลก็จะไม่เกินกว่ากระแสสูงสุดของเฟส โหลดไม่เชิงเส้น (เช่นคอมพิวเตอร์) อาจต้องใช้สายนิวทรอลขนาดใหญ่ในแผงกระจายไฟเพื่อจัดการกับ Harmonics ที่เกิดขึ้น ฮาโมนิคส์สามารถทำให้กระแสในนิวทรอลสูงกว่ากระแสเฟสได้


แสดงการ wiring แบบ delta 3 phase 3 wire
ระบบสามเฟส สี่เส้น จะถูกใช้ที่ปลายทาง ในการลดแรงดันจากสายส่ง ด้าน primary จะเป็นเดลต้า (3 สาย) ด้าน secondary เป็นดาว (4-wire,center เป็น สายดิน)


แสดงการ wiring แบบ star 3 phase 4 wire
สำหรับลูกค้าขนาดเล็ก อาจใช้เพียงเฟสเดียวกับนิวทรอล หรือสองเฟสกับนิวทรอล สำหรับการติดตั้งขนาดใหญ่ใช้สามเฟสกับนิวทรอล จากแผงหลักทั้งไฟสามเฟสและเฟสเดียวจะถูกจ่ายออกไป

สายนิวทรอลหรือสายดิน จะต่อระหว่างโลหะที่เป็นฝาตู้ใส่อุปกรณ์กับสายดิน ตัวนำนี้จะป้องกันไฟฟ้าดูด ในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่ฝาตู้โลหะนี้ การเชื่อมฝาตู้ที่เป็นโลหะทั้งหมดมาที่สายดินเพียงจุดเดียว จะทำให้แน่ใจได้ว่า จะมีเส้นทางของกระแสรั่วไปลงดินที่สั้นที่สุด กระแสที่รั่วนี้ จะต้องทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (เบรกเกอร์, ฟิวส์)ทำงานเช่นเบรกเกอร์ตก หรือฟิวส์ละลายให้เร็วที่สุด สายที่เชื่อมตู้ทุกเส้นต้องมาลงดินที่ตู้กระจายไฟหลักหรือที่เดียวกับที่สายนิวทรอลต่อลงดิน

ความถี่ของไฟ AC[แก้]
ความถี่ของระบบไฟฟ้าแตกต่างกันไปตามประเทศ; พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นที่ 50 หรือ 60 เฮิรตซ์ บางประเทศมีส่วนผสมของความถี่ 50 Hz และ 60 Hz เช่นพลังงานไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยใช้ความถี่ 50 Hz หรือ 50 รอบต่อวินาที หรือ ไฟฟ้าวิ่งจากโรงไฟฟ้ามาบ้านผู้ใช้ ไปกลับ 50 ครั้งต่อวินาที

ความถี่ต่ำทำให้ง่ายในการออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการยก การบดและการกลิ้ง และมอเตอร์ชนิดฉุดสำหรับการขนส่งเช่นรถไฟ อย่างไรก็ตาม ความถี่ต่ำยังทำให้เกิดการกระพริบที่เห็นได้ชัดเจนในหลอดไฟอาร์คและหลอดไส้ การใช้ความถี่ที่ต่ำๆยังให้ประโยชน์จากการลดการสูญเสียความต้านทานซึ่งเป็นสัดส่วนกับความถี่ แต่เดิมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่น้ำตกไนแอการาผลิตไฟฟ้า 25 Hz, เพื่อประนีประนอมระหว่างมอเตอร์เหนี่ยวนำเพื่อการลากความถี่ต่ำในขณะที่ยังช่วยให้หลอดไฟในการทำงาน (แม้ว่าจะมีการกระพริบที่เห็นได้ชัด) ส่วนใหญ่ของลูกค้าที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ที่ใช้ 25 Hz ถูกแปลงเป็น 60 Hz ในปลายปี 1950 ไฟฟ้าความถี่16.7 เฮิรตซ์ (เดิม 16 2/3 Hz) ก็ยังคงใช้ในบางระบบของรถไฟในยุโรปเช่นในประเทศออสเตรีย, เยอรมนี, นอร์เวย์, สวีเดนและสวิส

การใช้งานนอกชายฝั่ง, การทหาร, อุตสาหกรรมสิ่งทอ, ในทะเล, คอมพิวเตอร์เมนเฟรม, เครื่องบินและยานอวกาศบางครั้งใช้ 400 Hz เพื่อประโยชน์ของน้ำหนักที่ลดลงของอุปกรณ์หรือเพิ่มความเร็วของมอเตอร์

ผลกระทบที่ความถี่สูง[แก้]
กระแสตรงไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดของลวด กระแสสลับที่ความถี่ใดๆถูกบังคับให้ไหลห่างจากใจกลางลวด ให้ไปอยู่ผิวนอก เป็นเพราะการเร่งความเร็วของประจุไฟฟ้าในกระแสสลับสร้างคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่ลบล้างการแพร่กระจายของกระแสไฟฟ้าให้ออกไปจากกึ่งกลางของวัสดุที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า skin effect

ที่ความถี่สูงมากๆ กระแสจะไม่ไหลในเส้นลวด แต่ไหลบนพื้นผิวของลวดภายในความหนาของผิวเล็กน้อย ความลึกของผิวจะมีความหนาที่ทำให้ความหนาแน่นกระแสลดลง 63% แม้ที่ความถี่ค่อนข้างต่ำที่ใช้ในการส่งกำลังไฟฟ้​​า (50-60 Hz), การกระจายไม่สม่ำเสมอของกระแสไฟฟ้ายังคงเกิดขึ้นในตัวนำที่หนาพอ ตัวอย่างเช่นความลึกของผิวของตัวนำทองแดงจะอยู่ที่ประมาณ 8.57 มม. ที่ 60 Hz, ดังนั้น ตัวนำที่กระแสสูงมักจะกลวงเพื่อลดมวลและค่าใช้จ่าย

เนื่องจากกระแสไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะไหลในผิวรอบตัวนำ, พื้นที่หน้าตัดของตัวนำจะลดลง ทำให้ความต้านทานของตัวนำในระบบไฟฟ้ากระแสสลับสูงขึ้น เพราะความต้านทานจะแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัด ความต้านทาน AC มักจะสูงกว่าความต้านทาน DC มาก ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่สูงขึ้นมากเนื่องจากปรากฏการณ์ ohmic heating (หรือเรียกว่าการสูญเสีย I2R)

เทคนิคการลดความต้านทาน AC[แก้]
สำหรับความถี่ต่ำถึงความถี่กลาง ตัวนำสามารถถักเป็นสายเกลียว แต่ละเส้นเคลือบฉนวน สายไฟที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคนี้เรียกว่า Litz wire วิธีนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบจาก skin effect ด้วยการบังคับให้กระแสกระจายเท่าเทียมกันตลอดหน้าตัดของสายเกลียว Litz wire ถูกนำมาใช้ทำ ตัวเหนี่ยวนำคุณภาพสูง ลดการสูญเสียในตัวนำกระแสสูงแต่ความถี่ต่ำ และขดลวดของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงขึ้น (ถึงหลายร้อยกิโลเฮิร์ตซ์) เช่นเพาเวอร์ซัพพลายแบบสลับโหมด และหม้อแปลงไฟฟ้​​าคลื่นความถี่วิทยุ

เทคนิคในการลดการสูญเสียรังสี[แก้]
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กระแสสลับเกิดจากประจุไฟฟ้าภายใต้ความเร่งเป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้เกิดการแผ่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานที่แผ่ออกมาจะหายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ การใช้เทคนิคหลายอย่างจะสามารถลดการสูญเสียอันเนื่องมาจากการแผ่กระจายนั้น

สายบิดเป็นคู่[แก้]
ที่ความถี่สูงถึงประมาณ 1 GHz, สายแต่ละคู่จะถูกบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกัน เรียกว่า twisted pair ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าและเหนี่ยวนำต่างๆ คู่บิดที่ต้องใช้กับระบบการส่งสัญญาณที่มีความสมดุลเพื่อให้ทั้งสองสายพกพากระแสเท่ากัน แต่ทิศทางตรงข้ามกัน ลวดแต่ละในคู่บิดจะแผ่กระจายสัญญาณออกมา แต่มันจะถูกหักล้างอย่างมีประสิทธิภาพโดยรังสีจากสายอื่น ๆ มีผลทำให้เกิอบจะไม่มีการสูญเสียจากการแผ่รังสีเลย

สาย coaxial[แก้]
สาย coaxial มักใช้กับความถี่เสียงหรือสูงกว่าเพื่อความสะดวก ประกอบด้วยลวดตัวนำอยู่ภายในหลอดตัวนำแยกจากกันด้วยชั้นของไดอิเล็กทริก กระแสไฟฟ้าที่ไหลในตัวนำด้านในมีค่าเท่ากับและตรงข้ามกับกระแสที่ไหลบนพื้นผิวด้านในของหลอด สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีอย่างสมบูรณ์ภายในหลอดและ (โดยจินตนาการ) ไม่มีการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีหรือเชื่อมถึงกันนอกหลอด สาย coaxial มีการสูญเสียเล็กน้อยที่ยอมรับได้สำหรับความถี่สูงถึงประมาณ 5 GHz สำหรับความถี่ไมโครเวฟที่สูงกว่า 5 GHz ความสูญเสีย (สาเหตุหลักจากความต้านทานไฟฟ้าของตัวนำใส้กลาง) มากเกินไป ทำให้ waveguide เป็นตัวกลางในการส่งคลื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สาย coaxial ที่มีอากาศแทนสารไดอิเล็กทริกเป็นที่ต้องการเพราะสามารถส่งกำลังด้วยความสูญเสียที่น้อยกว่า

Waveguides[แก้]
ท่อนำคลื่นคล้ายกับสาย coax เนื่องจากทั้งสองชนิดนี้ประกอบด้วยท่อ แต่ความแตกต่างอยู่ที่ท่อนำคลื่นไม่ได้มีตัวนำภายใน ท่อนำคลื่นอาจมีรูปแบบหน้าตัดอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะท่อนำคลื่นไม่ได้มีตัวนำภายในเพื่อส่งพลังงานในรูปกระแส แต่ส่งโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ถึงแม้ว่ากระแสที่พื้นผิวจะไหลในผนังด้านในของท่อ กระแสพื้นผิวไม่ส่งพลังงาน พลังงานจะถูกส่งโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสพื้นผิวเกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและมีผลในการเก็บสนามไฟฟ้าไว้ภายในท่อนำคลื่นและป้องกันการรั่วไหลของคลื่นออกนอกท่อนำคลื่น

ท่อนำคลื่นมีขนาดเป็นสัดส่วนกับความยาวคลื่นที่จะถูกส่ง ดังนั้นท่อนำคลื่นจึงเป็นความเป็นไปได้อย่างเดียวสำหรับความถี่ย่านไมโครเวฟ นอกจากความเป็นไปได้ทางด้านกลไกแล้ว ความต้านทานไฟฟ้าของโลหะที่ใช้สร้างผนังของท่อนำคลื่นทำให้คลื่นกระจาย (กระแสพื้นผิวทีไหลบนตัวนำที่มีรอยต่อหลวมทำให้เกิดความร้อน) ที่ความถี่สูงๆ การสูญเสียพลังงานอันเนื่องมาจากความร้อนจะมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะยอมรับได้

ใยแก้วนำแสง[แก้]
ที่ความถี่สูงกว่า 200 GHz, ขนาดของท่อนำคลื่นเล็กลงมากๆ และ ohmic loss ในผนังท่อนำคลื่นมีจำนวนมาก แต่ใยแก้วนำแสงซึ่งเป็นรูปแบบของท่อนำคลื่นไดอิเล็กทริกสามารถถุกนำมาใช้ได้แทน สำหรับความถี่ดังกล่าววิธีส่งพลังงานด้วยแรงดันไฟฟ้าและกระแส ใช้ไม่ได้แล้ว

คณิตศาสตร์ของแรงดันไฟฟ้า AC[แก้]

คลื่นไซน์มากกว่าหนึ่งรอบ (360 °) เส้นประแสดงให้เห็นถึงค่า root mean square (RMS) ที่ประมาณ 0.707 ของค่าสูงสุด (peak)
กระแสสลับไปด้วยกัน (หรือเกิดจาก) กับแรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ v สามารถอธิบายทางคณิตศาสตร์ว่าเป็นฟังชั่นของเวลาโดยสมการต่อไปนี้:

,
where

เป็นค่า peak voltage (หน่วย: โวลต์),
 เป็น ความถี่เชิงมุม (unit: เรเดียนต่อวินาที)
ความถี่เชิงมุมสัมพันธ์กับความถี่ทางกายภาพ,  (หน่วย = เฮิรตซ์), มีหน่วยเป็นจำนวนรอบต่อวินาที, ตามสูตร .
 เป็นเวลา (หน่วย: วินาที).,
ค่า peak-to-peak ของแรงดันไฟฟ้า AC ถูกกำหนดให้เป็นความแตกต่างระหว่างจุดสูงสุดด้านบวกและจุดสูงสุดด้านลบ เนื่องจากค่าสูงสุดของ  คือ +1 และค่าต่ำสุดคือ -1, แรงดัน AC จะขึ้นลงระหว่าง  และ  แรงดันไฟฟ้า peak-to-peak ปกติจะถูกเขียนว่า  หรือ  เพราะฉะนั้น .



กำลังงานและค่า root mean square[แก้]
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้าและกำลังงานคือ

 เมื่อ  แทนความหมายเป็น load resistance.
  แทนที่จะใช้กำลังงานในจุดใดจุดหนึ่ง  ในทางปฏิบัติ จะใช้กำลังงานในเวลาเฉลี่ย (ที่ๆค่าเฉลี่ยจะถูกกระทำในจำนวนเต็มรอบใด ๆ) ดังนั้นแรงดันไฟฟ้า AC มักจะแสดงเป็นค่า root mean square (RMS) เขียนเป็น  ดังนั้น


สำหรับแรงดันไฟฟ้ารูปซายน์:


ค่า ถูกเรียกว่า crest factor แตกต่างกันตามรูปคลื่นที่แตกต่างกัน

สำหรับรูปคลื่นสามเหลี่ยมศูนย์กลางอยู่รอบๆค่าศูนย์

สำหรับรูปคลื่นสี่เหลี่ยมศูนย์กลางอยู่รอบๆค่าศูนย์

สำหรับรูปคลื่นเป็นระยะ ๆ ของเวลา
 of period :

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า (อังกฤษ: Electric Circuit) หมายถึง การเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่น ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า แหล่งจ่ายกระแสและ สวิตช์ ในรูปวงจรปิดทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าครบวงจร วงจรไฟฟ้าเชิงเส้น เป็นวงจรไฟฟ้าชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยแหล่งจ่าย (แรงดันหรือกระแส), อุปกรณ์เชิงเส้นเป็นชิ้นเดี่ยว (ตัวต้านทาน, ตัวเหนี่ยวนำ, ตัวเก็บประจุ) และอุปกรณ์เชิงเส้นกระจาย(สายส่ง) มีคุณสมบัติที่สัญญาณสามารถทับซ้อนกันได้เป็นเส้นต่อเนื่อง วงจรนี้จึงง่ายต่อการวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการโดเมนความถี่ที่มีประสิทธิภาพ เช่นการแปลงของลาปลาซ เพื่อตรวจสอบการตอบสนอง DC, การตอบสนอง AC และ การตอบสนองสัญญาณที่เกิดระยะสั้น

วงจรตัวต้านทาน เป็นวงจรที่มีแต่ตัวต้านทานเท่านั้น และแหล่งจ่ายกระแสและแรงดัน การวิเคราะห์วงจรตัวต้านทานมีความซับซ้อนน้อยกว่าการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าที่ประกอบตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ ถ้าแหล่งจ่ายมีค่า (DC) คงที่ ผลที่ได้คือวงจร DC

วงจรที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ มักจะไม่เป็นเชิงเส้น และต้องมี การออกแบบและเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากขึ้น

เนื้อหา  [ซ่อน]
1 การจัดหมวดหมู่
1.1 โดยการเป็นพาสซีฟ
1.2 โดยเชิงเส้น
2 การจำแนกประเภทของแหล่งจ่าย
2.1 แหล่งจ่ายอิสระ
2.2 แหล่งจ่ายไม่อิสระ
3 กฎของไฟฟ้า
4 วิธีการออกแบบ
5 ซอฟต์แวร์การจำลองวงจร
5.1 Linearization รอบจุดปฏิบัติการ
5.2 การประมาณการแบบ Piecewise-linear
6 ดูเพิ่ม
การจัดหมวดหมู่[แก้]
โดยการเป็นพาสซีฟ[แก้]
วงจรแอคทีฟเป็นวงจรที่ประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งแหล่งจ่ายแอคทีพ เช่นแหล่งจ่าย แรงดันไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายกระแส (อุปกรณ์แอคทีฟคืออุปกรณ์ที่ต้องมีไฟเลี้ยงจึงจะทำงานได้ เช่นทรานซิสเตอร์ ไดโอด ฯลฯ)

วงจรพาสซีฟเป็นวงจรที่ไม่มีอุปกรณ์แอคทีฟใดๆ มีแต่อุปกรณ์พาสซีฟ(อุปกรณ์ที่ไม่มีไฟเลี้ยง ก็สามารถทำงานได้เช่นตัวนำ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ ฯลฯ)

โดยเชิงเส้น[แก้]
วงจร เชิงเส้นเป็นวงจรซึ่งประกอบด้วยแหล่งจ่ายที่เป็นอิสระ แหล่งจ่ายไม่อิสระแต่เป็นเชิงเส้น และอุปกรณ์ที่เป็นพาสซีฟเชิงเส้นหรือรวมกันทั้งสองอย่าง (วงจรจะเรียกว่าเป็นเชิงเส้น ถ้ามัน เป็นไปตามหลักการของความเป็นเนื้อเดียวกันและซ้อนกัน) นอกนั้นจะเรียกว่าเครือข่ายที่ไม่ใช่เชิงเส้น

การจำแนกประเภทของแหล่งจ่าย[แก้]
แหล่งจ่ายสามารถแบ่งเป็น แหล่งจ่ายอิสระและแหล่งจ่ายไม่อิสระ

แหล่งจ่ายอิสระ[แก้]
แหล่งจ่ายอิสระในอุดมคติจะรักษาระดับแรงดันหรือกระแสไว้เท่าเดิม โดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆในวงจร ระดับของแรงดันหรือกระแสเป็นได้ทั้ง คงที่(DC) หรือ ซายน์ (AC) ความแข็งแรงของแรงดันไฟฟ้าหรือกระแส จะไม่เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของโหลดใด ๆ

แหล่งจ่ายไม่อิสระ[แก้]
แหล่งจ่ายไม่อิสระจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเฉพาะของวงจรสำหรับการส่งมอบกำลังไฟฟ้าหรือ แรงดันไฟฟ้า หรือกระแส ขึ้นอยู่กับชนิดของแหล่งมันเป็น

กฎของไฟฟ้า[แก้]
กฎของไฟฟ้ามีเป็นจำนวนมากที่นำไปใช้กับทุกวงจรไฟฟ้า ได้แก่ :

กฎกระแสของ Kirchhoff : ผลรวมของกระแสทั้งหมดที่เข้าโหนดจะมีค่าเท่ากับผลรวมของ กระแสทั้งหมดที่ออกจากโหนด
กฎแรงดันไฟฟ้าของ Kirchhoff : ผลรวมโดยตรงของความต่างศักย์ไฟฟ้ารอบวงจรต้องเป็นศูนย์
กฎของโอห์ม : แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานจะมีค่าเท่ากับผลคูณของความต้านทานและกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน
ทฤษฎีบทของนอร์ตัน : วงจรของแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายกระแสและตัวต้านทาน ใดๆมีความหมายทางไฟฟ้าเทียบเท่ากับแหล่งจ่ายกระแสหนึ่งแหล่งต่อแบบคู่ขนานกับตัวต้านทานตัวเดียว
ทฤษฎีบทของเทเวนิน : วงจรของแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายกระแสและตัวต้านทานใดๆมีความหมายทางไฟฟ้าเทียบเท่ากับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าหนึ่งแหล่งต่อซีรีส์กับความต้านทานตัวเดียว
ทฤษฎีบทการทับซ้อน : ในวงจรเชิงเส้นที่มีแหล่งจ่ายอิสระหลายแหล่ง การตอบสนองต่อสาขาใดสาขาหนึ่ง, เมื่อแหล่งจ่ายทั้งหมดทำหน้าที่พร้อมกัน, จะมีค่าเท่ากับผลรวมเชิงเส้นของแต่ละการตอบสนองนั้น การคำนวณได้จากการพูดคุยของแหล่งจ่ายอิสระทีละแหล่ง
วิธีการออกแบบ[แก้]
การวิเคราะห์วงจรเชิงเส้น
องค์ประกอบไฟฟ้า



อุปกรณ์ไฟฟ้า
 

วงจรอนุกรมและขนาน


Impedance transforms
 

Generator theorems Network theorems




Network analysis methods
 

Two-port parameters


แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข

การออกแบบวงจรไฟฟ้าใดๆ ทั้งอนาล็อกหรือดิจิตอล, วิศวกรไฟฟ้าจะต้องสามารถที่จะทำนาย แรงดันไฟฟ้าและกระแสที่ทุกสถานที่ภายในวงจร วงจรเชิงเส้นเป็นวงจรที่มีความถี่ที่อินพุทเท่ากับความถี่ที่เอาต์พุต สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยมือโดยใช้ทฤษฎีจำนวนซับซ้อน วงจรอื่นๆจะสามารถวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมซอฟต์แวร์พิเศษหรือเทคนิคการประมาณค่าเช่นรูปแบบ piecewise-linear เท่านั้น

ซอฟต์แวร์การจำลองวงจร เช่น HSPICE และภาษาเช่น VHDL-AMS และ Verilog-AMS ช่วยให้วิศวกรสามารถออกแบบวงจรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เวลา และความเสี่ยงของความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องในการสร้างต้นแบบวงจร

ดูเพิ่มเติม Network analysis (electrical circuits).
กฎที่ซับซ้อนมากขึ้นอื่นๆอาจจำเป็นถ้าวงจรประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ไม่เป็นเชิงเส้นหรืออุปกรณ์ปฏิกิริยา ระบบ heterodyning ปฏิรูปด้วยตนเองที่ไม่ใช่เชิงเส้นสามารถจะประมาณได้ การประยุกต์ใช้กฎเหล่านี้ให้ผลลัพธ์ในชุดของสมการที่จะสามารถแก้ไขได้ทั้งพีชคณิตหรือตัวเลขไปพร้อมกัน

ซอฟต์แวร์การจำลองวงจร[แก้]
วงจรที่ซับซ้อนมากสามารถวิเคราะห์เป็นตัวเลขด้วยซอฟต์แวร์เช่น SPICE หรือ GNUCAP หรือ แบบสัญลักษณ์โดยการใช้ซอฟต์แวร์ เช่น SapWin

Linearization รอบจุดปฏิบัติการ[แก้]
เมื่อต้องเผชิญกับวงจรใหม่, สิ่งแรก ซอฟแวร์จะพยายามที่จะหาคำตอบของสภาวะที่มั่นคง นั่นคือ อันที่ทำให้โหนดทั้งหมดเป็นไปตามกฎของกระแสและแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมของ Kirchhoff และผ่านแต่ละองค์ประกอบของวงจรที่สอดคล้องกับสมการแรงดัน/กระแสที่ควบคุมองค์ประกอบนั้น

เมื่อสามารถหาคำตอบของสภาวะที่มั่นคงได้แล้ว ก็จะสามารถหาจุดปฏิบัติการของแต่ละองค์ประกอบในวงจรพบด้วย สำหรับการวิเคราะห์สัญญาณขนาดเล็ก ทุกองค์ประกอบที่ไม่ใช่เชิงเส้น สามารถทำเป็นเชิงเส้นรอบจุดการดำเนินงานเพื่อการประมาณการของสัญญาณขนาดเล็กของแรงดันไฟฟ้าและกระแส นี่คือการประยุกต์ใช้กฎของโอห์ม เมทริกซ์วงจรเชิงเส้นที่ได้รับจะ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการกำจัดแบบเกาส์

การประมาณการแบบ Piecewise-linear[แก้]
ซอฟต์แวร์เช่น PLECS อินเตอร์เฟซกับ Simulink จะใช้การประมาณแบบ Piecewise-linear ของสมการที่ควบคุมองค์ประกอบของวงจร วงจรจะถูกถือว่าเป็นเครือข่ายเชิงเส้นอย่างสมบูรณ์ของไดโอดในอุดมคติ ทุกครั้งที่ไดโอดสวิทช์จากเปิดเป็นปิดหรือในทางกลับกัน คอนฟิกของเครือข่ายเชิงเส้นจะเปลี่ยน การเพิ่มรายละเอียดมากขึ้นในการประมาณของสมการจะไปเพิ่ม ความถูกต้องของการจำลอง แต่ก็เพิ่มเวลาการทำงานของมันด้วย

TREK ใหม่ครับ



วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภาคจ่ายไฟ

ภาคจ่ายไฟทำงานหรือไม่ ดูจากอะไร
หลักความเป็นจริง

ระบบการทำงานของ  MPU ปกติ หลอดแสดงผลที่หน้าปัดเครื่อง เวลาเปิดเครื่องรับหลอดแสดงผลต้องติดอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ถ้าหลอด LED ติดแสดงว่าภาคจ่ายไฟปกติ
ขั้นตอนการซ่อม
1.  ภาคจ่ายไฟต้องเริ่มต้นทำงานได้ก่อน
2.  ภาคจ่ายไฟจ่ายแรงดัน +5V ไปเลี้ยง MPU ก่อน
3.  เมื่อ MPU ทำงาน จะจ่ายแรงดันการผลิตความถี่ H-OSC.   ให้กับหลอดภาพ และส่วนต่าง ๆทำงานได้

กรณีหลอดแสดงผลไม่ติดจะทำอย่างไร
สาเหตุจากการวิเคราะห์
1.   ไม่มีไฟเลี้ยง MPU
2.   MPU ถูกตัดออกจากระบบ
ขั้นตอนในการตรวจเช็ค
1.  เช็คโหลดของวงจร (Load) หรือโหลดภาคจ่ายไฟ ประกอบ    ด้วย ไฟเลี้ยงภาคเสียง , ไฟเลี้ยงวงจรต่าง ๆ , H-OUT
2.  เช็คที่ H-OUT เช็คที่ตำแหน่งขา C ของ HOR
3. นำสายมิเตอร์มาวัดรอที่ขา C ของ HOR ก่อนเปิดเครื่อง ถ้ามี     แรงไฟเกิดขึ้นแล้วตกลง แสดงว่าภาคจ่ายไฟทำงานปกติแล้ว แต่...
4.แต่ถ้าวัดแรงไฟแล้วไม่มี ให้กลับไปดูต้นทางของ +B ให้เช็คแรงดันที่  ไดโอด เรคติไฟล์ ถ้าแรงไฟมีแต่ HOR ไม่ทำงาน   เช็ควงจรข้างเคียง
     เช่น resister ต่าง ๆ


ขั้นตอนการทำนา

การเตรียมพันธุ์ข้าว




เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ีความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ

การปลูกข้าว




วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูก มากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอน ที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียม ดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร

การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปร แล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็น ที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก

การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นา ที่ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าว อาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้น มากกว่าปกติ จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้ว คราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมี ความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่ม งอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน การ ตั้งตัว ของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่า การหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน

การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร และพื้นที่นา เป็นผืนใหญ่ขนาด ประมาณ 1-2 ไร่มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียม ดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออก จากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดิน ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันใน ท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทราที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไฟฟ้า (อังกฤษ: electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล

การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า(ในขณะเบรก)


มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ

อุปกรณ์เช่นขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าและลำโพงที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้สร้างพลังงานกลที่ใช้งานได้ จะเรียกถูกว่า actuator และ transducer ตามลำดับ คำว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้น ต้องใช้สร้างแรงเชิงเส้น(linear force) หรือ แรงบิด(torque) หรือเรียกอีกอย่างว่า หมุน (rotary) เท่านั้น


ภาพตัดขวางเพื่อแสดงสเตเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ


เนื้อหา  [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 มอเตอร์ในยุคสอง
2 โครงสร้างมอเตอร์
2.1 โรเตอร์
2.2 สเตเตอร์
2.3 ช่องว่างอากาศ
2.4 ขดลวด
2.5 ตัวสับเปลี่ยน
3 แหล่งจ่ายไฟและการควบคุมมอเตอร์
3.1 แหล่งจ่ายไฟมอเตอร์
3.2 การควบคุมมอเตอร์
4 ประเภทหลัก
5 มอเตอร์แบบสับเปลี่ยนด้วยตนเอง
5.1 มอเตอร์ DC แบบใช้แปรงถ่าน
5.1.1 มอเตอร์ DC แบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
5.1.2 มอเตอร์ DC แบบแม่เหล็กถาวร
5.2 มอเตอร์ที่ใช้ตัวสับเปลี่ยนแบบอิเล็กทรอนิกส์
5.2.1 มอเตอร์ DC แบบไม่ใช้แปรง
5.2.2 มอเตอร์แรงต้านแม่เหล็ก
5.2.3 มอเตอร์ AC-DC สากล
6 มอเตอร์ AC ตัวสับเปลี่ยนภายนอก
6.1 มอเตอร์เหนี่ยวนำ
6.1.1 มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก(SCIM)และแบบพันรอบโรเตอร์(WRIM)
6.1.2 มอเตอร์แรงบิด
6.1.3 มอเตอร์ซิงโครนัส
6.1.4 มอเตอร์แบบ double feed
7 มอเตอร์แม่เหล็กพิเศษ
7.1 โรตารี
7.1.1 มอเตอร์แบบโรเตอร์ไม่ใช้เหล็กหรือไม่มีแกน
7.1.2 มอเตอร์แบบโรเตอร์แพนเค้กหรือแกน axial
7.1.3 มอเตอร์เซอร์โว
7.1.4 มอเตอร์สเต็ป
7.1.5 มอเตอร์แนวราบ
8 เปรียบเทียบมอเตอร์แต่ละประเภทหลัก
9 ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า
9.1 แรงและแรงบิด
9.2 พาวเวอร์
9.3 แรงเคลื่อนไฟฟ้าย้อนกลับ
9.4 การสูญเสีย
9.5 ประสิทธิภาพ
9.6 ปัจจัยความดี
10 อ้างอิง
11 แหล่งค้นคว้าภายนอก
12 ดูเพิ่ม
ประวัติ[แก้]
มอเตอร์ในยุคสอง[แก้]

การทดลองแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์ในปี 1821[1]
หลักการที่อยู่เบื้องหลังผลิตผลของแรงทางกลของมอเตอร์ก็คือการมีปฏิสัมพันธ์กันของกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีอยู่ในตัวมอเตอร์ กฎของแอมแปร์ถูกค้นพบโดย อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (André-Marie Ampère) ในปี 1820 การเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานกลโดยวิธีการทางแม่เหล็กไฟฟ้าได้ถูกแสดงให้เห็นโดย ไมเคิล ฟาราเดย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษในปี 1821 ลวดแขวนอย่างอิสระถูกจุ่มลงในแอ่งของปรอทซึ่งมีสารแม่เหล็กถาวร (PM) ได้ถูกนำมาวางไว้



เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านไปยังเส้นลวด, เส้นลวดจะถูกหมุนไปรอบ ๆ แม่เหล็กแสดงให้เห็นว่ากระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กรูปวงกลมปิดรอบเส้นลวด [2] มอเตอร์นี้มักจะถูกแสดงสาธิตให้เห็นในการทดลองทางฟิสิกส์, โดยการใช้น้ำเกลือทดแทนปรอทที่มีความเป็นพิษ แม้ว่าวงล้อบาร์โลว์ (Barlow's wheel) คือการปรับปรุงในช่วงยุคต้น ๆ ของการแสดงสาธิตของฟาราเดย์นี้, มอเตอร์แบบขั้วเหมือน (homopolar motor) เหล่านี้และที่คล้ายคลึงกันจะยังคงพอที่จะประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้จนกระทั่งถึงในช่วงปลายศตวรรษ

ในปี 1827 นักฟิสิกส์ชาวฮังการี อานาโยส เยดลิค (Ányos Jedlik) เริ่มการทดลองกับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic coil)

โครงสร้างมอเตอร์[แก้]

โรเตอร์ (ซ้าย) และ สเตเตอร์ (ขวา)
โรเตอร์[แก้]
บทความหลัก: Rotor (electric)

ในมอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนที่เคลื่อนที่คือโรเตอร์ ซึ่งจะหมุนเพลาเพื่อจ่ายพลังงานกล โรเตอร์มักจะมี ขดลวดตัวนำพันอยู่โดยรอบ ซึ่งเมื่อมีกระแสไหลผ่าน จะเกิดอำนาจแม่เหล็กที่จะไปทำปฏิกิริยากับ สนามแม่เหล็กถาวรของสเตเตอร์ ขับเพลาให้หมุนได้ อย่างไรก็ตามโรเตอร์บางตัวจะเป็นแม่เหล็กถาวรและสเตเตอร์จะมีขดลวดตัวนำสลับที่กัน

ตัวเรียงกระแสควบคุมชนิดซิลิคอน

ตัวเรียงกระแสควบคุมชนิดซิลิคอน (อังกฤษ: Silicon-controlled Rectifier: SCR) เป็นอุปกรณ์เรียงกระแสแบบ solid-state สี่ชั้นที่ถูกควบคุมด้วยกระแส ชื่อ "Silicon-controlled Rectifier" หรือ SCR เป็นชื่อทางการค้าของ บริษัท General Electric พัฒนาโดยทีมวิศวกรนำโดยโรเบิร์ต เอ็น ฮอลล์และจำหน่ายโดย บริษัท แฟรงค์ ดับบลิว กัทส์วิลเลอร์ หรือ บิล ในปี ค.ศ.1957


SCR แรงสูงเทียบขนาดกับเหรียญ
บางแหล่งกำหนด SCR และ thyristors เป็นความหมายเหมือนกัน บางแหล่งกำหนด SCR เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลของอุปกรณ์ที่มีสาร n และ p อย่างน้อย 4 ชั้นสลับกัน หรือตระกูล ทายริสเตอร์ (thyristors)

SCR เป็นอุปกรณ์แบบทิศทางเดียว (นั่นคือ กระแสไหลในทิศทางเดียวเท่านั้น) เมื่อเทียบกับ ไทรแอค (TRIAC) ซึ่งเป็นแบบสองทิศทาง (นั่นคือ กระแสไหลในสองทิศทาง) SCR ปกติถูก trigger ให้ทำงานได้ด้วยกระแสไหลเข้าใน gate ซึ่งตรงข้ามกับ TRIAC ซึ่งสามารถถูก trigger ได้ด้วยกระแสทั้งบวกหรือลบ

เนื้อหา  [ซ่อน]
1 โหมดของการทำงาน
2 Reverse Bias
3 วิธีการเปิด gate SCR
4 การประยุกต์ใช้ SCR
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง
โหมดของการทำงาน[แก้]
อุปกรณ์นี้โดยทั่วไปจะถูกใช้ในงานที่ปิดเปิดบ่อยๆ ในสภาวะปกติอุปกรณ์จะ "ปิด" กระแสที่ไหลผ่านก็มีเพียงกระแสไฟฟ้ารั่วเท่านั้นซึ่งมีปริมาณน้อยมาก เมื่อแรงดันไฟฟ้าระหว่าง gate กับแคโทดมีมากพอทำให้มีกระแสไหลใน gate เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเป็น "เปิด" ให้กระแสไหลผ่านจากแอโหนดไปแคโทดได้ อุปกรณ์จะยังคงอยู่ในสถานะ "เปิด" แม้หลังจากกระแสที่ gate ถูกตัดออกไปตราบเท่าที่กระแสที่ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นยังคงมีอยู่สูงในระดับหนึ่ง ถ้ากระแสตกลงจากระดับนั้นช่วงเวลาหนึ่ง อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเป็น "ปิด"

ถ้าแรงดันไฟฟ้าระหว่างแอโหนดกับแคโทดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพอ, capacitive coupling อาจก่อให้เกิดประจุไฟฟ้ามากพอเข้าไปใน gate ไป trigger ให้อุปกรณ์ "เปิด"; เรียกว่า "dv/dt triggering" ปรากฏการณ์นี้อาจสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้วงจร snubber "dv/dt triggering" อาจจะไม่สวิทช์ SCR ให้เปิดให้กระแสผ่านได้อย่างรวดเร็ว แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้ SCR เสียหายได้

SCR ยังถูก trigger ได้โดยการเพิ่มแรงดันให้เกินกว่าแรงดันไฟฟ้า rating ของมัน (breakdown voltage) แต่ครั้งนี้ก็เหมือนกัน จะไม่ทำให้อุปกรณ์สวิทช์ได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจจะทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์ได้ ควรหลีกเลี่ยง

Reverse Bias[แก้]
SCR มีทั้งแบบที่มีความสามารถในการทำ reverse blocking และแบบไม่มีความสามารถในการทำ reverse blocking ความสามารถนี้ใช้เมื่อมีการจ่ายแรงดันไฟฟ้ากลับทาง หรือ reverse bias งานทั่วไปที่ต้องการความสามารถนี้เมื่อ SCR ทำงานเป็น current source inverter

SCR ที่ไม่มีความสามารถในการ reverse blocking เรียกว่า Asymmetry SCR (ASCR) พวกนี้มักจะมี reverse breakdown rating เป็นหลัก 10V เท่านั้น ดังนั้นจึงนำไปใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีไดโอดต่อคร่อมกลับทางอยู่(อย่างเช่นใน voltage source converter) หรือใช้ในวงจรที่ไม่มีการต่อโวลเตจกลับขั้ว(เช่น switching power supply หรือ วงจรไฟฟ้าระบบราง)

ASCR สามารถผลิตให้มีไดโอดย้อนกลับในแพคเกจเดียวกันได้ เรียกว่า RCT หรือ reverse conducting thyristor

วิธีการเปิด gate SCR[แก้]

โครงสร้างภายในของ SCR
forward voltage triggering
gate triggering
dv/dt triggering
temperature triggering
light triggering
forward voltage triggering เกิดขึ้นเมื่อแรงดันไฟฟ้าระหว่างแอโหนดกับแคโทดเพิ่มขึ้นตอนประตูปิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า avalanche breakdown จะเกิดที่รอยต่อ J2 ถ้าแรงดันไฟฟ้ามีมากพอ SCR จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะ "เปิด" ปล่อยกระแสเป็นจำนวนมากไหลผ่าน ในกรณีนี้ J1 และ J3 ถูก forward bias ไปเรียบร้อยแล้ว

การประยุกต์ใช้ SCR[แก้]
SCR ส่วนใหญ่จะใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการการควบคุมของพลังงานที่สูงและอาจมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากด้วย เช่นในงานที่เกี่ยวกับการควบคุมไฟฟ้าสลับแรงสูง เช่นการหรี่ไฟถนน, การควบคุมให้กระแสมีเสถียรภาพและการควบคุมมอเตอร์

SCR และอุปกรณ์ที่คล้ายกันนี้ใช้สำหรับการเรียงกระแสเพื่อเปลี่ยนไฟฟ้าสลับแรงสูงให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงแรงสูงเพื่อการส่งไฟฟ้าระยะไกล หรือระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (อังกฤษ: capacitor หรือ อังกฤษ: condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

เนื้อหา  [ซ่อน]
1 ลักษณะทางกายภาพ
2 การทำงานของตัวเก็บประจุ
2.1 การเก็บประจุ
2.2 การคายประจุ
3 ชนิดของตัวเก็บประจุ
3.1 ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor
3.2 ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ Variable capacitor
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น
ลักษณะทางกายภาพ[แก้]
ตัวเก็บประจุนั้นประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า (หรือเพลต) 2 ขั้ว แต่ละขั้วจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้ามกัน ทั้งสองขั้วมีสภาพความจุ และมีฉนวนหรือไดอิเล็กตริกเป็นตัวแยกคั่นกลาง ประจุนั้นถูกเก็บไว้ที่ผิวหน้าของเพลต โดยมีไดอิเล็กตริกกั้นเอาไว้ เนื่องจากแต่ละเพลตจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้าม แต่มีปริมาณเท่ากัน ดังนั้นประจุสุทธิในตัวเก็บประจุ จึงมีค่าเท่ากับ ศูนย์ เสมอ

การทำงานของตัวเก็บประจุ[แก้]
การเก็บประจุ[แก้]
การเก็บประจุ คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ - ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น

การคายประจุ[แก้]
ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกว่า "การคายประจุ"

ชนิดของตัวเก็บประจุ[แก้]
ชนิดของตัวเก็บประจุแบ่งตามวัสดุการใช้งานแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor[แก้]
Capacitor ชนิดนี้จะมีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมดังนั้น การนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงการต่อขั้วให้กับ Capacitor ด้วย จะสังเกตขั้วง่าย ๆ ขั้วไหนที่เป็นขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้วนั้น และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบบอกเอาไว้

ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ (Paper capacitor) ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง
ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป

ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100 โวลต์ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)
ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้ว อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ

ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน (Oil capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)
ตัวเก็บประจุ แทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บรักษาดีมาก ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิป ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มไม่เหมาะกับ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน

ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Milar capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน (Poiypropyrene)
ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ Variable capacitor[แก้]
เป็น Capacitor ชนิดที่ไม่มีค่าคงที่ ซึ่งจะมีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างขึ้นเป็น Capacitor โดยทั่วไปจะมีค่าความจุไม่มากนัก โดยประมาณไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (m F) Capacitor ชนิดนี้เปลี่ยนค่าความจุได้ จึงพบเห็นอยู่ ในเครื่องรับวิทยุต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกหาสถานีวิทยุโดยมีแกนหมุน Trimmer หรือ Padder เป็น Capacitor ชนิดปรับค่าได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับ Variable Capacitor แต่จะมีขนาดเล็กกว่า การใช้ Capacitor แบบนี้ถ้าต่อในวงจรแบบอนุกรมกับวงจรเรียกว่า Padder Capacitor ถ้านำมาต่อขนานกับวงจร เรียกว่า Trimmer

ทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์ (อังกฤษ: transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (อังกฤษ: modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ

ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม

ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่. หลังจากถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950, transistor ได้ปฏิวัติสาขาอิเล็กทรอนิกส์และปูทางสำหรับวิทยุ, เครื่องคิดเลข และคอมพิวเตอร์ ให้มีขนาดเล็กลงและราคาที่ถูกกว่า



เนื้อหา  [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ความสำคัญ
3 การทำงานอย่างง่าย
3.1 ทรานซิสเตอร์เป็นสวิตช์
3.2 ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขยายสัญญาณ
4 เปรียบเทียบกับหลอดสูญญากาศ
4.1 ข้อดี
4.2 ข้อจำกัด
5 ประเภท
5.1 Bipolar Junction Transistor (BJT)
5.2 ทรานซิสเตอร์แบบ field-effect (FET)
6 การใช้งานของทรานซิสเตอร์สองขั้วและfield-effect
7 ทรานซิสเตอร์ชนิดอื่นๆ
8 ดูเพิ่ม
9 อ้างอิง
ประวัติ[แก้]

แบบจำลองของทรานซิสเตอร์ที่ทำงานเป็นครั้งแรก.
หลอดสูญญากาศแบบ triode thermionic ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ขับเคลื่อนยุคของอิเล็กทรอนิกส์ไปข้างหน้าด้วยการเปิดใช้งานเทคโนโลยีวิทยุและขยายระบบโทรศัพท์ทางไกล. อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวเปราะบางและบริโภคพลังงานมาก นักฟิสิกส์ชื่อ Julius Edgar Lilienfeld ได้ยื่นสิทธิบัตรสำหรับทรานซิสเตอร์แบบ Field Effected หรือ FET ในประเทศแคนาดาใน ปี ค.ศ. 1925 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนหลอดสูญญากาศให้เป็นวัสดุ solid state.[1][2] Lilienfeld ยังได้ยื่นสิทธิบัตรที่เหมือนกันในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1926 และ 1928. แต่ Lilienfeld ไม่ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ของเขา และในสิทธิบัตรของเขาก็ไม่ได้ยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงใดๆของต้นแบบการทำงาน. เป็นเพราะการผลิตวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีคุณภาพสูงยังคงเป็นทศวรรษข้างหน้า, ความคิดเรื่องเครื่องขยายเสียงที่ใช้ solid state ของ Lilienfeld ก็จะไม่ได้มีการใช้งานจริงในช่วงทศวรรษที่ 1920 และ 1930 ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นจริง. ในปี ค.ศ. 1934 นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน Oskar Heil ได้จดสิทธิบัตรอุปกรณ์ที่คล้ายกันนี้


John Bardeen, William Shockley และ Walter Brattain ที่ Bell Labs, ค.ศ. 1948.
จาก 17 พฤศจิกายน 1947 ถึง 23 ธันวาคม 1947 จอห์น Bardeen และวอลเตอร์ Brattain ที่ เบลล์แล็บของ AT & T ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองและสังเกตเห็นว่า เมื่อจุดสัมผ้สทองสองจุดถูกนำไปเชื่อมต่อกับผลึกของเจอร์เมเนียม สัญญาณที่ถูกผลิตออกมามีมากกว่าสัญญาณที่ป้อนเข้าไป. วิลเลียม Shockley หัวหน้ากลุ่มฟิสิกส์ solid state เห็นศักยภาพในเรื่องนี้และตลอดเวลาหลายเดือนต่อมาได้ทำงานเพื่อช่วยขยายความรู้ของเซมิคอนดักเตอร์. คำว่าทรานซิสเตอร์ตามคำประกาศเกียรติคุณโดย จอห์น อาร์ เพียร์ซ เป็นคำย่อของคำว่า "transfer resistor"[3][4]. อ้างอิงจาก ลิเลียน Hoddeson และ วิคกี้ Daitch ผู้เขียนชีวประวัติของจอห์น Bardeen, Shockley ได้เสนอว่า สิทธิบัตรแรกของเบลล์แล็บสำหรับทรานซิสเตอร์ควรอยู่บนพื้นฐานของ field-effected และบอกว่าเขาควรจะถูกตั้งชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ทนายความที่ Bell Labs แนะนำที่ค้านกับข้อเสนอของ Shockley เพราะความคิดของทรานซิสเตอร์ที่ใช้ field effect เป็น "grid"ไม่ใช่ของใหม่ แต่สิ่งที่ Bardeen , Brattain และ Shockley คิดค้นในปี 1947 เป็นทรานซิสเตอร์แบบ point-contacted เป็นครั้งแรก. ในการรับรู้ของความสำเร็จนี้ Shockley , Bardeen และ Brattain จึงได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ประจำปี 1956 ร่วมกัน "สำหรับงานวิจัยของพวกเขาเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์ และการค้นพบของผลกระทบทรานซิสเตอร์ ของพวกเขา"[5]


ทรานซิสเตอร์แบบ surface barrier ของ Philco ถูกพัฒนาและผลิตในปี 1953
ทรานซิสเตอร์ความถี่สูงตัวแรกคือทรานซิสเตอร์แบบเจอร์เมเนียม surface-barrier พัฒนาโดย Philco ในปี 1953 มีความสามารถในการทำงานได้ถึง 60 MHz[6]. ถูกสร้างขึ้นมาโดยการยุบตัวด้วยการสลักที่ฐานของ N-type เจอร์เมเนียมทั้งสองด้านด้วยการฉีดแรงๆด้วยอินเดียม (III) ซัลเฟตให้มีความหนาไม่กี่ 10 ส่วน 1000 ของนิ้ว อินเดียมที่ถูกเคลือบด้วยไฟฟ้าจนเป็นรอยยุบตัวกลายเป็น collector และ emitter[7][8]. วิทยุติดรถยนต์เครื่องแรกที่เป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมดซึ่งถูกผลิตในปี ค.ศ. 1955 โดยไครสเลอร์และ Philco ใช้ทรานซิสเตอร์เหล่านี้ในวงจรวิทยุเครื่องนั้น และทรานซิสเตอร์เหล่านี้เป็นพวกแรกที่เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง.

ทรานซิสเตอร์ซิลิคอนที่ใช้งานได้เป็นตัวแรกได้รับการพัฒนาที่ Bell Labs เมื่อ 26 มกราคม 1954 โดย มอร์ริส Tanenbaum[9]. ทรานซิสเตอร์ซิลิคอนเชิงพาณิชย์ตัวแรกถูกผลิตโดย Texas Instruments ในปี 1954[10] ซึ่งเป็นผลงานของ กอร์ดอน Teal ผู้เชี่ยวชาญในการปลูกผลึกความบริสุทธิ์สูง ที่เคยทำงานที่ Bell Labs. ทรานซิสเตอร์ MOS ที่สร้างขึ้นจริงตัวแรกถุกสร้างโดย Kahng และ Atalla ที่ Bell Labs ในปี 1960[11].

ความสำคัญ[แก้]

ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตันถูกเปิดออกให้เห็นชิปของทรานซิสเตอร์จริง (สี่เหลี่ยมเล็ก)ที่อยู่ภายใน ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตันมีทรานซิสเตอร์สองตัวบนชิปเดียวกัน ทรานซิสเตอร์ตัวหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอีกตัวหนึ่ง แต่ทั้งสองตัวมีขนาดใหญ่กว่าทรานซิสเตอร์ในการรวมวงจรขนาดใหญ่มาก เพราะ ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตันถูกสร้างมาเป็นเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์โดยเฉพาะ
ทรานซิสเตอร์เป็นส่วนประกอบแบบแอคทีฟที่สำคัญในการใช้งานจริงของงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย หลายคนคิดว่ามันจะเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 20. ความสำคัญในสังคมปัจจุบันอยู่บนความสามารถที่จะถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมากๆโดยใช้กระบวนการอัตโนมัติอย่างสูง (ในการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์) ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ทรานซิสเตอร์ที่ต่ำอย่างน่าอัศจรรย์. การประดิษฐ์ของทรานซิสเตอร์ตัวแรกที่เบลล์แล็บ ถือว่า เป็น IEEE Milestone ในปี 2009.

แม้ว่าหลายๆบริษัทจะผลิตทรานซิสเตอร์ตัวเดี่ยวๆกว่าพันล้านตัวทุกปี ส่วนใหญ่ของ ทรานซิสเตอร์ในปัจจุบันถูกผลิตในรูปแผงวงจรรวม (มักจะเรียกสั้นๆว่า IC, ไมโครชิป หรือแค่ ชิป) พร้อมกับไดโอด ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เพื่อผลิตเป็น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ. ลอจิกเกตตัวหนึ่งอาจประกอบด้วยทรานซิสเตอร์มากถึง ประมาณยี่สิบตัว ในขณะที่ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ทันสมัยในปี 2009 อาจใช้ ทรานซิสเตอร์(MOSFETs) มากถึง 3 พันล้านตัว.

ทรานซิสเตอร์ที่มีต้นทุนต่ำ, มีความยืดหยุ่น และมีความน่าเชื่อถือ ได้ทำให้มันเป็นอุปกรณ์ที่ แพร่หลาย วงจรเครื่องกลทรอนิกส์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์เครื่องกลไฟฟ้า ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและเครื่องจักรกล มันง่ายกว่าและถูกกว่าในการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์มาตรฐาน และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการควบคุมฟังก์ชัน มากกว่าการที่จะออกแบบฟังก์ชันการควบคุมด้วยกลไกในฟังชั่นที่เทียบเท่ากัน

การทำงานอย่างง่าย[แก้]

ไดอะแกรมของวงจรอย่างง่ายที่แสดงทรานซิสเตอร์สองขั้ว(ขั้ว n และขั้ว p) แบบ n-p-n.
ประโยชน์ที่สำคัญของทรานซิสเตอร์มาจากความสามารถในการใช้สัญญาณขนาดเล็กที่ป้อนให้ ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่ง เพื่อควบคุมสัญญาณที่มีขนาดใหญ่กว่ามากที่อีกคู่หนึ่งของขั้วไฟฟ้า คุณสมบัติแบบนี้เรียกว่า gain (สามารถคำนวณได้จากนำสัญญาณเอาต์พุต หารด้วยอินพุท ถ้าได้ผลลัพธ์มากกว่า 1 แสดงว่าวงจรนั้นเป็นวงจรขยาย) ทรานซิสเตอร์สามารถควบคุมสัญญาณเอาต์พุตให้เป็นสัดส่วนกับสัญญาณอินพุท นั่นคือมันสามารถทำหน้าที่เป็น amplifier หรืออีกแบบหนึ่ง ทรานซิสเตอร์สามารถใช้ในการเปิดหรือปิดกระแสในวงจร(สวิตช์)ควบคุมระบบไฟฟ้าที่ปริมาณ ของกระแสไฟฟ้าจะถูกกำหนดโดยองค์ประกอบวงจรอื่น ๆ

ทรานซิสเตอร์มีสองประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในวิธีการที่ พวกมันจะถูกใช้ในวงจร แบบแรกเป็น ทรานซิสเตอร์สอง pole ที่มีขา Base, Collector และ Emitter กระแสขนาดเล็ก ที่ ขา base (ที่ไหลระหว่าง base กับ emitter) สามารถควบคุม หรือ สวิตช์ กระแสที่มีขนาดใหญ่มากที่ไหลระหว่าง collector กับ emitter. สำหรับทรานซิสเตอร์ field-effect ขาจะมีป้ายกำกับเป็น Gate, Source และ Drain แรงดันไฟฟ้าที่ gate สามารถควบคุมกระแส ระหว่าง source และ drain

ภาพทางขวาแทนทรานซิสเตอร์สอง pole โดยทั่วไปในวงจร. ประจุไฟฟ้าจะไหลระหว่าง emitter กับ collector ขึ้นอยู่กับ กระแสใน base. เนื่องจากการเชื่อมต่อระหว่าง base และ emitter ภายใน ทำตัวเหมือนไดโอด, แรงดันไฟฟ้าจะตกคร่อมระหว่าง base และ emitter เมื่อมีกระแส base ไหลผ่าน ปริมาณของแรงดันนี้จะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำทรานซิสเตอร์นั้น และจะมีค่าที่เรียกว่า Vbe

ทรานซิสเตอร์เป็นสวิตช์[แก้]

BJT ใช้เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ emitter ลงกราวนด์.
ทรานซิสเตอร์ถูกใช้กันทั่วไปให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์, ทั้งสำหรับการใช้งาน พลังงานสูง เช่น switched-mode power supplies และ สำหรับการใช้งานพลังงานต่ำ เช่น ลอจิกเกต

ในวงจรทรานซิสเตอร์แบบ emitter ลงกราวด์ ตามรูป เป็นวงจรสวิตช์ไฟแสงสว่างที่ในสถานะปกติจะ OFF หลอดไฟก็จะปิด เมื่อแรงดันไฟฟ้าที่ base สูงขึ้น, กระแส emitter และ collector (Ice) เพิ่มขึ้นแบบ exponential จนอิ่มตัว (อังกฤษ: saturate) แรงดันที่ collector จะลดลงเข้าใกล้ emitter (หรือใกล้ศูนย์) กระแส Ice จะไหลผ่านโหลดเต็มที่ ซึ่งในวงจรนี้คือหลอดไฟ ทำให้หลอดไฟ"เปิด" เราจึงเรียกสถานะของสวิตช์ในขณะนี้ว่า ON

การให้กระแสที่ base (Ibe) อย่างเพียงพอเป็นปัญหาที่สำคัญในการใช้ทรานซิสเตอร์ให้ทำงานเป็นสวิตช์. ทรานซิสเตอร์ให้ gain เป็นกระแส จึงได้กระแสค่อนข้างมากที่ collector ที่จะถูกสลับ โดยกระแสที่มีขนาดเล็กใน base อัตราส่วนของกระแสเหล่านี้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิด ของทรานซิสเตอร์และแม้กระทั่งทรานซิสเตอร์ประเภทเดียวกันก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกระแสใน collector ในตัวอย่างวงจรสวิทช์ไฟฟ้าแสงสว่างที่แสดง จะมีตัวต้านทานที่ต้องเลือก(สมมติว่าเป็น 1K)ให้มีขนาดที่ให้กระแสที่ base มีเพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าทรานซิสเตอร์จะทำงานอิ่มตัว

ในวงจรสวิตช์ใดๆ ค่าของแรงดันไฟฟ้า อินพุต จะถูกจ่ายให้มีขนาดที่จะทำให้ได้ เอาต์พุต เป็น OFF หรือ ON โดยสมบูรณ์ ทรานซิสเตอร์จึงจะทำหน้าที่เป็นสวิตช์ที่ดีและการทำงานแบบนี้ เป็นเรื่องธรรมดาใน วงจรดิจิตอลที่ต้องการเพียง "OFF" และ "ON" เท่านั้น

ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขยายสัญญาณ[แก้]

วงจรขยายแบบ common-emitter ที่ใช้วงจรไบอัส แบบตัวแบ่งแรงดัน R1/R2
เครื่องขยายแบบอีมิตเตอร์ร่วม (อังกฤษ: common-emitter) ได้รับการออกแบบเพื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ใน แรงดันไฟฟ้า (Vin) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆในกระแส base ของ ทรานซิสเตอร์; การขยายกระแสของทรานซิสเตอร์รวมกับคุณสมบัติของวงจรทำให้การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กของ Vin ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของ Vout

วงจรขยายด้วยทรานซิสเตอร์ตัวเดียวมีรูปแบบหลายอย่าง มีทั้งแบบขยายกระแส หรือแบบขยาย แรงดันไฟฟ้า หรือทั้งสองแบบ

ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปยังโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์จำนวนมากรวมทั้งเครื่องขยายเสียง เครื่องส่งวิทยุและเครื่องประมวลสัญญาณ เครื่องขยายสัญญาณเสียงด้วยทรานซิสเตอร์เครื่องแรกให้กำลังไม่กี่ร้อยมิลลิวัตต์ แต่กำลังและความชัดเจนของเสียงค่อยๆเพิ่มขึ้น เมื่อทรานซิสเตอร์ที่ดีกว่าถูกผลิตขึ้น และสถาปัตยกรรมเครื่องขยายได้รับการพัฒนาขึ้น

เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ที่ทันสมัยที่มีกำลังเป็นร้อยวัตต์ขึ้นไป เป็นเรื่องธรรมดาและราคาก็ไม่แพงนัก อิอิ

เปรียบเทียบกับหลอดสูญญากาศ[แก้]
ก่อนที่จะมีการพัฒนาของทรานซิสเตอร์ หลอดสูญญากาศ (หลอดอิเล็กตรอน, ในสหราชอาณาจักร เรียกว่า "thermionic วาล์ว" หรือแค่ "วาล์ว") เป็นส่วนประกอบหลักในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดี[แก้]
ข้อได้เปรียบสำคัญที่ทำให้ทรานซิสเตอร์ได้รับการยอมรับให้มาแทนที่หลอดสุญญากาศรุ่นก่อน ในการใช้งานส่วนใหญ่คือ

ไม่มีการบริโภคพลังงานโดยตัวทำความร้อนให้แคโทด
มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว
แรงดันไฟฟ้าในการทำงานต่ำ ด้วยแบตเตอรี่เพียงไม่กี่เซลล์
ไม่มีช่วงเวลา warm-up สำหรับตัวทำความร้อนให้แคโทดหลังจากเปิดสวิตช์ใช้งาน
พลังงานความร้อนต่ำ และ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยทั่วไปสูงขึ้น
ความน่าเชื่อถือสูงขึ้นและความทนทานทางกายภาพมากขึ้น
อายุการใช้งานยาวนานมาก บางอุปกรณ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ถูกใช้งานได้นานกว่า 50 ปี
อุปกรณ์เสริมมีมากมาย ที่จะอำนวยความสะดวกในการออกแบบวงจรที่สมบูรณ์ ขณะที่บางสิ่งบางอย่างหลอดสูญญากาศทำไม่ได้
ไม่ไวต่อการกระแทกและการสั่นสะเทือน จึงหลีกเลี่ยงปัญหาของการเสียงแตกของลำโพง ในการใช้งานเสียง
หลอดสูญญากาศสร้างการบิดเบือนเสียง ที่เรียกว่า เสียงหลอด (แต่บางคนพบว่าหูสามารถอดทนได้) แต่ทรานซิสเตอร์ไม่ทำ (อาจเพราะเป็น solid-state)
ข้อจำกัด[แก้]
ทรานซิสเตอร์แบบซิลิคอนสามารถชราภาพและล้มเหลว (ทำงานพลาดจากการใช้งานมานาน) ได้
การดำเนินงานที่ใช้กำลังสูง, หรือที่ความถี่สูง เช่น ใช้ในการออกอากาศโทรทัศน์แบบ over-the-air จะเป็นผลสำเร็จมากขึ้นถ้าใช้หลอดสุญญากาศ เนื่องจากอิเล็กตรอนในสูญญากาศเคลื่อนไหวได้ดีกว่าในสารกึ่งตัวนำ
อุปกรณ์ solid-state (ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนใหวได้) มีความเสี่ยงจากไฟฟ้าสถิตในการจัดการและการดำเนินงาน
หลอดสูญญากาศที่ overload (ทำงานเกิน) ช่วงสั้นๆ ก็จะรัอนขึ้นเพียงเล็กน้อย; แต่อุปกรณ์ solid state มีมวลดูดซับความร้อนที่เกิดจากการ overload ที่น้อย ในสัดส่วนที่เทียบกับ rating (อัตรา, ในที่นี้:อัตราการให้ความร้อน) ของมัน
ไวต่อการแผ่รังสี และ รังสีคอสมิก (มีชิปพิเศษที่ต้านการแผ่รังสีถูกนำมาใช้สำหรับอุปกรณ์ยานอวกาศ)
ประเภท[แก้]
ทรานซิสเตอร์ถูกแยกประเภทโดย

วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ (วันที่ใช้ครั้งแรก) :โลหะเจอร์เมเนียม (1947) และ ซิลิกอน (1954 ) - ใน polycrystalline, amorphous และรูปแบบการ monocrystalline ;สารประกอบแกลเลียม arsenide (1966) และ ซิลิกอนคาร์ไบด์ (1997), โลหะผสมซิลิคอนเจอร์เมเนียม (1989), อัญรูปของแกรฟีนคาร์บอน (การวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2004 ) ฯลฯ
โครงสร้าง BJT, JFET, IGFET (MOSFET), IGBT, "ประเภทอื่น ๆ"
ขั้วไฟฟ้า (บวกและลบ) : n-p-n, p-n-p (BJTs); n-channel, p-channel (FETs)
ระดับพลังงานสูงสุด: ต่ำ กลาง สูง
คลื่นความถี่สูงสุด: ต่ำ กลาง สูง, ความถี่วิทยุ (RF), ไมโครเวฟ (ความถี่มีประสิทธิภาพสูงสุดของทรานซิสเตอร์ถูกแทนด้วย fT ซึ่งเป็นต้วย่อสำหรับ transition frequency ที่หมายถึง ความถี่ที่ทรานซิสเตอร์ให้ gain = 1)
การใช้งาน: สวิตช์, general purpose, เสียง, ไฟฟ้าแรงสูง, super-เบต้า, matched pair
บรรจุภัณฑ์ทางกายภาพ : through-hole metal, through-hole plastic, surface mount, ball grid array, power modules
ปัจจัยการขยาย Hfe , βf (เบต้าทรานซิสเตอร์) หรือ gm (transconductance ตามสูตร)

ดังนั้นทรานซิสเตอร์บางตัวอาจถูกสร้างให้ทำหน้าที่สวิตช์ที่เป็น ซิลิคอน, surface-mount, BJT, n-p-n, พลังงานต่ำ, ความถี่สูง

Bipolar Junction Transistor (BJT)[แก้]

BJT PNP

BJT NPN
ทรานซิสเตอร์ที่ถูกตั้งชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่ามันเปิดให้กระแสไหลผ่านโดยใช้ 2 pole คือ p-type และ n-type. bipolar junction transistor เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดแรกที่ถูกผลิตแบบ mass production และผลิตขึ้นโดยการรวม junction ไดโอดสองตัว โดยอาจเป็นชั้นบางๆของสารกึ่งตัวนำชนิด p สองชั้น คั่นกลางด้วย เซมิคอนดักเตอร์ชนิด n (ทรานซิสเตอร์ p-n-p) หรือชั้นบางๆของสารกึ่งตัวนำชนิด n สองชั้น คั่นกลางด้วย เซมิคอนดักเตอร์ชนิด p (ทรานซิสเตอร์ n-p-n) การสร้างแบบนี้ทำให้เกิดสอง p-n junction ได้แก่ junction Base-Emitter และ junction Base-Collector แยกจากกันด้วยพื้นที่บางๆของสารกึ่งตัวนำ ที่รู้จักกันว่าเป็นพื้นที่ Base (junctionไดโอดสองตัวต่อสายถึงกันโดยไม่ใช้พื้นที่แทรกแซงกึ่งตัวนำร่วมกันก็จะไม่ทำให้เป็นทรานซิสเตอร์ได้)

BJTs มีสามขาซึ่งตรงกับสามชั้นของสารกึ่งตัวนำ คือ emitter, base และ collector ซึ่งมีประโยชน์ในการขยายสัญญาณ เพราะกระแสระหว่าง base และ emitter สามารถควบคุมกระแสระหว่าง collector และ emiiter ที่ใหญ่กว่าได้. ทรานซิสเตอร์ n-p-n ใน active region junction emitter-base ถูก forward biased (อิเล็กตรอนและ hole มารวมตัวกันใหม่ที่ junction) และ อิเล็กตรอนจะถูกฉีดเข้าไปใน base region เนื่องจาก base แคบ อิเล็กตรอนส่วนใหญ่จะกระจายออกจนทำให้ junction base-collector กลายเป็น reverse-biased (อิเล็กตรอนและ hole จะถูกรวมตัวกันที่ junction และ ย้ายออกจาก junction นั้น) และอิเล็กตรอนเหล่านั้นจะถูกกวาดเข้าไปใน collector; บางทีหนึ่งในร้อยของอิเล็กตรอนจะรวมตัวกันใหม่ใน base ซึ่งเป็นกลไกที่โดดเด่นในกระแส base. โดยการควบคุมจำนวนของอิเล็กตรอน ที่สามารถออกจาก base จำนวนอิเล็กตรอนที่เข้าไปที่ collector สามารถถูกควบคุมได้. กระแส collector มีค่าประมาณ β (common-emitter current gain) เท่าของกระแส base. ปรกติมีค่า มากกว่า 100 สำหรับทรานซิสเตอร์สัญญาณขนาดเล็ก แต่จะค่าน้อยกว่าในทรานซิสเตอร์ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานพลังงานสูง

ซึ่งแตกต่างจากทรานซิสเตอร์ field-effect (ดูด้านล่าง), BJTเป็นอุปกรณ์ที่มีค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ. เมื่อแรงดัน base-emitter (Vbe) เพิ่มขึ้น, กระแส base-emitter ก็เพิ่มขึ้นด้วย และด้วยเหตุนี้ กระแส collector-emitter (Ice ก็เพิ่มขึ้นแบบ exponential เป็นไปตามแบบไดโอดของ Shockley และรูปแบบของ Ebers-Moll. เพราะความสัมพันธ์แบบ exponential นี้ BJT จึงมี transconductance สูงกว่า FET

Bipolar transistor สามารถถูกทำให้มีกระแสไหลได้โดยการเปิดหน้ากับแสง เพราะการดูดซึมของโฟตอนใน base region ทำให้เกิด photocurrent ที่ทำหน้าที่เป็นกระแส base; กระแส collector จะมีขนาด β เท่าของ photocurrent. อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้ มีช่องหน้าต่างที่โปร่งใสในแพคเกจและจะเรียกว่า phototransistors

ทรานซิสเตอร์แบบ field-effect (FET)[แก้]

JFET P-channel

JFET N-channel

IGFET P-Ch Enhance Mode

IGFET P-Ch Enhance Mode simplified

IGFET P-Ch Depletion Mode

IGFET N-Ch Enhance Mode

IGFET N-Ch Enhance Mode simplified

IGFET N-Ch Depletion Mode
ทรานซิสเตอร์ field-effect บางครั้งเรียกว่าทรานซิสเตอร์ unipolar ใช้อิเล็กตรอน (ใน n-channel FET ) หรือ hole (ใน p-channel FET) สำหรับการนำกระแส FET มี 4 ขั้ว ได้แก่ source, gate, drain, และ body (สารตั้งต้น) ใน FETs ส่วนใหญ่ body จะเชื่อมต่อกับ source ภายในแพคเกจ ส่วนนี้จะได้รับการสันนิษฐานดังต่อไปนี้

ใน FET, กระแส drain-to-source ไหลผ่านทาง channel ที่กำลังปล่อยกระแสและเป็น channel ที่เชื่อมต่อ source region กับ drain region การนำกระแสจะแปรตามสนามไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อแรงดันไฟฟ้าถูกจ่ายให้ระหว่างขา gate และ source; ด้วยเหตุนี้กระแสไฟฟ้าที่ไหลระหว่าง drain และ source จะถูกควบคุมโดยแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ระหว่าง gate และ source

เมื่อแรงดันไฟฟ้า gate-source (Vgs)เพิ่มขึ้น กระแส drain–source (Ids) จะเพิ่มขึ้นแบบ exponential สำหรับ Vgs ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และแล้วในอัตรากำลังสองประมาณ () ^ 2) (เมื่อ VT เป็นเกณฑ์แรงดันที่กระแส drain เริ่มไหล) ใน "space-charge-limited" region ที่สูงกว่าเกณฑ์. พฤติกรรมสมการกำลังสองไม่ถูกสังเกตในอุปกรณ์ที่ทันสมัย ​​ตัวอย่างเช่น ที่โหนดเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร .


สำหรับเสียงรบกวนต่ำ ที่แบนด์วิดท์แคบ input resistance ที่สูงขึ้นของ FET จะได้เปรียบ

FETs ถูกแบ่งออกเป็น สองตระกูล คือ junction FET (JFET) และ insulated gate FET (IGFET). IGFETเป็นที่รู้จักกันมากกว่า ว่าเป็น metal–oxide–semiconductor FET (MOSFET) สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างเดิม จากชั้นของโลหะ (gate), ออกไซด์ (insulation) และ เซมิคอนดักเตอร์. ไม่เหมือน IGFETs, gate ของ JFET ทำตัวเป็น ไดโอด p-n ที่มี channel ระหว่าง source กับ drain โดยหน้าที่แล้ว สิ่งนี้ทำให้ n-channel JFET เป็น solid-state ที่เทียบเท่าหลอดสุญญากาศ triode ซึ่งในทำนองเดียวกัน ฟอร์มตัวเป็นไดโอดระหว่าง กริดและคาโทด อุปกรณ์ทั้งสองยังทำงานในโหมดการสูญเสีย และทั้งสองมี input impedance ที่สูง และทั้งสองยังปล่อยกระแสภายใต้การควบคุมของ input voltage เหมือนกันอีกด้วย

Metal–semiconductor FETs (MESFETs) เป็น JFETs ที่ reverse biased p-n junction ถูกแทนที่ด้วย metal–semiconductor junction FET เหล่านี้และ HEMTs(high-electron-mobility transistors หรือ HFETs), ที่ซึ่งก๊าซอิเล็กตรอนสองมิติที่มีความคล่องตัวสูงมาก ของพาหะที่ใช้สำหรับการขนส่งประจุไฟฟ้า, จะเหมาะโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งาน ที่มีความถี่สูงมาก (ความถี่ไมโครเวฟ; หลาย GHz)

ซึ่งแตกต่างจากทรานซิสเตอร์ bipolar, โดยเนื้อแท้ FETs จะไม่ขยาย photocurrent อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่จะใช้ FETs โดยเฉพาะอย่างยิ่ง JFET เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่อแสง โดยการใช้ประโยชน์ photocurrents ใน channel–gate หรือ channel–body junctions

FETs จะถูกแบ่งต่อไปออกเป็นโหมดสูญเสียและโหมดเพิ่มประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับว่า channel จะ เปิดหรือปิด เมื่อแรงดันไฟฟ้า gate-to-source เป็นศูนย์. สำหรับโหมดเพิ่มประสิทธิภาพ, channel จะปิดที่ bias เป็นศูนย์, และศักยภาพที่ gate สามารถ " เพิ่ม "การนำกระแส. สำหรับโหมดสูญเสีย channel จะเปิดที่ bias เป็นศูนย์ และศักยภาพที่ gate(ที่มีขั้วตรงข้าม) สามารถ "สูญเสีย" channel ซึ่งลดการนำกระแส สำหรับโหมดใดโหมดหนึ่ง แรงดัน gate ที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นจะสอดคล้องกับกระแสที่สูงขึ้นสำหรับอุปกรณ์ n-channel แต่กระแสจะต่ำลงสำหรับ อุปกรณ์ p-channel. JFETs เกือบทั้งหมดเป็นโหมดสูญเสีย เพราะไดโอด junction จะ forward bias และนำกระแส ถ้าเป็นอุปกรณ์โหมดเพิ่ม; IGFETs ส่วนใหญ่เป็นโหมดเพิ่ม

การใช้งานของทรานซิสเตอร์สองขั้วและfield-effect[แก้]
ทรานซิสเตอร์สองขั้ว (BJT) เป็นทรานซิสเตอร์ที่ใช้มากที่สุด ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 แม้หลังจากที่ MOSFETs ใช้ได้อย่างกว้างขวาง BJT ก็ยังคงเป็นทรานซิสเตอร์ทางเลือกสำหรับวงจรแอนะล็อกหลายอย่างเช่น เครื่องขยายทั้งหลาย เนื่องจากความเป็นเส้นตรงมากกว่า และความสะดวกในการผลิต. ในแผงวงจรรวม คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของ MOSFETs ทำให้มันได้ส่วนแบ่งการตลาดเกือบทั้งหมดสำหรับวงจรดิจิตอล. MOSFETs เดี่ยวๆ สามารถนำมาใช้ในงาน ทรานซิสเตอร์ รวมทั้งวงจรแอนะล็อก, regulator แรงดันไฟฟ้า, เครื่องขยายทั้งหลาย, เครื่องส่งกำลังสูง และตัวขับมอเตอร์