วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วัดห้วยปลากั้ง

วัดห้วยปลากั้ง

 นิมิตฝันเห็นบนดอยลูกนี้เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สูงมาก แต่เห็นเป็นชั้นๆ คนเดินขึ้นได้มี 9 ชั้น สวยงามมาก เก็บความคิดนีไว้ในใจ จนกระทั่งมีวิศวกรจากกรุงเทพฯมานั่งดูดวง ดูเสร็จเขาถามว่าจะสร้างอะไร ก็บอกว่าจะสร้างเจดีย์เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วเป็นชั้นๆ 9 ชั้น แล้วมีเจดีย์เล็กๆ 12 ราศี ล้อมรอบบอกเท่านี้จริงๆ
         อีก 7 วันต่อมา มีคนถือรูปเจดีย์เป็นภาพสีแต่งโดย Computer อาตมาเห็นแล้วขนลุกทั้งตัว คือภาพในนิมิตอย่างไงอย่างนั้นเลย นอนฝันไปหลายเดือนอยากจะสร้างเจดีย์แบบนี้ให้คนกราบไหว้ ลูกศิษย์ชื่อ พ.ต.ท. สีหนาถ นิลสุข (สารวัตรโป้ง) มักแซวบ่อย ๆ ว่ากุ้มใจไม่มีเงินสร้างเจดีย์ แต่ก็จริง จนกระทั่ง คุณ เฉิน เซียน เป่า นักธุรกิจชาวใต้หวัน ขึ้นมาเที่ยวบนวัดและดูดวง เกิดคุยกันถูกคอ เขาถามจะสร้างอะไร เอารูปให้เขาดู เขาสนใจ นิมนต์อาตมาไปโรงแรมดุสิตที่พักของเขา แล้วก็บอกว่าเป็นบุพเพวาสนาที่ได้เจอกัน เคยทำบุญมาแต่ชาติปางก่อน แล้วจะสนับสนุน แล้วเขาก็สนับสนุนเงินก้อนแรก 1 ล้านบาท แล้วก็เริ่มตอกเสาเข็ม วันที่ 26 เมษายน 2550 โดยให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นใหญ่ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และมีท่านพลเอก ปิติ กัมพูพงค์ มาร่วมงาน ชาวบ้านและศิษย์มาหลายร้อยคน ที่ลืมไม่ได้ คือ ผบ.ธนสิทธิ์ พานิชวงษ์ เสาหลักในการนำสายบุญเข้าวัดโดยตรงจากนั้นก็มีคณะศรัทธาญาติโยมเข้าร่วมทำบุญสร้างพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นภาพปัจจุบัน และใช้เงินงบประมาณไปแล้วประมาณ 20 ล้านบาทเศษ ยังขาดปัจจัยอยู่มากในการสร้างมหาเจดีย์ ที่แปลกก็คือ อาตมาสังเกตว่าผู้มีบารมีหรือบุญเท่านั้นจึงมาร่วมสร้างเจดีย์นี้ คนรวยหลายคนเห็นแล้วเขาก็เฉย ๆ แต่หลายคนเห็นเจดีย์เกิดวิบัติ ทำบุญทำแล้วทำเล่า แล้วก็จะทำทุกชั้น เจดีย์ดวงนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก หลายคนคงสัมผัสได้ ปัจจุบันสร้างถึงชั้น 7 (ก.พ. 52) และก็สร้างเรื่อย ๆจนถึงทุกวันนี้


วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไร่แสนคำรัก

ไร่แสนคำรัก" โดยคุณวิมนต์ แสนคำรัก เกิดขึ้น ในพื้นที่ 52 ไร่ ที่บ้านสันต้นเปา ต.หงาว อ.เทิง จ.เชียงราย เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นไร่ข้าวโพด และให้ชาวบ้านเช่าทำการเกษตรมานานหลายปี แล้ววันหนึ่งคุณวิมนต์มองว่า ตนน่าจะปลูกพืชทำไร่เป็นของตนเอง จึงได้ร่วมกับ บริษัทเมล็ดพันธุ์พืช ปลูก "ดอกทานตะวัน" เพื่อผลิตน้ำมัน ทำให้บนพื้นที่เนินเขาเตี้ยๆติดถนนสายหลักแห่งนี้มีดอกทานตะวันบานละลานตา เป็นจุดดึงดูดความสนใจของคนที่ใช้เส้นทางนี้ผ่านไปยัง จ.พะเยาและ ภูชี้ฟ้า แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ อ.เทิง โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ผู้คนต่างแวะชมและถ่ายรูปกันจำนวนมาก

เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ.2556 คุณวิมนต์มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้มีความสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ใน อ.เทิง อ.ภูซาง และอ.เชียงคำ จ.พะเยา และเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจสำหรับคนเดินทาง จึงได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามมากขึ้น และได้ตั้งชื่อว่า "ไร่แสนคำรัก" ซึ่งเป็นนามสกุล ของคุณวิมนต์เอง
ไร่แสนคำรัก ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก คุณวิมนต์จึงได้พยายามตอบโจทย์ของนักท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่สนใจเที่ยวชมให้มากที่สุด ด้วยการพัฒนาให้ดอกทานตะวันสามารถบานสะพรั่งตลอดทั้งปี นักท่องเที่ยวจึงสามารถเที่ยวชมความงามของไร่แห่งนี้ได้ตลอดทุกฤดู นอกจากนี้ยังจัดให้เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของดีในชุมชน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ร้านกาแฟไร่แสนคำรัก และ จัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลสำคัญๆที่ไร่แสนคำรักแห่งนี้ เช่น เทศกาลดอกทานตะวันบาน ในช่วงเดือน ธันวาคม,เทศกาลวันแห่งความรัก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ,เทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายน จัดกิจกรรม คาวบอยไนท์ ,ปั่นจักรยานชมไร่ , ชมตะวันชิงพลบที่ไร่แสนคำรัก เป็นต้น ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าเที่ยวชมและแวะพักผ่อนได้ฟรี
นอกจากนี้อีกไม่นาน ไร่แสนคำรักแห่งนี้ จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่อง การปลูกผักปลอดสารพิษ ,สวนเสาวรส,ไร่ฟักทองยักษ์ ,ไม้ดอกเมืองหนาว, พันธุ์ไม้แปลกและหายาก สนับสนุนให้เกษตรกรที่สนใจเรียนรู้ให้มีรายได้จากการปลูกดอกทานตะวัน เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้อีกด้วย



สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 กับเศรษฐกิจของ จ.เชียงราย

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2555 หรือวันที่ 12 เดือน 12 ปี 2012 ที่ผ่านมา มีพิธีเทคอนกรีตชุดสุดท้ายในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมระหว่างอ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งใหม่ เพิ่มจากเดิมที่มีแล้ว 3 แห่ง และเปิดให้บริการทั้งหมดแล้ว คือสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร- สะหวันนะเขต) และสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คาม่วน)

สะพานแห่งนี้มีมูลค่าการก่อสร้าง 1,486.5 ล้านบาท ซึ่งเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2553 และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2556 โดยเป็นความร่วมมือกันของ 3 ประเทศ คือ รัฐบาลไทย จีน และ สปป.ลาว ตามแผนงานการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกในแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง R3E (R3A) ที่เชื่อมระหว่างเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ในจีนตอนใต้ผ่านบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว เข้าสู่ประเทศไทยที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งจะสามารถเดินทางหรือขนส่งต่อไปยังภาค อื่นๆของประเทศไทยตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา ดังนั้นสะพานแห่งนี้จึงมีบทบาทในการเชื่อมระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน และสนับสนุนการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งการเชื่อมระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับจีนตอนใต้

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 นี้ จะช่วยผลักดันให้ จ.เชียงราย เป็นเมืองสำคัญและมีบทบาททางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบนของไทยมากขึ้น เพราะ จ.เชียงราย เป็นเมืองชายแดนที่สามารถขนส่งสินค้าและเดินทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น ไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่เกิดจากการขนส่งในแม่น้ำโขง และช่วยแก้ปัญหาการขนส่งทางน้ำตามแม่น้ำโขง เนื่องจากในช่วงเดือนมี.ค.พ.ค.ของทุกปีปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงจะลดลงมาก รวมทั้งในอนาคตอาจจะมีเส้นทางรถไฟจากสถานีเด่นชัยไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงของ ทำให้การขนส่งสินค้าจากสะพานแห่งนี้ไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ตลอดจนการขนส่งไปประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้มีความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย จึงเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดสินค้าไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปจากทั้งสองประเทศดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยหรือส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆได้สะดวกและรวดเร็วเช่นกัน ทำให้ในอนาคตมูลค่าการค้าชายแดนที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2555 ที่มีมูลค่าประมาณ 4,800 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การค้าชายแดนที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะหากสามารถพัฒนาระบบการค้าและกฎระเบียบทางการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว การค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ตลอดจนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆจะขยายตัวในลักษณะก้าวกระโดด

นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวใน จ.เชียงราย ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนตอนใต้และ สปป.ลาว ซึ่งกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการเดินทางของนักท่องเที่ยวตามเส้นทาง R3E และข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย จะมีความสะดวกและรวดเร็ว ประกอบกับ จ.เชียงราย มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากมายและมีความหลากหลาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น รวมทั้งนักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวต่อยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และน่าน และในอนาคตจะทำให้ส่วนต่างระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน จ.เชียงราย กับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวใน จ.เชียงใหม่ ลดลงมากขึ้น

การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ ทำให้ จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ จ.เชียงราย ขยายตัวถึงร้อยละ 8.6 และ 17.8 ในปี 2553 และ 2554 ตามลำดับ เทียบกับที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 ในปี 2552 (ก่อนจะมีการก่อสร้างสะพาน) และคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวถึงร้อยละ 17-18 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการลงทุนทั้งในด้านการผลิต อสังหาริมทรัพย์ บริการ (โรงแรม รีสอร์ต และโรงพยาบาล) และ โลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าและการท่องเที่ยวในอนาคต ขณะที่การลงทุนของภาคเอกชนที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ อ.เชียงของ มีจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติ เช่น จีน เวียดนาม รวมทั้งไทย

สำหรับด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จ.เชียงราย ในอนาคตนั้น ผลจากการลงทุน ตลอดจนการค้าและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าว จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจของ จ.เชียงราย ให้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงเริ่มเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เห็นได้จากกรณีที่มีการก่อสร้างและเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 2 (เชื่อมระหว่างจ.มุกดาหาร กับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว) เมื่อปี2549 ซึ่งเศรษฐกิจของ จ.มุกดาหาร เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องแม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552


วัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธและวัดฮินดู ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของเขา[1] วัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมืองจังหวัดน่าน[2]
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2557




ไร่เชิญตะวัน

ไร่เชิญตะวัน เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรม ที่ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิระเมธี) ได้สร้างขึ้น จากแรงบัดดาลใจที่จะหาที่ปลีกวิเวกส่วนตัวสงบๆ กลายมาเป็นที่ส่วนร่วมเพื่อทุกคน  ไปแล้วในปัจจุบัน เพื่อให้คนกรุงที่มีเวลาน้อยได้มีที่ปฎิบัติธรรม ที่ช่วยเสริมเติมพลัง มาชาร์ตแบตเตอรี่แล้วกลับไปทำงานใหม่ ด้านใน มีปริศนาธรรม ออกแนวศิลปะเป็นตุงให้ถอดความกัน มาที่นี่แล้วความสงบ สวยงามเย็นสบายดีจริงๆ

ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิระเมธี) ได้เล่าความเป็นมาของไร่เชิญตะวันให้ฟังว่า ที่นี่เป็นไร่ลิ้นจี้มาแต่ดั้งเดิม ลูกศิษย์พระอาจารย์ได้ซื้อไว้ หลังจากที่พระอาจารย์จบเปรียญธรรม 9ประโยค ตั้งแต่ปี45 ทุกเดือนก็จะมาปลีกวิเวก ปักกลดอยู่ที่บนเขาฝั่งโน้นใกล้ไร่นี้ เมื่อปี2551 สมเด็จพระเทพฯเสด็จมาเปิดโรงเรียนที่ท่านว.วชิรเมธีสร้างไว้ที่บ้านเกิด ก็ถือว่าได้ทำอะไรให้บ้านเกิดเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็อยากทำอะไรที่เป็นการคืนกำไรให้กับตัวเองบ้าง ก็เลยเข้าป่าเลยเพราะรู้สึกว่าตั้งแต่เรียนจบ เราก็ทำงานๆจนกระทั่งเราได้ไปสร้่งโรงเรียนให้ที่บ้านเกิด(วัดครึ่งใต้) เปิดสอนตั้งแต่ ม.1จนถึงปริญญาตรี เด็กๆที่เชียงของจึงสามารถเรียนจบที่ตัวอำเภอ ก็คิดได้ว่าเราทำอะไรให้คนอื่นเยอะแต่ยังไม่ได้ทำอะไรให้ตัวเองเลย เลยอยากหาที่ปลีกวิเวกเงียบๆ ก็ไปอยู่ที่เขาข้างๆนี้แหละ อยู่ได้สักพักรายการวูดดี้ และสิทธิชัยหยุ่น มาถ่ายรายการ อยู่ไปอยู่ไปก็รู้สึกว่ามีคนเข้ามาหาง่ายไปหน่อย ลึกเข้ามาแค่7กิโลเมตร ก็เลยย้ายมาที่นี่ ลูกศิษย์ก็ถวายที่ให้ ก็เลยเป็นที่ ที่ใช้สำหรับชาตแบตเตอรี่ตัวเอง



วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ดอยผาตั้ง

ดอยผาตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านผาตั้ง หมู่ที่ 14 ต.ปอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย  สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,635 เมตร ห่างจาก ภูชี้ฟ้าประมาณ 30 ก.ม. เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่ง ของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ดอยผาตั้งเช่นเดียวกับที่ดอยแม่สลอง

ลักษณะเป็นสันเขาคดเคี้ยว มองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามจับตา ความสวยงามที่เป็น ลักษณะเฉพาะ ของดอยผาตั้งไม่ว่าจะเป็นจุดชมทะเลหมอกที่งดงามและอลังการในยามเช้า ชมพระอาทิตย์อัศดงยามเย็น มองเห็นดวงตะวันกลมโตสีส้ม ฉูดฉาดค่อยๆ ลับทิวเมฆกลืนลงไปตามแนวสันเขายิ่งงดงาม ประทับใจ ในช่วงทุกวันที่ 31 ธ.ค. – ต้นม.ค.ของทุกปี จะมีเทศกาล ชมทะเลหมอกดอกซากุระบาน
จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนดอยผาตั้ง
1. จุดชมวิวผาบ่องประตูสยาม
เป็นหน้าผาหอนขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นเนินช่องเขาเหมือนประจู เป็นช่องทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2.ศาลาเก๋งจีน- พระพุทธมังคลานุภาพลาภสุขสันติ -ป่าหินยูนนาน
ถัดจากช่องผาบ่องขึ้นไปอีกราว 15 เมตร จะเป็นเนินที่ประดิษฐานพระพุทธมังคลานุภาพลาภสุข สันติและ ศาลา ทรงเก๋งจีน อนุสรณ์สถาน ของนายพลหลี่ ผู้นำ ทจช. ในอดีตจากเนินตรงนี้เดินลงไปอีก 30 เมตร ก็จะพบทางขึ้นไปชมป่าหินยูนนาน ซึ่งเป็นหินรูปทรงลักษณะ คล้ายภูเขาในประเทศจีนที่มีรูปทรงสูงๆ หลายแหลมขึ้นสลับ ซับซ้อนสวยงามมาก
3.จุดชมวิวช่องผาขาด
เป็นขุดชมวิวที่อยู่ใกล่วิวผาบ่องประตูสยาม ลักษณะเป็นผาหิน ที่ขาดแยกจากกันเป็นช่องมองลงไปเห็น ทิวทัศน์ ประเทศลาวและ สายแม่น้ำโขงได้ชัดเจน
4.จุดชมทะเลหมอกเนิน 102
จากจุดผาขาดเดินขึ้นดอยต่อไปยัง เนิน 102 ระยะทางกว่า 300 เมตร เป็นเนินเขาลูกหนึ่งบนดอยผาตั้ง เป็นจุดชมทะเลหมอกและ พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด สามารถมอง เห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลสุดตา ละลอก คลื่นอยู่ไกลๆ
5.จุดชมทะเลหมอกเนิน 103
เป็นเนินเขาอีกลูกบนดอยผาตั้ง อยู่ห่างจากเนิน 102 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 500 เมตร ลักษณะบนเนิน 103 มีหินขนาดใหญ่ อยู่บนเนินเป็นจุดชมวิวที่สวยงามจะเป็น จุดชมทะเลหมอก ที่กล่าวได้ว่าสวยงามที่สุด กว่าทุก ยอดบนดอยผาตั้งเพราะจะชมทะเลหมอก ได้กว้างไกลแบบพาโนรามา


สามเหลี่ยมทองคำ

                              สามเหลี่ยมทองคำ


สามเหลี่ยมทองคำ (อังกฤษGolden Triangle) หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงรายลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (แขวงท่าขี้เหล็กรัฐฉาน) มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค นอกจากนี้สามเหลี่ยมทองคำยังมีทิวทัศน์ที่งดงามโดยเฉพาะยามเช้า ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จัก ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่างประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย
สามเหลี่ยมทองคำในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขตบ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีน และลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่างชัดเจน ส่วนทางพม่าซึ่งอยู่ด้านตะวันตกนั้น ไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นในระยะใกล้ๆ
บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวก ที่เรียกว่า สบรวก บริเวณนี้มีเคยมีชนกลุ่มน้อย และกองกำลังติดอาวุธอยู่หลายกลุ่ม พื้นที่ในแถบนี้เคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ เช่น มีโรงงานผลิตเฮโรอีนและกระจายอยู่ตามชายแดน ส่วนการลำเลียงฝิ่นจะไปเป็นขบวนลัดเลาะไปตามไหล่เขาพร้อมกำลังคุ้มกัน ว่ากันว่ายาเสพติดและฝิ่นจะถูกแลกเปลี่ยนด้วยทองคำในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ
นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำในช่วงฤดูหนาว และไปถ่ายรูปกับป้าย "สามเหลี่ยมทองคำ" ที่ติดตั้งไว้ริมฝั่งแม่น้ำโขงด้วย นอกจากนี้ยังนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 300-400 บาท (นั่งได้ 6 คน) นอกจากนี้ยังสามารถล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง ได้อีกด้วย แต่หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้าง ของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง



วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ดอยแม่สลอง


ดอยแม่สลอง


แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงรายไปครั้งที่แล้ว มีบางคนส่งข้อความมาถามว่า อยากจะไปเที่ยวดอยแม่สลอง แต่ไม่ทราบว่าบนดอยแห่งนี้มีอะไรให้เที่ยวบ้าง วันนี้พอจะมีเวลาว่างเลยทำรีวิวแนะนำแหล่งท่องเที่ยวบนดอยแห่งนี้มาฝากกัน

ดอยแม่สลองเป็นยอดดอยหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,200 เมตร ตั้งอยู่ที่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายมีอากาศเย็นสบายตลอดปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.เชียงรายที่ไม่ควรพลาด เพราะบนดอยแม่สลองมีชุมชนชาวจีนฮ่อขนาดใหญ่ที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งอยู่บนดอยนี้มานานกว่า 40 ปีอยู่ที่หมู่บ้านสันติคีรี มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคารทหารไทยที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบ ในปัจจุบันรายได้หลักของชุมชนแห่งนี้มาจากการปลูกชาอู่หลงซึ่งเป็นชาพันธุ์ดีที่มีปลูกกันอยู่เป็นจำนวนมาก



ดอยตุง

                             ดอยตุง

ดอยตุง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานางนอน อยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,630 เมตร สภาพอากาศเย็นสบาย ดอยตุง เป็นดินแดนแห่งการอนุรักษ์ผืนป่า และอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามอยู่หลายแห่งด้วยกัน เช่น สถูปดอยช้างมูบ อยู่ห่างจากองค์พระธาตุดอยตุงประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวทางธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่ง ในบรรดาจุดชมวิวอื่นๆ เช่น จุดชมวิวดอยผาฮี จุดชมวิวดอยผาหมี และจุดชมวิวกิโลเมตรที่ 12
ดอยตุง เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอันดับแรกของเมืองเชียงราย มีชื่อเสียงมากด้านความสวยงามของดอกไม้เมืองหนาว โดยเฉพาะ สวนแม่ฟ้าหลวง บนดอยตุงนั้น นับได้ว่าเป็นสวนดอกไม้ที่สวยที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของ พระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงราย ทั้งยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีกุนอีกด้วย
แหล่งท่องเที่ยวบนดอยตุงที่นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมได้แก่ สวนแม่ฟ้าหลวง พระตำหนักดอยตุง พระธาตุดอยตุง สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงดอยช้างมูบ
การเดินทาง : จากถนนพหลโยธินจากตัวเมืองเชียงรายผ่านอำเภอแม่จัน ก่อนถึงอำเภอแม่สายระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 870-871 จะมีแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1149 ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตรถึงดอยตุง





วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สถานที่ท่องเที่ยวภาคเหนือ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร[2] ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ



ภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้า    สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย

ภูชี้ฟ้า อ. เทิง จ. เชียงราย


ภูชี้ฟ้า     ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย   อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย – ลาว   ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวเลาไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ    เป็นที่มาของชื่อ ภูชี้ฟ้า  จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางถึง ๑,๖๒๘   เมตร   เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง   แขวงไชยบุรี   ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



ภาพทะเลหมอกภูชี้ฟ้า เบื้องล่างคือเขตประเทศลาว ปลายแหลมของภูชี้ฟ้าส่วนหนึ่งก็อยู่ในเขตประเทศลาว

ชมวีดีโอภูชี้ฟ้าฤดูฝน ธรรมชาติสวย

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เครื่องมือต่างๆในโปรแกรม Dreamweaver


เครื่องมือต่างๆในโปรแกรม Dreamweaver

Dreamweaver

    สำหรับ Dreamweaver เป็นโปรแกรมสร้างโฮมเพจแบบเสมือนจริง โดยไม่ต้อง เขียนภาษา HTML เอง หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "WYSIWYG" 

    เราสามารถใช้หน้าจอเสมือนจริงของ Dreamweaver ในการทำเว็บเพจได้เลย โดยใช้เครื่องมือต่างๆที่มีมาให้ดังแสดงในรูปด้านล่าง 

หน้าตาของโปรแกรม Dreamweaver และชื่อเรียกเครื่องมือต่างๆอธิบายเครื่องมือต่างๆ     1.Document window    เป็นส่วนที่ใช้การแสดงผลเว็บเพจที่กำลังสร้างอยู่ ซึ่งแสดงผลได้ทั้งแบบ Code และ แบบเสมือนจริงที่แสดงผลบน web browser หรือจะแสดงควบคู่ไปก็ได้ และใช้ในการทำงานแก้ไขตัวอักษร รูปภาพต่างๆในเว็บเพจด้วย โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ที่แสดงอยู่ในรูป    ข้อเสียของ Dreamweaver ยังไม่อยู่บ้างคือ หน้าจอที่แสดงผลเสมือนจริง กับการแสดงผลจริงใน web browser อาจไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับ web browser ที่เราใช้ด้วย 

    2.Insert Bar


    ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ แยกย่อยดังนี้ 

    1.Common ในแถบนี้จะประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น สร้างตาราง , สร้างลิงค์ หรือใส่รูปในเว็บเพจ 

    2.Layout ในแถบนี้จะเป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับ การแสดงผลแบบ div , ตาราง และ frame สำหรับใช้สร้างเว็บเพจ แบบ layout 

    3.Forms ในแถบนี้ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการสร้าง form เช่น radio , check box เป็นต้น 

    4.Data เป็นแถบที่ใส่สำหรับ Dynamic เว็บไซต์ ใช้จัดการกับระบบ data base จะใช้มากในการพัฒนา web application บนเว็บไซต์ เช่นการเขียนระบบ web board , ระบบสมาชิก 

    5.Spry เป็นแถบใหม่ของ dreamwerver ที่หลายคนจะต้องชอบ เพราะเป็นเครื่องมือที่รวม javascript กับ HTML , CSS เข้าด้วยกัน ทำให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจ และมีความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น 

    6.Text ในนี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับตัวอักษรทั้งหมด เช่นใส่สัญลักษณ์พิเศษต่างๆ 

    7.Favorites แถบอันนี้คุณสามารถเพิ่ม เครื่องมือต่างด้วยตัวเอง โดยการคลิกขวา สำหรับผู้ที่ต้องการเก็บเครื่องมือต่างๆที่ใช้งานบ่อยไว้ในนี้ 



    3.Property inspector


    property inspector เป็นแถบเครื่องมือที่จะเปลี่ยนแปลงตามวัตถุที่เราเลือกอยู่เช่น ถ้าคลิกที่รูป property inspector ก็จะเป็นคุณสมบัติเกี่ยวกับรูปนั้นเช่น ขนาดรูป , ชื่อรูป , ลิงค์ของรูป ถ้าเลือกที่ตารางอยู่ ก็จะเป็นคุณสมบัติของตาราง เช่น ขนาดตาราง , จำนวนแถวและหลักของตาราง เป็นต้น 



    4.docking panels


    เครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือที่จะต้องใช้บ่อยมาก เพราะใช้แสดง file ที่อยู่ในเว็บไซต์ , ไฟล์ CSS และใช้แก้ไข CSS รวมถึงเครื่องมือที่ใช้แสดงภาพ และเครื่องมือ ftp เราสามารถปิด/เปิด แถบนี้ได้โดยการคลิกที่รูปลูกศรด้านซ้ายมือของ panels 



    5.menu

    เป็นคำสั่งที่เห็นอยู่ทั่วไปในโปรแกรมทั่วไป จะมีคำสั่งที่ใช้ที่เหมือนกับเครื่องมือต่างที่แสดงอยู่ใน Insert bar, Property inspector, panels แต่มีบางคำสั่งที่แสดงเฉพาะใน menu ด้วย 



    6.Status bar


    ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ทางขวาของแถบนี้จะเป็นตัวเลขที่บอกเวลาในการโหลดหน้านี้ ขนานของ document window เครื่องมือย่อ/ขยาย ส่วนทางขวาจะเป็น Tag select ของ HTML จะแสดงคำสั่งของ HTML เราสามารถแก้ไขคำสั่งต่างๆได้จากหน้าต่างนี้ 



    7.Document Tool bar


    ทางซ้ายมือสุดจะเป็นคำสั่ง ใช้เปลี่ยนการแสดงผลของ document window อันแรกจะแสดงเฉพาะ code อันต่อมาจะแสดงทั้ง code และ หน้าออกแบบ อันสุดท้ายจะแสดงหน้าออกแบบเท่านั้น และยังมือเครื่องมือที่ใช้กำหนด Title <title> </title> ของหน้าเว็บเพจอีกด้วย 



หน้าต่างต่อไปที่จะลืมไม่ได้คือ Perference การเปิดหน้าต่างนี้ทำได้โดยคลิกที่ Edit >Preferences เป็นหน้าต่างที่ใช้ในการปรับระบบต่างๆของ Dreamweaver ให้ตรงกับความต้องการของเรา 


วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557