พัทลุง - เกษตรกร “เมืองลุง” หันเลี้ยง “วัวชน” สร้างอาชีพเสริม หลังราคายางร่วงหนักเงินไม่พอใช้ พบเป็นอาชีพที่สร้างรายได้งดงาม ด้านเซียนวัวแนะให้กิน “หญ้าสด” จะให้พลังงานสูงกว่า อย่าให้วัวถูกฝน โดนยุงกัด อาจทำวัวป่วยง่าย ตอนเช้าจูงวัวเดินออกกำลังกายวันละ 10 กิโลเมตร เผยหากชนชนะ 2-3 ครั้ง ราคาวัวพุ่งเฉียดล้าน
วันนี้ (22 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรที่ยั่งยืนของภาคใต้ โดยเฉพาะทางด้านปศุสัตว์ จนพัทลุงมีคนเรียกขานว่า “เมืองโคบาล” ทั้งนี้ เนื่องจากพัทลุงเป็นเมืองที่เลี้ยง “วัว” รายใหญ่สุดของภาคใต้ก็ว่า มีทั้งวัวเนื้อ วัวนม วัวชน ตลอดจนบรรดาเซียนวัวชนด้วย โดยประมาณการมีวัวอยู่สัก 100,000 ตัว เลี้ยงทั้งประเภทฟาร์มธุรกิจขนาดใหญ่ เลี้ยงแบบรายย่อย และเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมก็มีอยู่จำนวนมาก
นายอำนวย เส้งสุ้น กำนันตำบลท่ามิหร่ำ อ.เมือง จ.พัทลุง กล่าวว่า หลังสภาวะยางพาราตกต่ำทำให้ชาวพัทลุงเริ่มหันมาเลี้ยงวัวพื้นบ้าน และวัวชนมากขึ้น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบการเลี้ยงวัวชนเป็นชีวิตจิตใจ พอกรีดยางพาราซึ่งเป็นอาชีพหลักเสร็จแล้ว พอยังมีเวลาที่เหลืออยู่ก็หันมาเลี้ยงวัวชนที่ชื่นชอบ อีกทั้งยังได้เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง และสามารถทำรายได้เสริมนำมาจุนเจือครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ก็เลี้ยงไม่มากโดยเลี้ยงภายในครัวเรือน
หากจะเลี้ยงวัวชนมากกว่านี้โดยเลี้ยงประมาณ 5 ตัว ก็ต้องมีคนเลี้ยง หรือเรียกว่า “ควาญ” เข้ามาเสริมอีก วัวชน 1 ตัว ต่อควาญวัว 1 คน โดยควาญจะทำหน้าที่เลี้ยงวัวชน ตัดหญ้าให้วัวกิน จูงวัวเดินออกกำลังกาย และก็ต้องเฝ้าคอกวัว เป็นต้น บรรดาเซียนวัวจะดูบุคลิกของวัวว่าขวัญสมบูรณ์ รูปร่างหน้าสง่างาม ยอดวงงาม หรือเรียกว่าเขายาว ให้ดีขนาด 30 เซนติเมตร ร่างกายบึกบึนหนาแน่น เนื้อเต็มไปด้วยมัดกล้าม แขน ขา ท่าเดิน ท่วงทำนองเข้มแข็ง และด้านหลังหางต้องร่วง รูปร่างสีที่เป็นยอดนิยม รูปร่างดำเนียน สีแดง สีโหนด สีลางสาด ส่วนสีขาว สีลาย นานๆ ก็เจอบ้าง
นายอำนวย ยังกล่าวอีกว่าว่า การเลี้ยงวัวชน สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงที่สุดของการเลี้ยงวัวชน คือ วัวชนเชื้อสายพันธุ์ ต้องดูความเป็นมาของพ่อแม่ด้วย แต่ให้ดีถ้าวัวชนติดไปทางเชื้อสายแม่จะดีกว่า แล้วมาถึงวิธีการเลี้ยงวัวชน คือ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น คือ ต้องมียาบำรุง ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ตามสนามวัวชนทั่วๆ ไป ส่วนหญ้าคือ อาหารหลัก มีทั้งหญ้าแห้ง หญ้าเปียก แต่ที่มีคุณภาพทางโภชนาการ สุขภาพอนามัยให้แก่วัวชน ต้องเป็นหญ้าสดๆ จะทำให้วัวชนมีสุขภาพแข็งแรง มีพลังงานที่สูง
ถ้าเราเลี้ยงวัวชนจำนวน 5 ตัว ต้องมีแปลงหญ้าประมาณ 5 ไร่ และการปลูกหญ้าจะไม่ซ้ำกัน หญ้าวัวมีหลายชนิด วิธีการฝึกวัว หรือเรียกกันว่า “ซ้อมวัวชน” ซ้อมประมาณ 20-25 วันต่อเดือน ก่อนเข้าสู่สนามชนวัว ที่มีอยู่หลายสิบสนามในพื้นที่ภาคใต้ การซ้อมนั้นมีการพันเขา ซ้อมครั้งแรก 15 นาที แล้ววันถัดไปประมาณ 20-25 นาที
ตอนเช้าๆ ก็จูงให้เดินวันละ 10 กิโลเมตร แล้วพอตกตอนบ่ายๆ นำวัวออกมาตากแดด ตากจนให้ลิ้นห้อย แล้วเว้นไว้สักพัก คือ เอาเข้าไปพักผ่อนที่ร่มประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วพอตกบ่ายสายๆ ก็เอาวัวไปอาบน้ำ โดยอาบน้ำให้ทุกๆ วัน วัวชนบ่อยครั้งนั้นอย่าให้ถูกฝน สำหรับสถานที่พักหลับนอนนั้น จะสร้างขนาด 4x4 เมตร ที่นอนต้องแห้ง แล้วให้อบอุ่น ถ้าให้ชั้นดีต้องโรยด้วยทรายอ่อนๆ ก่อน และจะต้องกันยุง มิให้ยุงกัด หรือไม่ก็ทำมุ้งกางให้วัวชนก็จะดี
เบื้องต้นที่เพาะพันธุ์ขายลูกวัว ราคาเบื้องต้นลูกวัวชน ประมาณ 10,000 บาทต่อตัว แต่มาเลี้ยงขุนซ้อมอย่างดีประมาณ 1 ปี ไม่นานราคาก็จะลื่นไหลเขยิบขึ้นถึง 20,000 บาท แต่บางโอกาสเข้าตาบรรดาเซียนวัวชน ตกเวลาประมาณ 10 วัน ราคาสูงขึ้นอีกระดับหนึ่งได้วัวชน ที่ผ่านสนามแข่งขันได้รับชัยชนะเพียง 2-3 ครั้ง ราคาก็ทะยานขึ้นชนเพดานไปอยู่ในระดับ 100,000 บาท หรือหลักล้านก็มี
โดยปกติวัวชน ราคาธรรมดาปกติเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาท แล้วเอามาขุน มาฝึกซ้อม มาปั้น แล้วถ้าชนชนะมาบ้างราคาจะขยับในเวลา 1 ปี ตกอยู่ที่ 30,000-50,000 บาท วัวชน 1 ตัว มีกำไรตกเดือนละ 1,500 บาท ถ้าเลี้ยงสัก 5 ตัว จะมีกำไรตกเดือนละ 7,500 บาท
“การเลี้ยงวัวชน จะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมได้ดี วัวชนสามารถปล่อยโดยไม่มีอัตราเสี่ยงขาดทุน มีแต่กำไร เลี้ยงคราวละ 1 ตัว ภายในครอบครัว ปลูกหญ้าไว้ข้างบ้านหญ้าก็ขึ้นเรื่อยๆ ไว้เป็นอาหารของวัว ที่หลับนอนวัวก็บริเวณบ้าน ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย” นายกอเส็ม กล่าว ดังนั้น วัวชนเป็นกีฬาพื้นบ้านของชาวใต้ และปัจจุบันนี้ สนามวัวชนก็ยังคงยืนอยู่คู่กับวัวชน ไม่ล่มสลาย และสนามยังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เช่น สนามพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง นครศรีธรรมราช และตรัง
bblibanucha
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การจัดการฟาร์มโคเนื้อ การจัดการฟาร์มโคเนื้อ
การจัดการฟาร์มโคเนื้อ การจัดการฟาร์มโคเนื้อ
การจัดการฟาร์มโคเนื้อ
เอกชัย บุญจันทร์
จากอดีตถึงปัจจุบัน
ในอดีตเกษตรกรบ้านเรานอกจากจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวตามประสาชาวชนบทที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย คอยช่วยเหลือออกแรงลงแขกกันตามโอกาสต่างๆ แล้ว แต่ละบ้านก็ยังมีการเลี้ยงโค - กระบือไว้ใต้ถุนบ้านหรือผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนากันแทบทุกบ้านก็ว่าได้ โดยอาศัยประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งไถนา นวดข้าว เทียมเกวียน คอยกำจัดวัชพืชตามหัวคันนา ทำเป็นอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อตามงานเทศกาลต่างๆ หรือเก็บไว้เป็นเงินออมที่มีชีวิตยามฉุกเฉิน
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วผลพลอยได้อีกทางหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนหญ้าฟางที่กินเข้าไปให้กลายมาเป็นเนื้อได้อย่างน่าอัศจรรย์โดยไม่มีต้นทุนใดมาเกี่ยวข้องเลย และมูลโคที่ถ่ายลงตามท้องนาก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์และลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 วัน โคตัวหนึ่งจะถ่ายมูลเฉลี่ยประมาณ 15 กิโลกรัม หรือใน 1 ปี เราจะได้มูลโคถึง 5.4 ตันกว่าๆ เชียวนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ปุ๋ยมูลโคนั้นเป็นที่นิยมของตลาดและมีราคาดีทีเดียว อีกทั้งยังใช้ทาลานนวดข้าว ทากระพ้อมใส่ข้าวเปลือก หรือใช้ทำแก๊สชีวภาพหุงต้มภายในครัวเรือนได้อีก เห็นไหมครับว่าการเลี้ยงโค - กระบือนั้นมีประโยชน์มากมายขนาดไหน นับว่าโค - กระบือนั้นมีบุญคุณและเปรียบเสมือนเป็นดั่งกระดูกสันหลังให้กับชาวนามาช้านาน
1 วัวนวดข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.jpg 2 gotoknow.JPG
เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนผู้เขียนมักจะมีโอกาสได้ติดตามบิดาไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัดอยู่เป็นประจำ สิ่งที่เห็นจนชินตาจากสองข้างทางตลอดการเดินทางที่ดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ คือ ฝูงโค - กระบือที่กำลังก้มหนาก้มตากินฟางข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวทอดยาวสุดลูกหูลูกตาอย่างมีความสุข โดยอาศัยการจัดการที่เรียบง่ายตามแบบฉบับภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่มุ่งหวังผลกำไรมากเกินไป แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้เลี้ยงปล่อยทุ่งมีจำนวนลดลง เนื่องจากพืชไร่และพืชพลังงานมีราคาสูง เกษตรกรจึงเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นการทำไร่ การเข้ามาแทนที่ของเครื่องจักรกลรถไถ ทำให้ความต้องการใช้แรงงานโค - กระบือลดลงตามลำดับ ขับรถไปนานๆ กว่าจะพบฝูงโค - กระบือสักฝูงสองฝูงก็หาดูยากเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริงนั้นความต้องการเนื้อเพื่อบริโภคกลับเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พอจำนวนโค - กระบือเริ่มลดลงเรื่อยๆ ราคาของโค - กระบือมีชีวิตก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามหลักปริมาณสินค้ากับความต้องการของผู้บริโภค จนเกษตรกรหลายรายเริ่มหันกลับมาเลี้ยงกันอีกครั้ง
ปัจจุบันรูปแบบวิธีการเลี้ยงและจุดประสงค์ในการเลี้ยงได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการเพิ่มการจัดการฟาร์ม การปรับปรุงพันธุ์เข้ามาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างลงตัว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงดู ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งด้านที่ดิน แรงงาน อาหาร และเงินทุน ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอข้อมูลเกร็ดความรู้และการจัดการฟาร์มโคเนื้อเบื้องต้น เพื่อที่พี่น้องชาวโคบาลจะสามารถนำไปจัดการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอ้างอิงจากหลักวิชาการกอปรกับคำอธิบายที่เข้าใจง่ายที่สุดตามประสาคนเลี้ยงวัวครับ
รูปแบบของการเลี้ยงโคเนื้อในปัจจุบัน
การเลี้ยงโคในต่างประเทศนั้นได้พัฒนาล้ำหน้าบ้านเราไปมากแล้ว ทั้งด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ วิทยาการเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเนื้อที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ด้วยข้อได้เปรียบทางด้านพื้นที่ในการเลี้ยงที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำและได้ผลตอบแทนสูง ตรงกันข้ามกับบ้านเราที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดและวัตถุดิบในการเลี้ยงสัตว์ที่หายากและมีราคาสูงขึ้นทุกวัน เกษตรอย่างเราๆ ก็ควรเลือกรูปแบบและวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมกับกำลังความสามรถของตนเองเป็นสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน โดยจะแบ่งรูปแบบการเลี้ยงโคตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
1. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์
- ในสมัยนี้ไม่จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่มากมายเหมือนในอดีต ต้นทุนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการฟาร์ม ทั้งด้านอาหาร แปลงหญ้า สุขภาพสัตว์ และจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงเป็นหลัก การเลี้ยงต้องใช้ระยะเวลา 2-5 ปี (เงินเย็น) ถึงจะคืนทุน โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ
1.1 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์แท้คุณภาพดี
- ส่วนใหญ่จะเลี้ยงพันธุ์แท้หรือสายประกวดเป็นหลัก โดยเน้นหนักไปที่ฝูงแม่พันธุ์อาจจะมี 10 - 20 ตัว น้อยหรือมากกว่านั้นก็ได้แล้วใช้น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ชั้นดีมาผสมเทียม เพื่อผลิตลูกโคพันธุ์แท้ออกสู่ตลาด บางทีอาจจะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้สำหรับขึ้นผสมจริงหรือผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งเพื่อจำหน่ายด้วยก็ได้ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีเงินทุนพอสมควรเพราะว่าโคในกลุ่มนี้มีราคาค่อนข้างแพง เพื่อความสบายใจและป้องกันการถูกย้อมวัวขาย ในการซื้อ – ขายทุกครั้งควรขอใบผสมเทียมหรือใบพันธุ์ประวัติที่มีหน่วยงานรัฐหรือสมาคมของโคพันธุ์นั้นๆ รับรองมาด้วยเสมอ
dldgothc.jpg
1.2 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมทั่วไป
- ส่วนใหญ่จะเป็นแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มัน, ลูกผสมฮินดูบราซิล หรือลูกผสมยุโรป โดยจะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งหญ้าธรรมชาติผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือขังคอกแล้วตัดหญ้ามาให้กินก็ได้ บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพหลัก บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม มักจะใช้วิธีผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อตามกระแสความนิยมของตลาด ณ ขณะนั้น บางฟาร์มก็ใช้พ่อคุมฝูงเพื่อลดปัญหาการจับสัดที่ไม่แน่นอน ลูกโคที่ผลิตได้จะขายตีเป็นราคาเนื้อตามกลไกตลาด หรือปรับปรุงพันธุ์ยกระดับสายเลือดให้สูงขึ้นแล้วขายในราคาโคพันธุ์ ลูกค้าส่วนใหญ่คือ ผู้ที่นำไปต่อยอดขยายพันธุ์และผู้เลี้ยงโคขุน
thailivestock.jpg
2. ผู้เลี้ยงโคขุน
- สามารถทำเป็นอาชีพหลักและใช้พื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดได้ ต้นทุน – กำไรจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกโค + ราคาโคเข้าขุนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่แปรผันตามฤดูกาล เพราะต้องใช้อาหารข้นคุณภาพดีเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและทำน้ำหนักตัวให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ระยะเวลาในการเลี้ยงขึ้นอยู่กับคุณภาพของตลาดที่จะจำหน่าย มีค่าใช้จ่าย - รายได้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา (เงินร้อน) โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ
2.1 ผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพ
- ผู้เลี้ยงจะต้องคัดเลือกโคเข้าขุนโดยให้มีสายเลือดของโคยุโรปไม่ต่ำกว่า 50% ฟันแท้ยังไม่ขึ้นหรือขึ้นไม่เกิน 1 คู่ ใช้ระยะเวลาในการขุนประมาณ 8 - 12 เดือน น้ำหนักสุดท้ายไม่ต่ำกว่า 500-550 กิโลกรัม การขุนวัวที่มีอายุน้อยจะได้เนื้อที่มีความนุ่มมากกว่าการขุนวัวที่มีอายุมาก และระยะเวลาการขุนที่นานก็จะช่วยเพิ่มไขมันแทรกในกล้ามเนื้อให้มีมากขึ้น เพราะว่าไขมันแทรกยิ่งมากราคาก็จะดีตามไปด้วย แต่ในกลุ่มผู้บริโภคเนื้อเพื่อสุขภาพจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องไขมันแทรกมากนัก เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงโคเลสเตอรอลในไขมันซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ โคกลุ่มนี้จะถูกเลี้ยงด้วยอาหารข้นคุณภาพดี ปลอดสารเคมี ชำแหละแปรรูปตามมาตรฐานสากล มีตลาดรองรับและรับประกันราคาที่แน่นอน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ก่อนจะทำการขุนผู้เลี้ยงจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อดังกล่าว เพื่อขอคิวลงทะเบียนขุนซึ่งหน่วยงานที่รองรับ ได้แก่ สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จ.สกลนคร (Thai - French), สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม (KU Beef), สหกรณ์การเกษตรหนองสูง จ.มุกดาหาร เป็นต้น เนื้อที่ได้จะจำหน่ายเฉพาะตลาดบนเท่านั้น คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ฯลฯ
2.2 ผู้เลี้ยงโคขุนทั่วไป
- โคที่เข้าขุนจะไม่จำกัดอายุและสายพันธุ์ มีทั้งลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมฮินดูบราซิล ลูกผสมยุโรป และพื้นเมืองบ้างเล็กน้อย มีอายุตั้งแต่หย่านมขึ้นไปจนถึงโคอายุมากหรือโคงานที่ปลดระวาง (โคมัน) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามตลาดนัดโค - กระบือทั่วไป ใช้ระยะเวลาในการขุน 3 - 4 เดือน น้ำหนักสุดท้ายจะอยู่ที่ 350 – 450 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพและชนิดของโคที่นำมาขุน เลี้ยงด้วยอาหารข้นและอาหารหยาบที่หาได้ในพื้นที่ ถ้าโคที่นำมาขุนมีเนื้อเต็มโครงร่างเมื่อไหร่ก็ส่งเข้าโรงเชือดทันทีโดยไม่จำกัดขนาด ส่วนใหญ่จะถูกชำและในรูปของเนื้อเซาะ(เลาะเอาแต่เนื้อแดง) หรือเนื้อผ่าซีกให้ครบตามปริมาณคำสั่งซื้อในแต่ละวัน เนื้อที่ได้จะจำหน่ายตลาดกลางและตลาดล่าง คือ ตลาดเทศบาล ตลาดสด และตลาดนัดทั่วไป
3. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์และโคขุน
- ผู้เลี้ยงกลุ่มนี้จะใช้ระบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยใช้กำไรส่วนหนึ่งจากการเลี้ยงโคขุนมาจุนเจือโคพันธุ์ในระหว่างที่รอโคพันธุ์คืนทุน โคขุนส่วนหนึ่งก็จะคัดมาจากโคพันธุ์หรือโคเพศผู้หย่านมที่มีลักษณะไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการซื้อโคเข้าขุนได้อีกทางหนึ่ง อาจเรียกได้ว่าเป็นฟาร์มแบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นฟาร์มขนาดเล็ก – กลาง - ใหญ่ก็ได้ ยกตัวอย่างฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ลุงเชาวน์ฟาร์ม จ.สุพรรณบุรี, ห้างฉัตรแรนช์ จ.ลำปาง, ฟาร์มชวนชื่น จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
ระบบอุตสาหกรรมโคเนื้อในปัจจุบัน
วงจรการผลิตโคเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเนื้อในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน อาจจะด้วยเรื่องของพื้นที่ เงินทุน เวลา หรือความถนัดของแต่ละบุคคลก็สุดแท้แต่เหตุผล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ต้นน้ำ - จะเลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคจำหน่าย โดยจะจำหน่ายลูกโคที่มีอายุตั้งแต่หย่านม - 1 ปี ขึ้นไป และแม่พันธุ์บางส่วน ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ผู้นำไปขยายพันธุ์, ผู้เลี้ยงโคขุน และพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย )
2. กลางน้ำ - จะซื้อโคจากกลุ่มต้นน้ำหรือจากพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย ) นำมาขุนต่อให้ได้น้ำหนักตามระยะเวลาที่กำหนด ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ โรงเชือดต่างๆ
3. ปลายน้ำ - จะนำโคที่ขุนเสร็จแล้วจากกลุ่มกลางน้ำและโคปลดระวางหรือคัดทิ้งจากกลุ่มต้นน้ำ มาเชือดและชำแหละให้ครบจำนวนตามคำสั่งซื้อในแต่ละวัน โดยจะเชือดวันต่อวันเพื่อความสดใหม่ของเนื้อ ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ร้านอาหาร ตลาดสด ตลาดนัดทั่วไป
ตอนนี้เราพอจะทราบถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อในบ้านเรากันบ้างแล้ว หลายท่านอาจจะเริ่มเห็นภาพรวมสามารถตอบโจทย์ตนเองได้บ้างแล้วว่า ขณะนี้เราอยู่ตรงจุดไหนของธุรกิจการเลี้ยงโค เพื่อที่จะได้ก้าวย่างอย่างมั่นคงบนถนนสายนี้ ไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่ถ้าเริ่มต้นได้ดีก็มีกำไรไปกว่าครึ่งแล้วครับ
ฉบับหน้ามีอะไรใหม่ มาร่วมติดตามกันนะครับ ฉบับนี้หมดพื้นที่แล้วขอลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า โชคดีมีความสุขกับการเลี้ยงวัวทุกท่าน สวัสดีครับ
การจัดการฟาร์มโคเนื้อ
เอกชัย บุญจันทร์
จากอดีตถึงปัจจุบัน
ในอดีตเกษตรกรบ้านเรานอกจากจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวตามประสาชาวชนบทที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย คอยช่วยเหลือออกแรงลงแขกกันตามโอกาสต่างๆ แล้ว แต่ละบ้านก็ยังมีการเลี้ยงโค - กระบือไว้ใต้ถุนบ้านหรือผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนากันแทบทุกบ้านก็ว่าได้ โดยอาศัยประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งไถนา นวดข้าว เทียมเกวียน คอยกำจัดวัชพืชตามหัวคันนา ทำเป็นอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อตามงานเทศกาลต่างๆ หรือเก็บไว้เป็นเงินออมที่มีชีวิตยามฉุกเฉิน
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วผลพลอยได้อีกทางหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนหญ้าฟางที่กินเข้าไปให้กลายมาเป็นเนื้อได้อย่างน่าอัศจรรย์โดยไม่มีต้นทุนใดมาเกี่ยวข้องเลย และมูลโคที่ถ่ายลงตามท้องนาก็จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์และลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 วัน โคตัวหนึ่งจะถ่ายมูลเฉลี่ยประมาณ 15 กิโลกรัม หรือใน 1 ปี เราจะได้มูลโคถึง 5.4 ตันกว่าๆ เชียวนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ปุ๋ยมูลโคนั้นเป็นที่นิยมของตลาดและมีราคาดีทีเดียว อีกทั้งยังใช้ทาลานนวดข้าว ทากระพ้อมใส่ข้าวเปลือก หรือใช้ทำแก๊สชีวภาพหุงต้มภายในครัวเรือนได้อีก เห็นไหมครับว่าการเลี้ยงโค - กระบือนั้นมีประโยชน์มากมายขนาดไหน นับว่าโค - กระบือนั้นมีบุญคุณและเปรียบเสมือนเป็นดั่งกระดูกสันหลังให้กับชาวนามาช้านาน
1 วัวนวดข้าว สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.jpg 2 gotoknow.JPG
เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนผู้เขียนมักจะมีโอกาสได้ติดตามบิดาไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัดอยู่เป็นประจำ สิ่งที่เห็นจนชินตาจากสองข้างทางตลอดการเดินทางที่ดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ คือ ฝูงโค - กระบือที่กำลังก้มหนาก้มตากินฟางข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวทอดยาวสุดลูกหูลูกตาอย่างมีความสุข โดยอาศัยการจัดการที่เรียบง่ายตามแบบฉบับภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่มุ่งหวังผลกำไรมากเกินไป แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้เลี้ยงปล่อยทุ่งมีจำนวนลดลง เนื่องจากพืชไร่และพืชพลังงานมีราคาสูง เกษตรกรจึงเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นการทำไร่ การเข้ามาแทนที่ของเครื่องจักรกลรถไถ ทำให้ความต้องการใช้แรงงานโค - กระบือลดลงตามลำดับ ขับรถไปนานๆ กว่าจะพบฝูงโค - กระบือสักฝูงสองฝูงก็หาดูยากเหลือเกิน แต่ในความเป็นจริงนั้นความต้องการเนื้อเพื่อบริโภคกลับเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พอจำนวนโค - กระบือเริ่มลดลงเรื่อยๆ ราคาของโค - กระบือมีชีวิตก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามหลักปริมาณสินค้ากับความต้องการของผู้บริโภค จนเกษตรกรหลายรายเริ่มหันกลับมาเลี้ยงกันอีกครั้ง
ปัจจุบันรูปแบบวิธีการเลี้ยงและจุดประสงค์ในการเลี้ยงได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการเพิ่มการจัดการฟาร์ม การปรับปรุงพันธุ์เข้ามาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างลงตัว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงดู ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งด้านที่ดิน แรงงาน อาหาร และเงินทุน ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอข้อมูลเกร็ดความรู้และการจัดการฟาร์มโคเนื้อเบื้องต้น เพื่อที่พี่น้องชาวโคบาลจะสามารถนำไปจัดการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอ้างอิงจากหลักวิชาการกอปรกับคำอธิบายที่เข้าใจง่ายที่สุดตามประสาคนเลี้ยงวัวครับ
รูปแบบของการเลี้ยงโคเนื้อในปัจจุบัน
การเลี้ยงโคในต่างประเทศนั้นได้พัฒนาล้ำหน้าบ้านเราไปมากแล้ว ทั้งด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ วิทยาการเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเนื้อที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ด้วยข้อได้เปรียบทางด้านพื้นที่ในการเลี้ยงที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำและได้ผลตอบแทนสูง ตรงกันข้ามกับบ้านเราที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดและวัตถุดิบในการเลี้ยงสัตว์ที่หายากและมีราคาสูงขึ้นทุกวัน เกษตรอย่างเราๆ ก็ควรเลือกรูปแบบและวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมกับกำลังความสามรถของตนเองเป็นสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน โดยจะแบ่งรูปแบบการเลี้ยงโคตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
1. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์
- ในสมัยนี้ไม่จำเป็นจะต้องใช้พื้นที่มากมายเหมือนในอดีต ต้นทุนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการฟาร์ม ทั้งด้านอาหาร แปลงหญ้า สุขภาพสัตว์ และจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงเป็นหลัก การเลี้ยงต้องใช้ระยะเวลา 2-5 ปี (เงินเย็น) ถึงจะคืนทุน โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ
1.1 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์แท้คุณภาพดี
- ส่วนใหญ่จะเลี้ยงพันธุ์แท้หรือสายประกวดเป็นหลัก โดยเน้นหนักไปที่ฝูงแม่พันธุ์อาจจะมี 10 - 20 ตัว น้อยหรือมากกว่านั้นก็ได้แล้วใช้น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ชั้นดีมาผสมเทียม เพื่อผลิตลูกโคพันธุ์แท้ออกสู่ตลาด บางทีอาจจะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้สำหรับขึ้นผสมจริงหรือผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งเพื่อจำหน่ายด้วยก็ได้ ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีเงินทุนพอสมควรเพราะว่าโคในกลุ่มนี้มีราคาค่อนข้างแพง เพื่อความสบายใจและป้องกันการถูกย้อมวัวขาย ในการซื้อ – ขายทุกครั้งควรขอใบผสมเทียมหรือใบพันธุ์ประวัติที่มีหน่วยงานรัฐหรือสมาคมของโคพันธุ์นั้นๆ รับรองมาด้วยเสมอ
dldgothc.jpg
1.2 ผู้เลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมทั่วไป
- ส่วนใหญ่จะเป็นแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มัน, ลูกผสมฮินดูบราซิล หรือลูกผสมยุโรป โดยจะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งหญ้าธรรมชาติผูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือขังคอกแล้วตัดหญ้ามาให้กินก็ได้ บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพหลัก บ้างก็เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม มักจะใช้วิธีผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อตามกระแสความนิยมของตลาด ณ ขณะนั้น บางฟาร์มก็ใช้พ่อคุมฝูงเพื่อลดปัญหาการจับสัดที่ไม่แน่นอน ลูกโคที่ผลิตได้จะขายตีเป็นราคาเนื้อตามกลไกตลาด หรือปรับปรุงพันธุ์ยกระดับสายเลือดให้สูงขึ้นแล้วขายในราคาโคพันธุ์ ลูกค้าส่วนใหญ่คือ ผู้ที่นำไปต่อยอดขยายพันธุ์และผู้เลี้ยงโคขุน
thailivestock.jpg
2. ผู้เลี้ยงโคขุน
- สามารถทำเป็นอาชีพหลักและใช้พื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัดได้ ต้นทุน – กำไรจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกโค + ราคาโคเข้าขุนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่แปรผันตามฤดูกาล เพราะต้องใช้อาหารข้นคุณภาพดีเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและทำน้ำหนักตัวให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ระยะเวลาในการเลี้ยงขึ้นอยู่กับคุณภาพของตลาดที่จะจำหน่าย มีค่าใช้จ่าย - รายได้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา (เงินร้อน) โดยจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ
2.1 ผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพ
- ผู้เลี้ยงจะต้องคัดเลือกโคเข้าขุนโดยให้มีสายเลือดของโคยุโรปไม่ต่ำกว่า 50% ฟันแท้ยังไม่ขึ้นหรือขึ้นไม่เกิน 1 คู่ ใช้ระยะเวลาในการขุนประมาณ 8 - 12 เดือน น้ำหนักสุดท้ายไม่ต่ำกว่า 500-550 กิโลกรัม การขุนวัวที่มีอายุน้อยจะได้เนื้อที่มีความนุ่มมากกว่าการขุนวัวที่มีอายุมาก และระยะเวลาการขุนที่นานก็จะช่วยเพิ่มไขมันแทรกในกล้ามเนื้อให้มีมากขึ้น เพราะว่าไขมันแทรกยิ่งมากราคาก็จะดีตามไปด้วย แต่ในกลุ่มผู้บริโภคเนื้อเพื่อสุขภาพจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องไขมันแทรกมากนัก เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงโคเลสเตอรอลในไขมันซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ โคกลุ่มนี้จะถูกเลี้ยงด้วยอาหารข้นคุณภาพดี ปลอดสารเคมี ชำแหละแปรรูปตามมาตรฐานสากล มีตลาดรองรับและรับประกันราคาที่แน่นอน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ก่อนจะทำการขุนผู้เลี้ยงจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อดังกล่าว เพื่อขอคิวลงทะเบียนขุนซึ่งหน่วยงานที่รองรับ ได้แก่ สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จ.สกลนคร (Thai - French), สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม (KU Beef), สหกรณ์การเกษตรหนองสูง จ.มุกดาหาร เป็นต้น เนื้อที่ได้จะจำหน่ายเฉพาะตลาดบนเท่านั้น คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ฯลฯ
2.2 ผู้เลี้ยงโคขุนทั่วไป
- โคที่เข้าขุนจะไม่จำกัดอายุและสายพันธุ์ มีทั้งลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมฮินดูบราซิล ลูกผสมยุโรป และพื้นเมืองบ้างเล็กน้อย มีอายุตั้งแต่หย่านมขึ้นไปจนถึงโคอายุมากหรือโคงานที่ปลดระวาง (โคมัน) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามตลาดนัดโค - กระบือทั่วไป ใช้ระยะเวลาในการขุน 3 - 4 เดือน น้ำหนักสุดท้ายจะอยู่ที่ 350 – 450 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพและชนิดของโคที่นำมาขุน เลี้ยงด้วยอาหารข้นและอาหารหยาบที่หาได้ในพื้นที่ ถ้าโคที่นำมาขุนมีเนื้อเต็มโครงร่างเมื่อไหร่ก็ส่งเข้าโรงเชือดทันทีโดยไม่จำกัดขนาด ส่วนใหญ่จะถูกชำและในรูปของเนื้อเซาะ(เลาะเอาแต่เนื้อแดง) หรือเนื้อผ่าซีกให้ครบตามปริมาณคำสั่งซื้อในแต่ละวัน เนื้อที่ได้จะจำหน่ายตลาดกลางและตลาดล่าง คือ ตลาดเทศบาล ตลาดสด และตลาดนัดทั่วไป
3. ผู้เลี้ยงโคพ่อ - แม่พันธุ์และโคขุน
- ผู้เลี้ยงกลุ่มนี้จะใช้ระบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยใช้กำไรส่วนหนึ่งจากการเลี้ยงโคขุนมาจุนเจือโคพันธุ์ในระหว่างที่รอโคพันธุ์คืนทุน โคขุนส่วนหนึ่งก็จะคัดมาจากโคพันธุ์หรือโคเพศผู้หย่านมที่มีลักษณะไม่ตรงกับความต้องการ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการซื้อโคเข้าขุนได้อีกทางหนึ่ง อาจเรียกได้ว่าเป็นฟาร์มแบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นฟาร์มขนาดเล็ก – กลาง - ใหญ่ก็ได้ ยกตัวอย่างฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ลุงเชาวน์ฟาร์ม จ.สุพรรณบุรี, ห้างฉัตรแรนช์ จ.ลำปาง, ฟาร์มชวนชื่น จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
ระบบอุตสาหกรรมโคเนื้อในปัจจุบัน
วงจรการผลิตโคเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเนื้อในปัจจุบันนั้นมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน อาจจะด้วยเรื่องของพื้นที่ เงินทุน เวลา หรือความถนัดของแต่ละบุคคลก็สุดแท้แต่เหตุผล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ต้นน้ำ - จะเลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคจำหน่าย โดยจะจำหน่ายลูกโคที่มีอายุตั้งแต่หย่านม - 1 ปี ขึ้นไป และแม่พันธุ์บางส่วน ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ผู้นำไปขยายพันธุ์, ผู้เลี้ยงโคขุน และพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย )
2. กลางน้ำ - จะซื้อโคจากกลุ่มต้นน้ำหรือจากพ่อค้าคนกลาง ( นายฮ้อย ) นำมาขุนต่อให้ได้น้ำหนักตามระยะเวลาที่กำหนด ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ โรงเชือดต่างๆ
3. ปลายน้ำ - จะนำโคที่ขุนเสร็จแล้วจากกลุ่มกลางน้ำและโคปลดระวางหรือคัดทิ้งจากกลุ่มต้นน้ำ มาเชือดและชำแหละให้ครบจำนวนตามคำสั่งซื้อในแต่ละวัน โดยจะเชือดวันต่อวันเพื่อความสดใหม่ของเนื้อ ลูกค้าในกลุ่มนี้คือ ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร โรงแรม ร้านอาหาร ตลาดสด ตลาดนัดทั่วไป
ตอนนี้เราพอจะทราบถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อในบ้านเรากันบ้างแล้ว หลายท่านอาจจะเริ่มเห็นภาพรวมสามารถตอบโจทย์ตนเองได้บ้างแล้วว่า ขณะนี้เราอยู่ตรงจุดไหนของธุรกิจการเลี้ยงโค เพื่อที่จะได้ก้าวย่างอย่างมั่นคงบนถนนสายนี้ ไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่ถ้าเริ่มต้นได้ดีก็มีกำไรไปกว่าครึ่งแล้วครับ
ฉบับหน้ามีอะไรใหม่ มาร่วมติดตามกันนะครับ ฉบับนี้หมดพื้นที่แล้วขอลาไปก่อน พบกันใหม่ฉบับหน้า โชคดีมีความสุขกับการเลี้ยงวัวทุกท่าน สวัสดีครับ
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคนมเบื้องต้น
การเริ่มเลี้ยงโคนมในประเทศไทยนั้น เริ่ม มากว่า 90กว่าปีได้แล้ว โดยแขกชาวอินเดียเป็นผู้เลี้ยงและนำเข้าวัวพันธุ์พื้นบ้านอินเดียเข้ามาเลี้ยง แต่การให้น้ำนมในสมัยนั้นน้อยมากประมาณ2-3 ลิตร ต่อวัน และต่อมามีการนำโค จากยุโรป วัวเป็นวัวนมพันธุ์ดีเข้ามา เลี้ยง และนิยมแพร่หลายต่อมาและกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำวัว พันธุ์เรดซินดิ จากอินเดียและบังคลาเทศ เข้ามาและต่อมาได้นำโค พันธุ์เจอร์ซี่จากออสเตรเลีย และโคพันธุ์บราวสวิส จากอเมริกาเข้ามา
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมของเกษตรกร
....สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด
และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการซึ่งทุนดังกล่าวอาจแบ่งแยกออกได้เป็น 5 รายการคือ
1. ทุนสำหรับซื้อโค
2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3. ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4. ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
5. ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึง ทุนหมุนเวียน เช่นค่าอาหาร หรือ ค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งอาจพอแนะนำพอเป็นสังเขปได้ เช่น
1. เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมา เลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 30 - 36 เดือนก็จะให้ลูกตัวแรกแม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
2. เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยง โดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณ จำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นและหญ้าแก่ลูกโคจนกระทั่งหย่านม - อายุผสมพันธุ์ - ท้อง - คลอดลูกและเริ่มรีดนม ได้
3. เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม,โครุ่น,โคสาวหรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมมาแล้ว จากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว
หลักในการเลือกซื้อโคนม
1. ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึง สายพันธุ์และความเป็นมาอย่างน้อยพอสังเขป
2. ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึง ตัวที่ 4
3. ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4. ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วยเพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น
5. ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปลอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงวัวนม
หากท่านใดที่อยากจะเริ่มเลี้ยงโคนมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ท่านต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับโคนมหลายๆด้านรวมถึงความพร้อมที่จะทำการเลี้ยง การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพนั้นต้องคำนึงถึง
-การเข้าใจและรู้ถึงวงจรธุรกิจโคนม
-การบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินทั้งต้นทุนและการตลาด
-ความรู้และเข้าใจเรื่องวัวนมอย่างดีและความเอาใจใส่ในโค
สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนดำเนินการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นอาชีพ
1.ที่ดิน ที่ดินจำเป็นมากในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม เพราะที่ดินที่ตั้งหรือประกอบการนั้นต้องอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบ และที่ดินเพื่อการปลูกแปลงพืชปลูกแปลงหญ้า อาหารโคนม
2. แรงงาน ที่จะปฏิบัติการในฟาร์มโคนมต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเป็นอย่างดี
3.เงินทุน เงินทุนนั้นสำคัญทีเดียวเลยครับ เป็นเงินทุนในการจัดหาพันธุ์สัตว์และ อุปกรณ์ในการใช้ในฟาร์ม รวมถึงค่าปลูกสร้างโรงเรือนด้วย และเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในการใช้จ่ายประจำฟาร์มด้วย
สิ่งเหล่านี้สำคัญ มากต่อการทำอาชีพเลี้ยงโคนม โดยภาพรวมๆของการเลี้ยงโคนมนั้น ผู้เลี้ยงต้องตื่นเช้าให้อาหาร โค และอาบน้ำทำความสะอาดโค รีดนม(ส่งนม) ปล่อยโคลงแทะเล็ม หรือให้อาหารหยาบ และพอ ช่วงบ่ายๆเริ่มต้อนโคกลับมาให้อาหารรีดนมและ อาบน้ำทำความสะอาดโค นำโคเข้าคอก
อ้างอิง http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=590&s=tblanimal
การเลี้ยงโคนมเบื้องต้น
การเริ่มเลี้ยงโคนมในประเทศไทยนั้น เริ่ม มากว่า 90กว่าปีได้แล้ว โดยแขกชาวอินเดียเป็นผู้เลี้ยงและนำเข้าวัวพันธุ์พื้นบ้านอินเดียเข้ามาเลี้ยง แต่การให้น้ำนมในสมัยนั้นน้อยมากประมาณ2-3 ลิตร ต่อวัน และต่อมามีการนำโค จากยุโรป วัวเป็นวัวนมพันธุ์ดีเข้ามา เลี้ยง และนิยมแพร่หลายต่อมาและกรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำวัว พันธุ์เรดซินดิ จากอินเดียและบังคลาเทศ เข้ามาและต่อมาได้นำโค พันธุ์เจอร์ซี่จากออสเตรเลีย และโคพันธุ์บราวสวิส จากอเมริกาเข้ามา
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมของเกษตรกร
....สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด
และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการซึ่งทุนดังกล่าวอาจแบ่งแยกออกได้เป็น 5 รายการคือ
1. ทุนสำหรับซื้อโค
2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3. ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
4. ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
5. ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึง ทุนหมุนเวียน เช่นค่าอาหาร หรือ ค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งอาจพอแนะนำพอเป็นสังเขปได้ เช่น
1. เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมา เลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 30 - 36 เดือนก็จะให้ลูกตัวแรกแม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
2. เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยง โดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณ จำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นและหญ้าแก่ลูกโคจนกระทั่งหย่านม - อายุผสมพันธุ์ - ท้อง - คลอดลูกและเริ่มรีดนม ได้
3. เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม,โครุ่น,โคสาวหรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมมาแล้ว จากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว
หลักในการเลือกซื้อโคนม
1. ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึง สายพันธุ์และความเป็นมาอย่างน้อยพอสังเขป
2. ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึง ตัวที่ 4
3. ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
4. ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วยเพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น
5. ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปลอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงวัวนม
หากท่านใดที่อยากจะเริ่มเลี้ยงโคนมนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ท่านต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับโคนมหลายๆด้านรวมถึงความพร้อมที่จะทำการเลี้ยง การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพนั้นต้องคำนึงถึง
-การเข้าใจและรู้ถึงวงจรธุรกิจโคนม
-การบันทึกข้อมูล เพื่อใช้ในการประเมินทั้งต้นทุนและการตลาด
-ความรู้และเข้าใจเรื่องวัวนมอย่างดีและความเอาใจใส่ในโค
สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนดำเนินการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นอาชีพ
1.ที่ดิน ที่ดินจำเป็นมากในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม เพราะที่ดินที่ตั้งหรือประกอบการนั้นต้องอยู่ใกล้กับแหล่งรับซื้อน้ำนมดิบ และที่ดินเพื่อการปลูกแปลงพืชปลูกแปลงหญ้า อาหารโคนม
2. แรงงาน ที่จะปฏิบัติการในฟาร์มโคนมต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเป็นอย่างดี
3.เงินทุน เงินทุนนั้นสำคัญทีเดียวเลยครับ เป็นเงินทุนในการจัดหาพันธุ์สัตว์และ อุปกรณ์ในการใช้ในฟาร์ม รวมถึงค่าปลูกสร้างโรงเรือนด้วย และเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในการใช้จ่ายประจำฟาร์มด้วย
สิ่งเหล่านี้สำคัญ มากต่อการทำอาชีพเลี้ยงโคนม โดยภาพรวมๆของการเลี้ยงโคนมนั้น ผู้เลี้ยงต้องตื่นเช้าให้อาหาร โค และอาบน้ำทำความสะอาดโค รีดนม(ส่งนม) ปล่อยโคลงแทะเล็ม หรือให้อาหารหยาบ และพอ ช่วงบ่ายๆเริ่มต้อนโคกลับมาให้อาหารรีดนมและ อาบน้ำทำความสะอาดโค นำโคเข้าคอก
อ้างอิง http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=590&s=tblanimal
มาทำน้ำยอดข้าวสาลีดื่มกันเถอะ
มาทำน้ำยอดข้าวสาลีดื่มกันเถอะ
Wheatgrass คือต้นอ่อนข้าวสาลี เป็นพืชที่มีแหล่งรวมสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย มากกว่า 100 ชนิด โดยเฉพาะมีโปรตีนสูง วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินเค มีกรดอะมิโนอย่างน้อย 20 ชนิด เอนไซม์ที่มีประโยชน์กว่า 20 ชนิด สารที่สำคัญที่สุดคือ "คลอโรฟิลล์"
"คลอโรฟิลล์" มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายคลึงกับโมเลกุลของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ต่างกันที่ตัวกลางของคลอโรฟิลล์คือแมกนีเซียม แต่ในฮีโมโกลบินคือเหล็ก ดังนั้นเมื่อเราดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีเข้าไป คลอโรฟิลล์จากต้นอ่อนที่ยังมีชีวิต จะช่วยชำระล้างสารพิษ ฟอกเลือด และขับของเสียออกจากร่างกาย จึงทำยับยั้งการเกิดโรคร้ายต่างๆได้
เราจึงควรดื่มน้ำคั้นจากต้นข้าวสาลี ที่คั้นสดใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง วันละ 1-2 ชอต (30-60 cc ต่อวัน)
ประโยชน์
สร้างเม็ดเลือด
ต้านอนุมูลอิสระ
ต้านมะเร็ง
รักษาแผลและดับกลิ่น (ได้ผลแม้ในแผลขอผู้ป่วยเบาหวาน)
รักษาอาการท้องผูก
ล้างพิษ
ลดความดันโลหิต
ช่วยในการฟอกตับ
ทำให้ผมไม่ขาว
ชะลอความแก่
เพิ่มภูมิต้านทานต่อโรคภูมิแพ้ต่างๆ
ช่วยลดการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
Wheatgrass คือต้นอ่อนข้าวสาลี เป็นพืชที่มีแหล่งรวมสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย มากกว่า 100 ชนิด โดยเฉพาะมีโปรตีนสูง วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินเค มีกรดอะมิโนอย่างน้อย 20 ชนิด เอนไซม์ที่มีประโยชน์กว่า 20 ชนิด สารที่สำคัญที่สุดคือ "คลอโรฟิลล์"
"คลอโรฟิลล์" มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายคลึงกับโมเลกุลของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ต่างกันที่ตัวกลางของคลอโรฟิลล์คือแมกนีเซียม แต่ในฮีโมโกลบินคือเหล็ก ดังนั้นเมื่อเราดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีเข้าไป คลอโรฟิลล์จากต้นอ่อนที่ยังมีชีวิต จะช่วยชำระล้างสารพิษ ฟอกเลือด และขับของเสียออกจากร่างกาย จึงทำยับยั้งการเกิดโรคร้ายต่างๆได้
เราจึงควรดื่มน้ำคั้นจากต้นข้าวสาลี ที่คั้นสดใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง วันละ 1-2 ชอต (30-60 cc ต่อวัน)
ประโยชน์
สร้างเม็ดเลือด
ต้านอนุมูลอิสระ
ต้านมะเร็ง
รักษาแผลและดับกลิ่น (ได้ผลแม้ในแผลขอผู้ป่วยเบาหวาน)
รักษาอาการท้องผูก
ล้างพิษ
ลดความดันโลหิต
ช่วยในการฟอกตับ
ทำให้ผมไม่ขาว
ชะลอความแก่
เพิ่มภูมิต้านทานต่อโรคภูมิแพ้ต่างๆ
ช่วยลดการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ไข่ตุ๋น
ไข่ตุ๋น ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูไข่ที่หลาย ๆ คนชอบทำกันมาก เหตุผลหลัก ๆ คือ ทำง่ายนั่นเอง แต่ไข่ตุ๋นบนโลกใบนี้ก็มีหลากหลายสูตรให้เลือกหม่ำเสียเหลือเกิน วันนี้ กระปุกดอทคอม ก็เลยขอรวบรวมเมนูไข่ตุ๋นหลากหลายสไตล์ ที่มาพร้อมสูตรและวิธีทำไข่ตุ๋นเด็ด ๆ มาเสิร์ฟตรงหน้าคุณ ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ตามมาดูวิธีทำไข่ตุ๋นให้อร่อยตามสไตล์ที่เป็นคุณกันทางนี้เลยจ้า
หมายเหตุ : ไข่ตุ๋น 1 ฟอง ให้พลังงานโดยประมาณ 75 กิโลแคลอรี่
1. ไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ
เรามาเริ่มต้นทำไข่ตุ๋นแบบง่ายด้วยไมโครเวฟกันดีกว่า ซึ่งสูตรนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาดูกันเลยว่า เมนูไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ จาก PHOLFOODMAFIA สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม โดยฝีมือเชฟพล ตัณฑเสถียรว่าจะน่ากิน และง่ายขนาดไหน และมีเคล็ดลับอย่างไรในการทำไข่ตุ๋นถ้วยนี้
สิ่งที่ต้องเตรียม
วุ้นเส้น 20 กรัม
รากผักชีซอย 1 ราก
กระเทียมไทยซอย 2 กลีบเล็ก
พริกไทยขาวเม็ด 1/2 ช้อนชา
เนื้อหมูบด 50 กรัม
ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนชา
ไข่ไก่ 3 ฟอง
น้ำร้อน 1/2 ถ้วย
ต้นหอม และกระเทียมเจียวสำหรับแต่งหน้า
วิธีทำ
แช่วุ้นเส้นทิ้งไว้จนนิ่มประมาณ 3 นาที จากนั้นใส่วุ้นเส้นที่นิ่มแล้วลงในถ้วยสำหรับเข้าไมโครเวฟ เตรียมไว้
ซอยรากผักชี และกระเทียมไทย ใส่ลงในครก ตามด้วยพริกไทยขาวเม็ด โขลกให้ละเอียด ใส่เนื้อหมูบด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว คนผสมให้เข้ากัน
ตักส่วนผสมใส่ลงในอ่างผสม ตอกไข่ไก่ใส่ลงไป ตีผสมให้เนื้อหมูกระจายทั่วดี ส่น้ำร้อนลงในส่วนผสมไข่ ตีผสมจนเข้ากัน เทใส่ถ้วย ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร ใช้มีดจิ้มให้เป็นรูเล็ก ๆ นำเข้าไมโครเวฟ ใช้กำลังไฟ 750 วัตต์ นานประมาณ 5 นาที นำออกจากเตา แต่งด้วยกระเทียมเจียว และต้นหอมซอย พร้อมเสริ์ฟ
หมายเหตุ : ไข่ตุ๋น 1 ฟอง ให้พลังงานโดยประมาณ 75 กิโลแคลอรี่
1. ไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ
เรามาเริ่มต้นทำไข่ตุ๋นแบบง่ายด้วยไมโครเวฟกันดีกว่า ซึ่งสูตรนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาดูกันเลยว่า เมนูไข่ตุ๋นไมโครเวฟวุ้นเส้นหมูสับ จาก PHOLFOODMAFIA สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม โดยฝีมือเชฟพล ตัณฑเสถียรว่าจะน่ากิน และง่ายขนาดไหน และมีเคล็ดลับอย่างไรในการทำไข่ตุ๋นถ้วยนี้
สิ่งที่ต้องเตรียม
วุ้นเส้น 20 กรัม
รากผักชีซอย 1 ราก
กระเทียมไทยซอย 2 กลีบเล็ก
พริกไทยขาวเม็ด 1/2 ช้อนชา
เนื้อหมูบด 50 กรัม
ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนชา
ไข่ไก่ 3 ฟอง
น้ำร้อน 1/2 ถ้วย
ต้นหอม และกระเทียมเจียวสำหรับแต่งหน้า
วิธีทำ
แช่วุ้นเส้นทิ้งไว้จนนิ่มประมาณ 3 นาที จากนั้นใส่วุ้นเส้นที่นิ่มแล้วลงในถ้วยสำหรับเข้าไมโครเวฟ เตรียมไว้
ซอยรากผักชี และกระเทียมไทย ใส่ลงในครก ตามด้วยพริกไทยขาวเม็ด โขลกให้ละเอียด ใส่เนื้อหมูบด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว คนผสมให้เข้ากัน
ตักส่วนผสมใส่ลงในอ่างผสม ตอกไข่ไก่ใส่ลงไป ตีผสมให้เนื้อหมูกระจายทั่วดี ส่น้ำร้อนลงในส่วนผสมไข่ ตีผสมจนเข้ากัน เทใส่ถ้วย ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร ใช้มีดจิ้มให้เป็นรูเล็ก ๆ นำเข้าไมโครเวฟ ใช้กำลังไฟ 750 วัตต์ นานประมาณ 5 นาที นำออกจากเตา แต่งด้วยกระเทียมเจียว และต้นหอมซอย พร้อมเสริ์ฟ
การทำไข่เค็มสมุนไพร
การทำไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารสูตรโบราณของชุมชนตำบลหนามแดง โดยนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม สืบเนื่องมาจากในอดีตชุมชนตำบล หนามแดง จะมีอาชีพทำนา และแทบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่หล่นตามท้องนา จึงทำให้ มีไข่เป็ดจำนวนมากแทบทุกครัวเรือน เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวัน แล้ว จึงต้องทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทาน ประกอบกับทุกครัวเรือนจะปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นพืชสวนครัวไว้รับประทาน จึงนำมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม ทำให้ไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง มีลักษณะพิเศษกว่าไข่เค็ม ที่อื่น คือ เปลือกไข่เป็นสีเหลือง เนื้อไข่เค็มจะนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ไข่ขาวไม่เค็มจัด และมีความหอมของสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เนื่องจากสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องอืด บรรเทาอาการไข้หวัด และป้องการโรคคอหอยพอก
ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร
๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง
๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม
๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร
๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม
๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)
วิธีทำ
๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง
๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร
อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก
สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น
๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ
๓ สัปดาห์
๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้การทำไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารสูตรโบราณของชุมชนตำบลหนามแดง โดยนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม สืบเนื่องมาจากในอดีตชุมชนตำบล
หนามแดง จะมีอาชีพทำนา และแทบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่หล่นตามท้องนา จึงทำให้มีไข่เป็ดจำนวนมากแทบทุกครัวเรือน เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวัน แล้ว จึงต้องทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทาน ประกอบกับทุกครัวเรือนจะปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นพืชสวนครัวไว้รับประทานจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม ทำให้ไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง มีลักษณะพิเศษกว่าไข่เค็ม ที่อื่น คือ เปลือกไข่เป็นสีเหลือง เนื้อไข่เค็มจะนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ไข่ขาวไม่เค็มจัด และมีความหอมของสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เนื่องจากสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องอืด บรรเทาอาการไข้หวัดและป้องการโรคคอหอยพอก
ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร
๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง
๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม
๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร
๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม
๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)
วิธีทำ
๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง
๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร
อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก
สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น
๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ
๓ สัปดาห์
๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้
ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร
๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง
๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม
๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร
๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม
๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)
วิธีทำ
๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง
๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร
อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก
สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น
๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ
๓ สัปดาห์
๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้การทำไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารสูตรโบราณของชุมชนตำบลหนามแดง โดยนำสมุนไพรไทยมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม สืบเนื่องมาจากในอดีตชุมชนตำบล
หนามแดง จะมีอาชีพทำนา และแทบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่หล่นตามท้องนา จึงทำให้มีไข่เป็ดจำนวนมากแทบทุกครัวเรือน เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวัน แล้ว จึงต้องทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทาน ประกอบกับทุกครัวเรือนจะปลูก ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นพืชสวนครัวไว้รับประทานจึงนำมาประยุกต์ใช้กับการทำไข่เค็ม ทำให้ไข่เค็มสมุนไพร ของชุมชนตำบลหนามแดง มีลักษณะพิเศษกว่าไข่เค็ม ที่อื่น คือ เปลือกไข่เป็นสีเหลือง เนื้อไข่เค็มจะนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ไข่ขาวไม่เค็มจัด และมีความหอมของสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เนื่องจากสมุนไพรช่วยแก้อาการท้องอืด บรรเทาอาการไข้หวัดและป้องการโรคคอหอยพอก
ส่วนผสมไข่เค็มสมุนไพร
๑. ไข่เป็ด จำนวน ๑๐ ฟอง
๒. เกลือ จำนวน ๓๐ กรัม
๓. น้ำ จำนวน ๑ ลิตร
๔. สมุนไพร ขิง ข่า ตะไคร้ อย่างละจำนวน ๒๐๐ กรัม
๕. สารส้ม (สำหรับใส่ในน้ำต้มไข่หลังจากดองได้ที่แล้วเพื่อให้ผิวของฟองไข่เกิดนวล)
วิธีทำ
๑. เลือกไข่เป็ดที่มีคุณภาพดี และต้องไม่มีรอยบุบรอยร้าว ล้างไข่เป็ดให้สะอาด และพักไว้ให้แห้ง
๒. ต้มเกลือกับน้ำให้เดือด แล้วใส่สมุนไพร ขิง ข่า และตะไคร้ หั่นละเอียดพอสมควร
อย่างละ ๒๐๐ กรัม ต้มให้เดือด ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ยกลงและกรองเอากาก
สมุนไพรออกและทิ้งน้ำไว้ให้เย็น
๓. เรียงไข่เป็ดที่ล้างไว้แล้ว ลงขวดโหลที่จะดอง เทน้ำเกลือสมุนไพร ที่ต้มไว้ลงไปจนท่วมไข่ ใช้ไม้ขัด กดไข่ให้จมในน้ำเกลือสมุนไพรตลอดเวลา ปิดฝาขวดเก็บไว้ประมาณ
๓ สัปดาห์
๔. นำไข่ที่ดองมาต้ม ประมาณ ๓๐ นาที โดยใส่สารส้มลงในน้ำเพื่อให้ฟองไข่เกิดนวล ตักขึ้นมาพักให้เย็น นำมารับประทานได้
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันวาเลนไทน์
14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก วันที่ทุกคนจะมอบความรักให้กันและกันเป็นพิเศษ ในปีนี้ 2558 วันวาเลนไทน์ ตรงกับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยปีนี้ตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย ก็คือ “วันมาฆบูชา” วันนี้สกู๊ปเอ็มไทยจึงนำประวัติ ความเป็นมาของวันวาเลนไทน์ ที่จะถึงนี้มาฝากกันครับ
วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด
โดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อว่า “จูเลีย” ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกประหารชีวิตนั้น เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย อันเป็นที่รัก โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 (วันวาเลนไทน์) หรือ พ.ศ.813 ราว 1,738 ปี หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่ โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม ซึ่ง จูเลีย ได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของเซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพู ได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจใน วันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
Valentine
ดอกกุหลาบ วาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์ ต้องคู่กับ ดอกกุหลาบ ขาดจากกันไม่ได้ การบอกรักด้วยดอกกุหลาบนั้น สามารถบอกถึงนิสัยและความหมายของสีดอกกุหลาบได้อีกด้วย
กุหลาบสีแดง (Red Rose): แทนความหมายว่า “ฉันรักเธอ”
กุหลาบสีขาว (White Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักอันบริสุทธิ์”
กุหลาบสีชมพู (Pink Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบโรแมนติก”
กุหลาบสีเหลือง (Yellow Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบเพื่อน”
ดอกกุหลาบบอกรัก
1 ดอก คือ รักแรกพบ
2 ดอก คือ แสดงความยินดีด้วย
3 ดอก คือ ฉันรักเธอ
7 ดอก คือ เธอทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9 ดอก คือ เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10 ดอก คือ เธอเป็นคนที่ดีเลิศ
11 ดอก คือ เธอเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12 ดอก คือ ขอให้เธอเป็นคู่ฉันเพียงคนเดียว
13 ดอก คือ เพื่อนแท้เสมอ
15 ดอก คือ ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20 ดอก คือ ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21 ดอก คือ ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36 ดอก คือ ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40 ดอก คือ ความรักของฉันเป็นรักแท้
99 ดอก คือ ฉันรักเธอจนวันตาย
100 ดอก คือ ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101 ดอก คือ ฉันมีเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น
108 ดอก คือ เธอจะแต่งงานกับฉันไหม
999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวินาทีสุดท้าย
1,000 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวันตาย
9,999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอชั่วนิรันดร
วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ซึ่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่ง เป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดา แห่งอิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของเด็กหนุ่มและเด็กสาว ต่อมาใน รัชสมัยจักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม ที่มีกษัตริย์ ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การทำสงครามนองเลือด และทรงห้ามการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด
โดยขณะนั้นมีนักบุญรูปหนึ่งชื่อว่า “เซนต์วาเลนไทน์” หรือ “วาเลนตินัส” ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้ร่วมมือกับ เซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ด้วยความปรารถนาดีของท่านนี้เอง จึงทำให้เขาถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตเซนต์วาเลนไทน์ ได้ตกหลุมรักหญิงสาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อว่า “จูเลีย” ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะถูกประหารชีวิตนั้น เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย อันเป็นที่รัก โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 (วันวาเลนไทน์) หรือ พ.ศ.813 ราว 1,738 ปี หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่ โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม ซึ่ง จูเลีย ได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของเซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพู ได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจใน วันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
Valentine
ดอกกุหลาบ วาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์ ต้องคู่กับ ดอกกุหลาบ ขาดจากกันไม่ได้ การบอกรักด้วยดอกกุหลาบนั้น สามารถบอกถึงนิสัยและความหมายของสีดอกกุหลาบได้อีกด้วย
กุหลาบสีแดง (Red Rose): แทนความหมายว่า “ฉันรักเธอ”
กุหลาบสีขาว (White Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักอันบริสุทธิ์”
กุหลาบสีชมพู (Pink Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบโรแมนติก”
กุหลาบสีเหลือง (Yellow Rose) : แทนความหมายว่า “ความรักแบบเพื่อน”
ดอกกุหลาบบอกรัก
1 ดอก คือ รักแรกพบ
2 ดอก คือ แสดงความยินดีด้วย
3 ดอก คือ ฉันรักเธอ
7 ดอก คือ เธอทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9 ดอก คือ เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10 ดอก คือ เธอเป็นคนที่ดีเลิศ
11 ดอก คือ เธอเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12 ดอก คือ ขอให้เธอเป็นคู่ฉันเพียงคนเดียว
13 ดอก คือ เพื่อนแท้เสมอ
15 ดอก คือ ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20 ดอก คือ ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21 ดอก คือ ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36 ดอก คือ ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40 ดอก คือ ความรักของฉันเป็นรักแท้
99 ดอก คือ ฉันรักเธอจนวันตาย
100 ดอก คือ ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101 ดอก คือ ฉันมีเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น
108 ดอก คือ เธอจะแต่งงานกับฉันไหม
999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวินาทีสุดท้าย
1,000 ดอก คือ ฉันจะรักเธอจนวันตาย
9,999 ดอก คือ ฉันจะรักเธอชั่วนิรันดร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)